หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการลำเลียง ULD ตามแผนการระวางบรรทุกอากาศยาน

สาขาวิชาชีพการบิน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AVT-WDQZ-185A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการลำเลียง ULD ตามแผนการระวางบรรทุกอากาศยาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

8332 พนักงาน/คนขับรถหัวลาก  



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการลำเลียง ULD ตามแผนการระวางบรรทุกอากาศยาน โดยสามารถวางแผนการลำเลียง ULD จาก ULD Loader ไปยัง Dolly ตามข้อมูลแต่ละเที่ยวบิน และสื่อสารร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลำเลียง ULD ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานควบคุมรถทรานสปอร์ตเตอร์ (Transporter Operator)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
-    ข้อกำหนด International Standards ของ IATA Ground Operations Manual-IGOM -    ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของ ICAO-    ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)-    ข้อกำหนดของท่าอากาศยานแต่ละแห่ง-    ข้อกำหนดของแต่ละสายการบิน 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
40113.01 วางแผนการลำเลียงตามข้อมูลแต่ละเที่ยวบิน 1.อ่านแผนการระวางบรรทุกได้ 40113.01.01 174706
40113.01 วางแผนการลำเลียงตามข้อมูลแต่ละเที่ยวบิน 2.อ่าน ULD Tag ของ ULD ได้ 40113.01.02 174707
40113.01 วางแผนการลำเลียงตามข้อมูลแต่ละเที่ยวบิน 3.รับ-ส่ง ULD ตามลำดับแผนระวางบรรทุก ตามมาตรฐานของสายการบิน 40113.01.03 174708
40113.02 ตัดสินใจแก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่เกิดขึ้นกับรถทรานสปอร์ตเตอร์   1. แก้ไขปัญหาของรถทรานสอปร์ตเตอร์ขณะส่งมอบ ULD ให้ ULD Loader 40113.02.01 174709
40113.02 ตัดสินใจแก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่เกิดขึ้นกับรถทรานสปอร์ตเตอร์   2. แก้ไขปัญหาของระบบฉุกเฉินที่เกิดกับตัวขณะให้บริการรถทรานสปอร์ตเตอร์   40113.02.02 174710

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนใช้งาน

-    ทักษะในการควบคุมรถทรานสปอร์ตเตอร์

-    ทักษะในการควบคุมอุปกรณ์เข้าเทียบกับ Dolly และรถ ULD Loader 

-    ทักษะในการลำเลียง รับ-ส่ง ULD ได้อย่างถูกต้อง

-    ทักษะในการอ่านแผนการระวางบรรทุก

-    ทักษะในการอ่าน ULD Tag

-    ทักษะในการสื่อสารร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

-    ทักษะในการใช้วิทยุสื่อสารได้อย่างถูกต้อง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับรหัสสนามบิน (Airport Code/City Code)

-    ความรู้เกี่ยวกับชนิด/แบบ ของอากาศยาน (Aircraft Type)

-    ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย (Dangerous Goods)

-    ความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงและความปลอดภัยทางการบิน (Aviation Security Awareness)

-    ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบความปลอดภัยของบุคคล (Human Factor)

-    ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถทรานสปอร์ตเตอร์ (ตามคู่มือของผู้ผลิตอุปกรณ์)

-    ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ ULD และ Dolly 

-    ความรู้เกี่ยวกับการใช้วิทยุสื่อสาร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

-    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา    (ถ้ามี)

-    แบบบันทึกผลการอบรม    (ถ้ามี)

-    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะการจัดการลำเลียง ULD ตามแผนการระวางบรรทุกอากาศยาน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

-    พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบปฏิบัติ

-    พิจารณาตามหลักฐานความรู้ ได้แก่ การสอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการจัดการลำเลียง ULD ตามแผนการระวางบรรทุกอากาศยาน เริ่มจาก วางแผนการลำเลียงตามข้อมูลแต่ละเที่ยวบิน โดยสามารถอ่านแผนการระวางบรรทุก และ ULD Tag เพื่อรับ-ส่ง ULD ตามลำดับแผนระวางบรรทุก ตามมาตรฐานของสายการบินได้ รวมทั้งสามารถสื่อสารร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลำเลียง ULD ได้

(ก)    คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องวางแผนการลำเลียง ULD ตามแผนการระวางบรรทุกอากาศยาน และใช้วิทยุเพื่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อลำเลียง ULD

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    รถทรานสปอร์ตเตอร์ หมายถึง รถที่ใช้ในการลำเลียง ULD ระหว่าง ULD Loader กับ Dolly

2.    ULD (Unit Load Device ) หมายถึง อุปกรณ์ส่วนควบที่ไปพร้อมกับอากาศยาน เช่น ตู้คอนเทนเนอร์ แผ่น Pallet ตู้สินค้า ใช้สำหรับใส่สัมภาระ สินค้า และไปรษณียภัณฑ์ ที่ขนส่งทางอากาศ

3.    ULD Tag หมายถึง ป้ายที่ระบุรายละเอียดต่างๆของสัมภาระและสินค้าที่ถูกระบุสำหรับเที่ยวบินนั้นๆ เช่น สายการบิน เที่ยวบิน ประเทศ เมือง และน้ำหนัก เป็นต้น

4.    แผนการระวางบรรทุก (Plan Load) หมายถึง เอกสารที่ระบุรายละเอียดของ ULD ที่จะระวางบรรทุกในแต่ละเที่ยวบิน

5.    วิทยุสื่อสาร  หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ติดต่อสี่อสาร กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งช่องความถี่ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้

6.    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียง ULD ได้แก่ ผู้ควบคุมระวางบรรทุก Load Control Supervisor (LCS)  เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

- สอบข้อเขียน



- สอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ