หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-BKOK-154A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประเมินเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้ โดยต้องสามารถจำแนกเป้าหมายของความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ กำหนดขอบเขตของพื้นที่เป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้ การระบุระยะเวลาการปรากฏอยู่ของเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้ รวมถึงการคาดการณ์ถึงโอกาสในการกระทบต่อเป้าหมายเมื่อต้นไม้เกิดการล้มเหลวขึ้นได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพผู้ประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 “รั้วต้นไม้ซึ่งหมายเขตที่ดิน ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของร่วมกัน”10.2 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1345 “เจ้าของรั้วต้นไม้ร่วมมีสิทธิ์ตัดรั้วต้นไม้ได้ถึงแนวเขตที่ดินของตน”10.3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1346 “ดอกผลของต้นไม้ตรงแนวเขตที่เป็นเจ้าของร่วมกันตกเป็นของเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และหากตัดโค่นลงก็เป็นเจ้าของไม้คนละส่วน”10.4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1347 “เจ้าของที่ดินมีสิทธิ์ตัดรากหรือกิ่งที่ยื่นเข้ามาและเอาไว้เสียได้ หากได้บอกผู้ครอบครองต้นไม้ให้ตัดนานพอควรแล้ว”10.5 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1348 “ดอกผลของต้นไม้ที่หล่นตามปกติลงในที่ดินแปลงใดถือเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น”

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10302.1 จำแนกเป้าหมายของความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

1. อธิบายถึงเป้าหมายที่เคลื่อนที่ไม่ได้ (static target)

10302.1.01 174371
10302.1 จำแนกเป้าหมายของความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

2. อธิบายถึงเป้าหมายที่เคลื่อนที่ได้ (movable target)

10302.1.02 174372
10302.1 จำแนกเป้าหมายของความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

3. อธิบายถึงเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ (mobile target)

10302.1.03 174373
10302.2 กำหนดขอบเขตของพื้นที่เป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้

1. อธิบายพื้นที่เป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้

10302.2.01 174374
10302.2 กำหนดขอบเขตของพื้นที่เป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้

2. กำหนดพื้นที่เป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้ที่เหมาะสมกับขนาดต้นไม้

10302.2.02 174375
10302.3
ระบุระยะเวลาการปรากฏ
อยู่ของเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้

1. อธิบายถึงการปรากฏอยู่ของเป้าหมาย 

10302.3.01 174376
10302.3
ระบุระยะเวลาการปรากฏ
อยู่ของเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้

2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของเป้าหมายตามความสามารถในการเคลื่อนย้ายตำแหน่ง (ability to move) และการปรากฏอยู่ของเป้าหมาย

10302.3.02 174377
10302.4

คาดการณ์ถึงโอกาสได้การกระทบต่อเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้

1. อธิบายถึงโอกาสที่ต้นไม้จะกระทบต่อเป้าหมาย

10302.4.01 174378
10302.4

คาดการณ์ถึงโอกาสได้การกระทบต่อเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้

   2. อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างต้นไม้และโอกาสในการกระทบต่อเป้าหมาย
10302.4.02 174379
10302.4

คาดการณ์ถึงโอกาสได้การกระทบต่อเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้

3. ระบุระยะเวลาการปรากฏอยู่ของเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้ได้อย่างเหมาะสม

10302.4.03 174380

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการจำแนกเป้าหมายของความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ และการล้มเหลวของต้นไม้



(ก2) ทักษะในการกำหนดขอบเขตของพื้นที่เป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้



(ก3) ทักษะในการระบุระยะเวลาการปรากฏอยู่ของเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้



(ก4) ทักษะในการคาดการณ์ถึงโอกาสได้การกระทบต่อเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับการล้มเหลวของต้นไม้ (tree failure)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ ประเมินเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการประเมินเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้ประกอบไปด้วย การจำแนกเป้าหมายของความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ การกำหนดขอบเขตของพื้นที่เป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้ การระบุระยะเวลาการปรากฏอยู่ของเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้ รวมถึงการคาดการณ์ถึงโอกาสได้การกระทบต่อเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้ในอนาคต



(ก) คำแนะนำ



(ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถจำแนกเป้าหมายของความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ กำหนดขอบเขตของพื้นที่เป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้ ระบุระยะเวลาการปรากฏอยู่ของเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้ รวมถึงคาดการณ์ถึงโอกาสได้การกระทบต่อเป้าหมายที่จะได้รับอันตรายจากต้นไม้



(ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) การล้มเหลวของต้นไม้ (tree failure) หมายถึง การที่ส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้จะหัก โค่น ในช่วงเวลาหนึ่ง



(ข2) เป้าหมายที่เคลื่อนที่ไม่ได้ (static target) หมายถึง เป้าหมายที่อยู่อย่างถาวรในพื้นที่เป้าหมายที่อาจได้รับอันตรายหากต้นไม้เกิดการล้มเหลวขึ้น โดยไม่สามารถเคลื่อนที่ได้



(ข3) เป้าหมายที่เคลื่อนที่ได้ (movable target) หมายถึง เป้าหมายที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายที่อาจได้รับอันตรายหากต้นไม้เกิดการล้มเหลวขึ้น และสามารถเคลื่อนที่ออกไปจากบริเวณดังกล่าวได้



(ข4) เป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ (mobile target) หมายถึง เป้าหมายที่เคลื่อนที่ผ่านพื้นที่เป้าหมายที่อาจได้รับอันตรายหากต้นไม้เกิดการล้มเหลวขึ้น



(ข5) ระยะเวลาการปรากฏอยู่ของเป้าหมาย (occupancy rate) ระยะเวลาที่เป้าหมายปรากฏอยู่ภายในพื้นที่เป้าหมาย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



ยินดีต้อนรับ