หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินสภาพพื้นที่

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-QTWT-157A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินสภาพพื้นที่

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประเมินสภาพพื้นที่ โดยต้องสามารถระบุปัจจัยด้านพื้นที่ที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ และอธิบายผลของสภาพอากาศที่มีผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ที่จะเกิดขึ้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพผู้ประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 “รั้วต้นไม้ซึ่งหมายเขตที่ดิน ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของร่วมกัน”10.2 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1345 “เจ้าของรั้วต้นไม้ร่วมมีสิทธิ์ตัดรั้วต้นไม้ได้ถึงแนวเขตที่ดินของตน”10.3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1346 “ดอกผลของต้นไม้ตรงแนวเขตที่เป็นเจ้าของร่วมกันตกเป็นของเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และหากตัดโค่นลงก็เป็นเจ้าของไม้คนละส่วน”10.4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1347 “เจ้าของที่ดินมีสิทธิ์ตัดรากหรือกิ่งที่ยื่นเข้ามาและเอาไว้เสียได้ หากได้บอกผู้ครอบครองต้นไม้ให้ตัดนานพอควรแล้ว”10.5 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1348 “ดอกผลของต้นไม้ที่หล่นตามปกติลงในที่ดินแปลงใดถือเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น”

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10305.1 ระบุปัจจัยด้านพื้นที่ที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

1. ระบุสาเหตุของความล้มเหลวของต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับการรบกวนดิน (soil disturbances)

10305.1.01 174395
10305.1 ระบุปัจจัยด้านพื้นที่ที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

2. ระบุสาเหตุของความล้มเหลวของต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ (site changes)

10305.1.02 174396
10305.1 ระบุปัจจัยด้านพื้นที่ที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ 3. ระบุสาเหตุของความล้มเหลวของต้นไม้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน (land use) 10305.1.03 174397
10305.1 ระบุปัจจัยด้านพื้นที่ที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ 4. อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติของต้นไม้ ที่เกี่ยวข้องกับการระบายน้ำของดิน 10305.1.04 174398
10305.2 อธิบายผลของสภาพอากาศที่มีผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

1. ระบุสภาพอากาศที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นในพื้นที่

10305.2.01 174399
10305.2 อธิบายผลของสภาพอากาศที่มีผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

2. อธิบายถึงผลของสภาพอากาศที่ผิดปกติต่อความล้มเหลวของต้นไม้

10305.2.02 174400
10305.2 อธิบายผลของสภาพอากาศที่มีผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

3. จำแนกความแตกต่างของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับต้นไม้แต่ละต้นในหมู่ไม้จากความผิดปกติของสภาพอากาศ

10305.2.03 174401
10305.2 อธิบายผลของสภาพอากาศที่มีผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

4. อธิบายถึงปัจจัยที่ผลต่อแรงลม (wind load)

10305.2.04 174402

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติของต้นไม้ และความล้มเหลวของต้นไม้



(ก2) ทักษะในการระบุสาเหตุของความล้มเหลวของต้นไม้ที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมภายนอก

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการการรบกวนดิน (soil disturbances) และการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ (site changes)



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน (land use)



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับแรงลม (wind load)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ ประเมินสภาพพื้นที่ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาจากการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการประเมินสภาพพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่การระบุปัจจัยด้านพื้นที่ที่สงผลใหเกิดความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ และอธิบายผลของสภาพอากาศที่มีผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้



(ก) คำแนะนำ



(ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถระบุปัจจัยด้านพื้นที่และสภาพอากาศที่มีผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้



(ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) การรบกวนดิน (soil disturbances) หมายถึง การกระทำใด ๆ โดยมนุษย์ที่ส่งผลให้ดินมีสภาพผิดปกติไปจากสภาพเดิมตามธรรมชาติ



(ข2) แรงลม (wind load) หมายถึง แรงที่เกิดจากการกระทำโดยลม



(ข3) การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ (site changes) หมายถึง การกระทำใด ๆ โดยมนุษย์ที่ส่งผลให้สภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิมและส่งผลกระทบต่อต้นไม้



(ข4) การล้มเหลวของต้นไม้ หมายถึง การที่ส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้จะหัก โค่น ในช่วงเวลาหนึ่ง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



ยินดีต้อนรับ