หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการดูแลผลผลิตสุกรให้เป็นไปตามเป้าหมาย

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-OWYA-597A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการดูแลผลผลิตสุกรให้เป็นไปตามเป้าหมาย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงสุกร    



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการผลิตพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์สุกรการให้อาหารตรงตามความต้องการทางโภชนะอาหารของสุกร การวางแผนการผลิตสุกรหย่านม – ขุนการวางแผนระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร วางแผนการควบคุมโรคติดต่อในจากสุกรรับเข้าใหม่และปล่อยสุกรออกจากฟาร์ม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 - พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558  - ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ พ.ศ. 2558 (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร)  - ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560 - พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561- พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A5010101

กำกับดูแลการผลิตพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร

ประเมินผลการคัดเลือกพ่อสุกรหนุ่มเพื่อฝึกใช้งาน

A5010101.01 175202
A5010101

กำกับดูแลการผลิตพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร

ประเมินผลการคัดเลือกแม่พันธุ์สุกรสาวขึ้นทดแทนหน่วยแม่พันธุ์ 

A5010101.02 175203
A5010101

กำกับดูแลการผลิตพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร

ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในแต่ละหน่วย

A5010101.03 175204
A5010101

กำกับดูแลการผลิตพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร

ควบคุมการปฏิบัติงานหน่วยผสมเทียมสุกรและการจัดการน้ำเชื้อสุกร

A5010101.04 175205
A5010101

กำกับดูแลการผลิตพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร

ควบคุมการปฏิบัติงานการผสมพันธุ์แม่สุกรให้ได้ตามเป้าหมาย

A5010101.05 175206
A5010101

กำกับดูแลการผลิตพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร

ควบคุมการปฏิบัติงานเพื่อลดการสูญเสียลูกสุกรในเล้าคลอด

A5010101.06 175207
A5010102 จัดการการให้อาหารให้ตรงตามความต้องการทางโภชนะอาหารของสุกร

คำนวณการใช้และนำเข้าอาหารในการผลิตสุกรในแต่ละช่วงเวลา

A5010102.01 175236
A5010102 จัดการการให้อาหารให้ตรงตามความต้องการทางโภชนะอาหารของสุกร

ประเมินผลการปฏิบัติงานการให้อาหารสุกรตามโปรแกรมที่กำหนด

A5010102.02 175237
A5010102 จัดการการให้อาหารให้ตรงตามความต้องการทางโภชนะอาหารของสุกร

ตรวจสอบการสูญเสียอาหารเพื่อควบคุมการให้อาหารอย่างมีประสิทธิภาพ

A5010102.03 175238
A5010102 จัดการการให้อาหารให้ตรงตามความต้องการทางโภชนะอาหารของสุกร

แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับปริมาณอาหารไม่เพียงพอและคุณภาพของอาหาร 

A5010102.04 175239
A5010103

กำกับดูแลการผลิตสุกรหย่านม - ขุน

ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยเลี้ยงสุกรหย่านม - ขุน

A5010103.01 175244
A5010103

กำกับดูแลการผลิตสุกรหย่านม - ขุน

ควบคุมการปฏิบัติงานการคัดเลือกสุกรขุนเพื่อจำหน่ายตามน้ำหนักที่เหมาะสม 

A5010103.02 175245
A5010103

กำกับดูแลการผลิตสุกรหย่านม - ขุน

ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในจุดจำหน่ายสุกรขุนให้เป็นไปตามระเบียบการควบคุมโรคติดต่อของทางฟาร์ม 

A5010103.03 175246
A5010104

กำกับดูแลระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

ตรวจสอบความสะอาดเรียบร้อยภายในและบริเวณรอบ ๆ โรงเรือนเลี้ยงสุกร

A5010104.01 175270
A5010104

กำกับดูแลระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

ตรวจสอบการพักเล้าให้เป็นไปตามมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ

A5010104.02 175271
A5010104

กำกับดูแลระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

ตรวจสอบการปฏิบัติงานการทำวัคซีนสำหรับสุกร

A5010104.03 175272
A5010104

กำกับดูแลระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

ติดตามสุขภาพสุกรและตรวจสอบผลการรักษาสุกรที่ป่วย

A5010104.04 175273
A5010104

กำกับดูแลระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

ตรวจสอบรายงานสต็อกอาหารและยาของสุกร

A5010104.05 175274
A5010104

กำกับดูแลระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

ตรวจสอบการเข้า-ออกของบุคคลภายในฟาร์มสุกร

A5010104.06 175275
A5010104

กำกับดูแลระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

วิเคราะห์และแก้ปัญหาการจัดการของเสียจากฟาร์มสุกร

A5010104.07 175276
A5010105

ควบคุมโรคติดต่อในการรับสุกรเข้าใหม่และปล่อยสุกรออกจากฟาร์ม

ตรวจสอบสถานะสุกรรับเข้าใหม่ที่ปลอดโรคติดต่อจากฟาร์มสุกรต้นทาง

A5010105.01 175299
A5010105

ควบคุมโรคติดต่อในการรับสุกรเข้าใหม่และปล่อยสุกรออกจากฟาร์ม

ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรงเรือนสำหรับรับสุกรเข้าใหม่ 

A5010105.02 175300
A5010105

ควบคุมโรคติดต่อในการรับสุกรเข้าใหม่และปล่อยสุกรออกจากฟาร์ม

ตรวจสอบสถานะสุกรปลอดโรคก่อนเคลื่อนย้ายสุกรออกจากฟาร์มตามระเบียบข้อบังคับการควบคุมโรคติดต่อ

A5010105.03 175301

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- พื้นฐานความรู้ทางด้านสัตวบาล ชีววิทยา กายวิภาค พันธุกรรม การจัดการเลี้ยงสุกร ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานฟาร์มสุกรตามข้อกำหนด ความรู้ด้านกฎระเบียบข้อบังคับโดยกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินกิจการฟาร์มสุกร

- ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการคน การตัดสินใจ วิเคราะห์แก้ไขปัญหา วางแผนงานกลยุทธ์ รู้กลไกการตลาด บริหารต้นทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

- ระบบการดำเนินงานตามความปลอดภัยทางชีวภาพ

- ความรู้การบัญชีเบื้องต้น

- การสรรหา คัดสรรและพัฒนาบุคลากรตามโครงงานที่วางแผนไว้

- ทักษะการเจรจาต่อรอง

- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการจัดการการผลิตสุกรในหน่วยการผลิตสุกรพ่อและแม่พันธุ์

- ทักษะการผสมพันธุ์สุกร 

- ทักษะการจัดการพ่อสุกรในหน่วยผสมเทียม 

- ทักษะการจัดการลูกสุกรในเล้าคลอด-อนุบาล 

- ทักษะการจัดการสุกรขุน 

- ทักษะการให้อาหารสุกรในแต่ละระยะ

- ทักษะการแก้ไขปัญหาในหน่วยผลิตสุกร

- ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการพนักงานในหน่วยผลิตสุกร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้ในการอ่านและวิเคราะห์ผลรายงานของเล้าผสมพันธุ์ เล้าคลอด ทั้งในรูปแบบรายงานจากการบันทึกและรายงานจากโปรแกรมจัดการสุกรพันธุ์สำเร็จรูป 

- ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการผสมสุกร เข้าคลอดสุกร เปอร์เซนต์แม่สุกรที่กลับมาเป็นสัดและผสมได้ภายในเจ็ดวันและจำนวนลูกแรกเกิดมีชีวิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย

- ความรู้ทางด้านระบบสืบพันธุ์สุกร รวมถึงกายวิภาพและสรีระวิทยาของสุกร

- ความรู้ทางด้านโรคติดต่อในสุกรและการจัดการสุขภาพสุกร

- ความรู้ด้านความต้องการโภชนะอาหารของสุกรแต่ละระยะ

- ความรู้ด้านพฤติกรรมสุกร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถกำกับดูแลการผลิตพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์สุกร

- สามารถจัดการการให้อาหารให้ตรงตามความต้องการทางโภชนะอาหารของสุกร

- สามารถกำกับดูแลการผลิตสุกรหย่านม – ขุน

- สามารถกำกับดูแลระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

- สามารถควบคุมโรคติดต่อในฟาร์ม

- แฟ้มสะสมผลงาน

- ผลคะแนนสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เรื่องคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์สุกร

- ความรู้เรื่องความต้องการโภชนะของสุกรในแต่ละระยะ

- ความรู้เรื่องการผลิตสุกร

- ความรู้เรื่องสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

- ความรู้เรื่องการควบคุมโรคในสุกร

- ผลคะแนนข้อเขียนและสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้     

(ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์

แฟ้มสะสมผลงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- การผสมพันธุ์แม่สุกรให้ได้ตามเป้าหมาย หมายถึง เป้าหมายของจำนวนแม่สุกรที่จะผสมพันธุ์ โดยส่วนใหญ่จะกำหนดเป็นรายสัปดาห์

- การคัดเลือกพ่อสุกรหนุ่มเพื่อฝึกใช้งาน หมายถึง การฝึกพ่อสุกรหนุ่ม ให้สามารถขึ้นหุ่น และทำการรีดน้ำเชื้อ

- การคัดแม่พันธุ์สุกรสาวขึ้นทดแทน หมายถึง การนำแม่สุกรสาว ที่ผ่านการทดสอบพันธุ์ คัดเลือก รูปร่างลักษณะที่ดีเข้าสู่ฝูงแม่พันธุ์ เพื่อการผสมพันธุ์ต่อไป

- การจัดการน้ำเชื้อสุกร หมายถึง การตรวจสอบคุณภาพน้ำเชื้อพ่อสุกร เมื่อคุณภาพผ่านแล้วจึงนำมาเจือจาง บรรจุในหลอดตามจำนวนที่ต้องการ แล้วนำไปผสมแม่สุกรในเล้าผสมพันธุ์

- การพักเล้า หมายถึง การย้ายสุกรออกจากโรงเรือนหรือเล้า เพื่อทำความสะอาดด้วยการฉีดล้างเล้าด้วยน้ำ ตามด้วยฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อให้ปริมาณเชื้อโรคลดน้อยลง ทำการซ่อมแซมอุปกรณ์ เช่น ที่ให้น้ำและอาหาร ให้สามารถใช้การได้ และไม่มีการทำกิจกรรมใดๆ ในระหว่างนี้

- หน่วยผสมเทียมสุกร หมายถึง หน่วยที่มีการจัดการพ่อพันธุ์ การรีดน้ำเชื้อ และห้องปฏิบัติการผลิตน้ำเชื้อพ่อพันธุ์สุกร (Artificial insemination)

- การสูญเสียอาหาร หมายถึง การให้อาหารหกหล่น การให้อาหารมากเกินไป การให้อาหารใหม่ทับลงไปในอาหารเก่า (ไม่เก็บอาหารที่เก่าหรืออาหารเสียออกจากกล่องหรือรางอาหารก่อน) วิธีการให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง

- การสูญเสียลูกสุกรในเล้า หมายถึง ลูกสุกรตายระหว่างก่อนหย่านม (Pre-wean death)

- โรคติดต่อ หมายถึง โรคติดต่อในสุกรตามมาตรการการควบคุมโรคติดต่อตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด ได้แก่ โรคปากและเท้าเปื่อย โรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร โรคพีอาร์อาร์เอส เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์

แฟ้มสะสมผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ