หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-BJED-159A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ โดยต้องสามารถระบุแนวทางในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ และเลือกวิธีการในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ที่เหมาะสมได้ ตลอดจนการระบุถึงระดับความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ภายหลังการบรรเทาความเสี่ยง และการแนะนำแนวทางในการบรรเทาความเสี่ยงที่เหมาะสมต่อเจ้าของต้นไม้ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพผู้ประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10307.1 ระบุแนวทางในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้
   1. ระบุทางเลือกของการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากการจัดการกับต้นไม้
10307.1.01 174415
10307.1 ระบุแนวทางในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้
   2. ระบุข้อดีข้อด้อยของบรรเทาความเสี่ยงอันตรายโดยการจัดการกับต้นไม้แต่ละวิธี
10307.1.02 174416
10307.1 ระบุแนวทางในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

3. เปรียบเทียบความเหมาะสมในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากการจัดการต้นไม้แต่ละวิธีที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของต้นไม้

10307.1.03 174417
10307.2 เลือกวิธีการในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้
   1. เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยระหว่างการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้จากการจัดการต้นไม้และการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากการจัดการกับเป้าหมาย
10307.2.01 174418
10307.2 เลือกวิธีการในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

2. อธิบายถึงขอบเขตของบทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินความเสี่ยงต่อการตัดสินใจเลือกใช้วิธีการในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ที่เหมาะสม

10307.2.02 174419
10307.2 เลือกวิธีการในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

3. เลือกใช้วิธีการในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ที่เหมาะสม

10307.2.03 174420
10307.3
ระบุถึงระดับความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ภายหลังการบรรเทาความเสี่ยง

1. ระบุแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการต่อความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่

10307.3.01 174421
10307.3
ระบุถึงระดับความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ภายหลังการบรรเทาความเสี่ยง

2. ระบุความเป็นไปได้ในการจัดการกับความเสี่ยงที่เหลืออยู่

10307.3.02 174422
10307.4 แนะนำแนวทางในการบรรเทาความเสี่ยงที่เหมาะสมต่อเจ้าของต้นไม้

1. สื่อสารอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นในการจัดการกับต้นไม้เพื่อบรรเทาความเสี่ยงอันตรายกับเจ้าของต้นไม้

10307.4.01 174423
10307.4 แนะนำแนวทางในการบรรเทาความเสี่ยงที่เหมาะสมต่อเจ้าของต้นไม้

2. ให้คำแนะนำในการจัดการกับความเสี่ยงอันตรายที่หลงเหลืออยู่กับต้นไม้นั้นกับเจ้าของต้นไม้

10307.4.02 174424

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการสร้างระบบค้ำยันต้นไม้ (tree support)



(ก2) ทักษะในการสื่อสารอย่างชัดเจนกับเจ้าของต้นไม้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการค้ำยันต้นไม้ (tree support)



(ข1) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของหมู่ไม้และแรงลม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ บรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ประกอบไปด้วยการระบุแนวทางในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ และเลือกวิธีการในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ การระบุถึงระดับความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ภายหลังการบรรเทาความเสี่ยง และการแนะนำแนวทางในการบรรเทาความเสี่ยงที่เหมาะสมต่อเจ้าของต้นไม้



(ก) คำแนะนำ



(ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ต้องสามารถระบุแนวทางในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ และเลือกวิธีการในการบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ระบุถึงระดับความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ภายหลังการบรรเทาความเสี่ยง และแนะนำแนวทางในการบรรเทาความเสี่ยงที่เหมาะสมต่อเจ้าของต้นไม้



(ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) การบรรเทาความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ หมายถึง การดำเนินการใด ๆ ที่ทำให้ระดับความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ต้นนั้นลดลงจนกระทั่งอยู่ในระดับที่ยอมรับได้



(ข2) ความเสี่ยงที่หลงเหลือ หมายถึง ความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ที่ยังคงอยู่ภายหลังการดำเนินการเพื่อบรรเทาความเสี่ยงอันตรายนั้นแล้ว


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



18.2 สอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ