หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้หลักชีวกลศาสตร์ของต้นไม้ในการปฏิบัติงาน

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-YBJZ-156A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้หลักชีวกลศาสตร์ของต้นไม้ในการปฏิบัติงาน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการอธิบายกลไกในการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ รวมถึงอธิบายหลักการจำแนกส่วนการผุของเนื้อไม้ และอธิบายประเภทของแรงกระทำภายนอกที่ส่งผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพผู้ประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 “รั้วต้นไม้ซึ่งหมายเขตที่ดิน ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของร่วมกัน”10.2 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1345 “เจ้าของรั้วต้นไม้ร่วมมีสิทธิ์ตัดรั้วต้นไม้ได้ถึงแนวเขตที่ดินของตน”10.3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1346 “ดอกผลของต้นไม้ตรงแนวเขตที่เป็นเจ้าของร่วมกันตกเป็นของเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และหากตัดโค่นลงก็เป็นเจ้าของไม้คนละส่วน”10.4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1347 “เจ้าของที่ดินมีสิทธิ์ตัดรากหรือกิ่งที่ยื่นเข้ามาและเอาไว้เสียได้ หากได้บอกผู้ครอบครองต้นไม้ให้ตัดนานพอควรแล้ว”10.5 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1348 “ดอกผลของต้นไม้ที่หล่นตามปกติลงในที่ดินแปลงใดถือเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น”

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10304.1
อธิบายถึงหลักชีวกลศาสตร์ของ
ต้นไม้

1. อธิบายกลไกในการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้

10304.1.01 174387
10304.1
อธิบายถึงหลักชีวกลศาสตร์ของ
ต้นไม้

2. อธิบายถึงปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้

10304.1.02 174388
10304.2

อธิบายหลักการจำแนกส่วนการผุของเนื้อไม้ (CODIT)

1. อธิบายถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นภายหลังต้นไม้ถูกรบกวนเนื้อไม้ 

10304.2.01 174389
10304.2

อธิบายหลักการจำแนกส่วนการผุของเนื้อไม้ (CODIT)

2. อธิบายกระบวนการการแบ่งผนัง (wall) ภายในเนื้อไม้เพื่อจำกัดส่วนของการเข้าทำลายเนื้อไม้

10304.2.02 174390
10304.2

อธิบายหลักการจำแนกส่วนการผุของเนื้อไม้ (CODIT)

3. อธิบายลักษณะของผนังส่วนที่ 1-4 (wall 1-4)

10304.2.03 174391
10304.3

อธิบายประเภทของแรงที่ส่งผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

   1. อธิบายการตอบสนองของต้นไม้ต่อลม
10304.3.01 174392
10304.3

อธิบายประเภทของแรงที่ส่งผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของหมู่ไม้และลม

10304.3.02 174393
10304.3

อธิบายประเภทของแรงที่ส่งผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

3. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงโน้มถ่วง (gravity) ที่ส่งผลต่อต้นไม้

10304.3.03 174394

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการจำแนกความผิดปกติของต้นไม้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกส่วนการผุของเนื้อไม้ (CODIT)



(ข1) ความรู้เกี่ยวกับชีวกลศาสตร์ของต้นไม้ (tree biomechanics)



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของหมู่ไม้และลม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ เข้าใจชีวกลศาสตร์ของต้นไม้ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และสอบสัมภาษณ์เชิงปฏิบัติการ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการเข้าใจชีวกลศาสตร์ของต้นไม้ ประกอบไปด้วยการอธิบายกลไกในการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ รวมถึงอธิบายหลักการจำแนกส่วนการผุของเนื้อไม้ และอธิบายประเภทของแรงที่ส่งผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้



(ก) คำแนะนำ



(ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ต้องสามารถอธิบายกลไกในการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ รวมถึงอธิบายหลักการจำแนกสวนการผุของเนื้อไม้ และอธิบายประเภทของแรงที่ส่งผลต่อความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้



(ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) ชีวกลศาสตร์ของต้นไม้ หมายถึง กลไกในการเคลื่อนไหวของส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้



(ข2) การจำแนกส่วนการผุของเนื้อไม้ (CODIT) หมายถึง การแบ่งผนัง (wall) ภายในเนื้อไม้เพื่อจำกัดส่วนของการเข้าทำลายเนื้อไม้ออกเป็นส่วนที่ 1-4 (wall 1-4)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



18.2 สอบสัมภาษณ์เชิงปฏิบัติการ



ยินดีต้อนรับ