หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เลี้ยงสุกรในแต่ละระยะ

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-UIYX-569A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เลี้ยงสุกรในแต่ละระยะ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6121     เกษตรกรเลี้ยงสุกร    



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้ในการเลี้ยงสุกรระยะต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สุกรคลอด หลังคลอด หย่านม อนุบาล ขุน ไปจนถึงการเตรียมการจำหน่ายสุกรขุน การเตรียมโรงเรือนและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน การปฏิบัติงานในจุดพักสุกรก่อนจำหน่าย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปศุสัตว์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- พระราชบัญญัติ วิชาชีพการสัตวบาล พ.ศ. 2565- พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 - พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558  - ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านปศุสัตว์ พ.ศ. 2558 (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร)  - ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการขอรับและออกใบรับรองฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม พ.ศ. 2560 - พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2561 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
A4010301

เลี้ยงลูกสุกรช่วงคลอด-หลังคลอด-หย่านม

เตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับลูกสุกรแรกเกิด

A4010301.01 175102
A4010301

เลี้ยงลูกสุกรช่วงคลอด-หลังคลอด-หย่านม

ดูแลลูกสุกรขณะคลอด-แรกคลอด จนถึงลูกสุกรได้กินน้ำนมเหลือง

A4010301.02 175103
A4010301

เลี้ยงลูกสุกรช่วงคลอด-หลังคลอด-หย่านม

บันทึกข้อมูลลูกสุกรแรกเกิดเพื่อประเมินประสิทธิภาพการผลิตของแม่พันธุ์

A4010301.03 175104
A4010301

เลี้ยงลูกสุกรช่วงคลอด-หลังคลอด-หย่านม

ดูแลลูกสุกรหลังคลอดให้เป็นไปตามข้อปฏิบัติ

A4010301.04 175105
A4010301

เลี้ยงลูกสุกรช่วงคลอด-หลังคลอด-หย่านม

สังเกตสุขภาพลูกสุกรและจัดการลูกสุกรป่วยได้อย่างถูกต้อง

A4010301.05 175106
A4010301

เลี้ยงลูกสุกรช่วงคลอด-หลังคลอด-หย่านม

แยกกลุ่มลูกสุกรหย่านมตามน้ำหนักตัว และเคลื่อนย้ายเข้าสู่โรงเรือนอนุบาล

A4010301.06 175107
A4010302

เลี้ยงลูกสุกรตั้งแต่ระยะหย่านม - สุกรขุน

เตรียมอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับลูกสุกรรับเข้าใหม่

A4010302.01 175116
A4010302

เลี้ยงลูกสุกรตั้งแต่ระยะหย่านม - สุกรขุน

จำแนกลูกสุกรเพื่อจัดคอกเลี้ยง

A4010302.02 175117
A4010302

เลี้ยงลูกสุกรตั้งแต่ระยะหย่านม - สุกรขุน

กระตุ้นการกินอาหารลูกสุกรให้ได้น้ำหนักตามมาตรฐาน

A4010302.03 175118
A4010302

เลี้ยงลูกสุกรตั้งแต่ระยะหย่านม - สุกรขุน

คำนวณประสิทธิภาพการเลี้ยงสุกรเล็ก-สุกรขุน

A4010302.04 175119
A4010302

เลี้ยงลูกสุกรตั้งแต่ระยะหย่านม - สุกรขุน

สังเกตสุขภาพสุกรและจัดการสุกรป่วยได้อย่างถูกต้อง

A4010302.05 175120
A4010302

เลี้ยงลูกสุกรตั้งแต่ระยะหย่านม - สุกรขุน

เตรียมสุกรขุนเพื่อจำหน่ายให้เป็นไปตามหลักสวัสดิภาพสัตว์

A4010302.06 175121
A4010303

ปฏิบัติงานในจุดพักสุกรหย่านม สุกรพันธุ์ สุกรขุน สุกรคัดทิ้ง เพื่อการจำหน่าย

อธิบายระเบียบการปฏิบัติงานและหลักการควบคุมการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคในจุดจำหน่ายสุกร

A4010303.01 175122
A4010303

ปฏิบัติงานในจุดพักสุกรหย่านม สุกรพันธุ์ สุกรขุน สุกรคัดทิ้ง เพื่อการจำหน่าย

ปฎิบัติงานในจุดพักสุกรหย่านม สุกรขุน สุกรพันธุ์ สุกรคัดทิ้ง ก่อนการจำหน่ายให้เป็นไปตามระเบียบของทางฟาร์ม

A4010303.02 175123

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- ความรู้และทักษะการจัดการพ่อและแม่สุกรพันธุ์

- ความรู้และทักษะผสมพันธุ์สุกร

- ความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือ,อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดเลือกพันธุ์  

- ความรู้และทักษะการจัดการแม่อุ้มท้อง-คลอด

- ความรู้และทักษะการจัดการแม่หลังคลอด-หย่านม

- ความรู้และทักษะการจัดการสุกรขุน

- ความรู้และทักษะการให้อาหารสุกรแต่ละระยะ

- ความรู้และทักษะการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลที่ดีและความปลอดภัยทางชีวภาพ

- ความรู้และทักษะการจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน

- ความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

- ทักษะการเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์

- ทักษะการทำคลอดและการช่วยคลอด 

- ทักษะการดูแลสุกร

- ทักษะการตรวจสุขภาพ 

- ทักษะการคัดเกรดสุกรระยะต่าง ๆ 

- ทักษะการเตรียมสุกรเพื่อขาย    

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

- ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสัตว์

- ความรู้เกี่ยวกับสุขศาสตร์สัตว์ / โรคและการสุขาภิบาลสัตว์

- ความรู้เกี่ยวกับการจัดการฟาร์มสุกร

- ความรู้เกี่ยวกับหลักสวัสดิภาพสัตว์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)    

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- สามารถเลี้ยงลูกสุกรช่วงคลอด - หลังคลอด – หย่านม- สุกรขุน

- สามารถเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับลูกสุกรรับเข้าใหม่

- สามารถปฏิบัติงานในจุดพักสุกรหย่านม สุกรพันธุ์ สุกรขุน สุกรคัดทิ้ง เพื่อการจำหน่าย

- ผลคะแนนสัมภาษณ์

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

- ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกสุกร

- ความรู้เรื่องการเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับลูกสุกรทุกระยะ

- ความรู้เรื่องหลักการควบคุมการป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคในจุดจำหน่ายสุกร

- ผลคะแนนข้อเขียนและสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานหลักฐานความรู้ ที่คลอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้     

(ง) วิธีการประเมิน

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ให้ผู้ทดสอบใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาผลการประเมิน และผู้ทดสอบต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้น ๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

- น้ำนมเหลือง (Colostrum) หมายถึง น้ำนมแรกที่ผลิตจากต่อมน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ภายใน 72 ชั่วโมงแรกหลังการคลอด มีคุณค่าทางอาหารสูงมีความจำเป็นอย่างมากต่อลูกสุกรแรกเกิด ทั้งในเรื่องของอัตราการรอด และการเจริญเติบโตในอนาคตของลูกสุกร โดยลูกสุกรจะได้รับภูมิต้านทานจากแม่สุกร (Passive Immunity) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการปกป้องเชื้อโรคในลูกสุกร 

- การบันทึกข้อมูลลูกสุกรแรกเกิด หมายถึง การบันทึกจำนวนลูกสุกรที่มีชีวิตและรวมถึงลูกสุกรที่ไม่ผ่านมาตรฐานได้แก่ ลุกสุกรที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ ลงในแบบบันทึงลูกสุกรแรกเกิด

- การดูแลลูกสุกรหลังคลอด หมายถึง กระบวนการดูแลลูกสุกรตั้งแต่หลังคลอดเป็นต้นมา ได้แก่ การผูกและตัดสายสะดือ ไปจนถึงขั้นตอน การกรอฟัน ตัดเบอร์หูและการทำหมันลูกสุกร

- หลักสวัสดิภาพสัตว์ หมายถึง การที่สัตว์ได้รับการเลี้ยงและดูแลให้สัตว์มีความเป็นอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม มีสุขอนามัยที่ดี มีที่อยู่สะดวกสบาย ได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ ทำให้สัตว์มีความสุขกายและ สบายใจ โดยยึดหลักการ 5 ประการ (Five Freedoms) ในการเลี้ยงและปฏิบัติต่อสัตว์ ได้แก่ 1) สัตว์ที่เลี้ยงมีอิสระจากความหิว กระหาย และการให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง 2) มีอิสระจากความไม่สะดวกสบายอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม 3) มีอิสระจากความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเป็นโรค 4) มีอิสระจากความกลัวและความทุกข์ทรมาน และ 5) มีอิสระในการแสดงพฤติกรรมตามปกติของสัตว์ 

- สุกรหย่านม หมายถึง สุกรเพื่อจำหน่าย ที่อายุ 21-24 วัน น้ำหนักประมาณ 7 กิโลกรัมหรือตามข้อกำหนดของแต่ละฟาร์ม ส่งออกให้เกษตรกรฟาร์มสุกรขุนจ้างเลี้ยง หรือขายให้ลูกค้าที่จะนำไปเลี้ยงเป็นสุกรขุน

- สุกรพันธุ์ หมายถึง สุกรสาวสำหรับเป็นสุกรพันธุ์เพื่อจำหน่าย ที่ผลิตแล้วส่งให้ฟาร์มเกษตรกรโครงการจ้างเลี้ยงสุกรพันธุ์หรือลูกค้าที่จะนำสุกรไปผลิตต่อ 

- สุกรขุน หมายถึง สุกรขุนเพื่อจำหน่ายที่อายุและน้ำหนักได้ตามข้อกำหนดของแต่ละฟาร์ม เช่น อายุที่ 22-24 สัปดาห์ น้ำหนักประมาณ 100-110 กิโลกรัม จึงจะจำหน่ายให้กับลูกค้า

- สุกรคัดทิ้ง หมายถึง สุกรคัดทิ้งเพื่อจำหน่ายที่ไม่สามารถให้ผลผลิตหรือสุกรขุนมีตำหนิ เช่น ไส้เลื่อน ทองแดง ขาเจ็บ น้ำหนักน้อยกว่า 70 กิโลกรัม สุขภาพไม่แข็งแรงและรักษาไม่ได้ มีโอกาสตายหรือแพร่เชื้อโรคภายในฝูง จำหน่ายให้กับลูกค้ากลุ่มสุกรแม่พันธุ์หรือสุกรขุนคัดทิ้ง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

สอบข้อเขียน

สอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ