หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานตามระบบสุขาภิบาลและความปลอดภัยในฟาร์มสุกร

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-IDJE-570A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานตามระบบสุขาภิบาลและความปลอดภัยในฟาร์มสุกร

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงสุกร    



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการดูแลสุขภาพสัตว์ ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร การดูแลการเตรียมโรงเรือนและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อสุกร การปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยทั้งบุคลากรและสัตว์เลี้ยง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 - พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558  - ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ พ.ศ. 2558 (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร)  - ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560 - พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A4010401

ดูแลสุขภาพสุกรตามที่ได้รับมอบหมาย

ทำวัคซีนตามโปรแกรมของฟาร์มสุกร

A4010401.01 175130
A4010401

ดูแลสุขภาพสุกรตามที่ได้รับมอบหมาย

ตรวจสุขภาพสุกรเบื้องต้น

A4010401.02 175131
A4010401

ดูแลสุขภาพสุกรตามที่ได้รับมอบหมาย

เก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจห้องปฏิบัติการตามที่ได้รับมอบหมาย 

A4010401.03 175132
A4010401

ดูแลสุขภาพสุกรตามที่ได้รับมอบหมาย

ติดตามผลการรักษาสุกรและรายงานต่อหัวหน้างาน

A4010401.04 175133
A4010402

ดำเนินการตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

เลี้ยงสุกรให้เป็นไปตามความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสุกร

A4010402.01 175146
A4010402

ดำเนินการตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

ใช้ยาฆ่าเชื้อในพื้นที่สำนักงานและพื้นที่การเลี้ยงสัตว์ตามคำแนะนำผู้ผลิต

A4010402.02 175147
A4010402

ดำเนินการตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

ควบคุมการเข้า-ออกยานพาหนะเข้าฟาร์มตามข้อกำหนดความปลอดภัยทางชีวภาพ

A4010402.03 175148
A4010402

ดำเนินการตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

ควบคุมการเข้า-ออกของบุคคลและสิ่งของตามข้อกำหนดความปลอดภัยทางชีวภาพ

A4010402.04 175149
A4010402

ดำเนินการตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดเพื่อควบคุมมลภาวะภายในฟาร์มสุกร

A4010402.05 175150
A4010402

ดำเนินการตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพและระบบสุขาภิบาลในฟาร์มสุกร

ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย บ่อพักน้ำและบำบัดน้ำสำหรับการบริโภคของสุกร

A4010402.06 175151
A4010403 รับสุกรจากแหล่งอื่นเข้าเลี้ยงในฟาร์มตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

ตรวจสอบเบอร์หูและพันธุ์ประวัติสุกรกับฟาร์มต้นทาง

A4010403.01 175162
A4010403 รับสุกรจากแหล่งอื่นเข้าเลี้ยงในฟาร์มตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

เตรียมโรงเรือนรับสุกรที่มาจากแหล่งอื่น

A4010403.02 175163
A4010403 รับสุกรจากแหล่งอื่นเข้าเลี้ยงในฟาร์มตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

ปรับสภาพแวดล้อมสุกรที่มาจากแหล่งอื่นให้คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมในฟาร์ม

A4010403.03 175164
A4010404

จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนเลี้ยงสุกรให้เหมาะสม

เตรียมโรงเรือนระบบปิดและระบบเปิดก่อนรับสุกรเข้าเลี้ยง

A4010404.01 175171
A4010404

จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนเลี้ยงสุกรให้เหมาะสม

ติดตั้งอุปกรณ์ให้อาหารและน้ำก่อนรับสุกรในแต่ละระยะเข้าเลี้ยง

A4010404.02 175172
A4010404

จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนเลี้ยงสุกรให้เหมาะสม

ติดตั้งอุปกรณ์ให้แสงสว่าง ไฟกก และวัสดุรองพื้นในโรงเรือนอนุบาล

A4010404.03 175173
A4010404

จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนเลี้ยงสุกรให้เหมาะสม

ตรวจความเรียบร้อยของอุปกรณ์ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรือนเลี้ยงสุกร

A4010404.04 175174
A4010404

จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนเลี้ยงสุกรให้เหมาะสม

สังเกตพฤติกรรมของสุกรกับความต้องการของสภาพแวดล้อมในโรงเรือน

A4010404.05 175175
A4010404

จัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนเลี้ยงสุกรให้เหมาะสม

ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรือนให้เป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดในสุกรแต่ละระยะ

A4010404.06 175176
A4010405

ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยของบุคลากรและสัตว์

ปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยของบุคลากร

A4010405.01 175182
A4010405

ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยของบุคลากรและสัตว์

เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการป้องกันอันตรายในโรงเรือนเลี้ยงสุกร

A4010405.02 175183
A4010405

ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยของบุคลากรและสัตว์

ปฏิบัติงานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์

A4010405.03 175184
A4010405

ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยของบุคลากรและสัตว์

ป้องกันสัตว์พาหะทั้งในและรอบโรงเรือนเลี้ยงสุกร

A4010405.04 175185
A4010405

ปฏิบัติงานให้มีความปลอดภัยของบุคลากรและสัตว์

ปฏิบัติงานตามระบบป้องกันอัคคีภัย

A4010405.05 175186

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้และทักษะการจัดการพ่อและแม่สุกรพันธุ์

- ความรู้และทักษะผสมพันธุ์สุกร

- ความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ,อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดเลือกพันธุ์  

- ความรู้และทักษะการจัดการแม่อุ้มท้อง-คลอด

- ความรู้และทักษะการจัดการแม่หลังคลอด-หย่านม

- ความรู้และทักษะการจัดการสุกรขุน

- ความรู้และทักษะการให้อาหารสุกรแต่ละระยะ

- ความรู้และทักษะการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลที่ดีและความปลอดภัยทางชีวภาพ

- ความรู้และทักษะการจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน

- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการปฏิบัติงานตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มสุกรทั้งด้านบุคคล สิ่งของ และพาหนะที่เข้า - ออกฟาร์ม

- ทักษะการจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรือนที่เหมาะสมกับสุกรในทุกระยะ

- ทักษะการปฏิบัติต่อสุกรตามหลักการสวัสดิภาพสัตว์

- ทักษะการสังเกตพฤติกรรมสุกรและสุขภาพสุกร    

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้การจัดการสุขภาพสุกร โรคสำคัญ และโรคระบาดในสุกร 

- ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มสุกร

- ความรู้เรื่องโรงเรือนอุปกรณ์และการจัดการสภาพแวดล้อมในฟาร์ม

- ความรู้เรื่องการจัดการของเสียฟาร์มสุกร

- ความรู้เรื่องการเลี้ยงสุกรตามหลักสวัสดิภาพสัตว์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถทำวัคซีนและดูแลสุขภาพสุกรเบื้องต้น

- สามารถเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจห้องปฏิบัติการ

- สามารถเลี้ยงสุกรให้เป็นไปตามความปลอดภัยทางชีวภาพ

- สามารถตรวจสอบเบอร์หูและพันธุ์ประวัติสุกร

- สามารถปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับสุกร

- สามารถป้องกันสัตวพาหะทั้งในและรอบโรงเรือนเลี้ยงสุกร

- สามารถปฏิบัติงานตามหลักสวัสดิภาพสัตว์

- ผลคะแนนสาธิตการปฏิบัติงาน

- ผลคะแนนสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เรื่องการทำวัคซีนสุกร

- ความรู้เรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสุกร

- ความรู้เรื่องสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสุกรในแต่ละระยะ

- ความรู้เรื่องหลักสวัสดิภาพสัตว์

- ผลคะแนนข้อเขียนและสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้     

(ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์

สาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- การเก็บตัวอย่าง หมายถึง การเก็บตัวอย่างจากสุกรเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุการป่วยของสุกรและติดตามสุขภาพสุกร ตัวอย่างส่งตรวจ ได้แก่ อุจจาระ อาหาร น้ำ เป็นต้น

- ความปลอดภัยทางชีวภาพ หมายถึง ระบบการจัดการและมาตรการทางกายภาพที่ดำเนินการเพื่อป้องกันควบคุมโรค โดยการลดความเสี่ยงของการนำเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์ม หรือการกระจายของเชื้อโรคภายในออกจากฟาร์ม รวมถึงการแพร่กระจายของโรคในสัตว์ 

- อุปกรณ์ปรับสภาพแวดล้อม หมายถึง พัดลมระบายอากาศในโรงเรือน เยื่อกระดาษ น้ำหยด สเปรย์น้ำ ชุดควบคุมอัตโนมัติ (Controller)

- โปรแกรมสภาพแวดล้อม หมายถึง การติดตามอุณหภูมิในโรงเรือนสุกร ความชื้น การระบายอากาศ ความหนาแน่นต่อพื้นที่การเลี้ยงสุกร

- การปรับสภาพแวดล้อมสุกร หมายถึง การดูแลโรงเรือน อาหาร น้ำ และสภาพแวดล้อมในคอกเลี้ยงสุกรให้เหมาะสมเพื่อลดความเครียดของสุกรที่รับมาใหม่ รวมถึงการทำให้สุกรที่รับเข้ามาใหม่ได้รับการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโดยการนำสุกรที่มีในฟาร์มเข้ามาเลี้ยงรวมกัน

- สัตว์พาหะ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่เป็นพาหะนำโรค โดยสัตว์พาหะมีหลายประเภท ได้แก่ สัตว์พาหะที่เป็นปรสิตภายนอก (External parasite) เช่น เห็บ เหา ไร สัตว์พาหะที่ไม่เป็นปรสิต (Non parasitic insects) เช่น แมลงวันบ้าน แมลงปีกแข็ง หนู นก

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์

สาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ