หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-WMOI-153A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2132 ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การป่าไม้ และการประมง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ โดยต้องสามารถอธิบายขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ จำแนกระดับการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ได้ ตลอดจนสามารถเลือกวิธีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมกับต้นไม้ และเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ในแต่ละระดับได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพผู้ประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 “รั้วต้นไม้ซึ่งหมายเขตที่ดิน ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของร่วมกัน”10.2 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1345 “เจ้าของรั้วต้นไม้ร่วมมีสิทธิ์ตัดรั้วต้นไม้ได้ถึงแนวเขตที่ดินของตน”10.3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1346 “ดอกผลของต้นไม้ตรงแนวเขตที่เป็นเจ้าของร่วมกันตกเป็นของเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และหากตัดโค่นลงก็เป็นเจ้าของไม้คนละส่วน”10.4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1347 “เจ้าของที่ดินมีสิทธิ์ตัดรากหรือกิ่งที่ยื่นเข้ามาและเอาไว้เสียได้ หากได้บอกผู้ครอบครองต้นไม้ให้ตัดนานพอควรแล้ว”10.5 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1348 “ดอกผลของต้นไม้ที่หล่นตามปกติลงในที่ดินแปลงใดถือเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น”

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10301.1 อธิบายขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้
   1. อธิบายความสำคัญของความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้
10301.1.01 174357
10301.1 อธิบายขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

2. อธิบายขั้นตอนที่สำคัญของการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

10301.1.02 174358
10301.1 อธิบายขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

3. จำแนกการประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพ (qualitative risk assessment) และการประเมินความเสี่ยงเชิงปริมาณ (quantitative risk assessment) ได้

10301.1.03 174359
10301.1 อธิบายขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

4. ระบุขอบเขตหน้าที่ของผู้ประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

10301.1.04 174360
10301.2

จำแนกระดับการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

1. อธิบายความหมายของการประเมินระดับ 1 การประเมินที่จำกัดการมองเห็น (limited visual assessment)

10301.2.01 174361
10301.2

จำแนกระดับการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

2. อธิบายความหมายของการประเมินระดับ 2 การประเมินขั้นต้น (basic assessment)

10301.2.02 174362
10301.2

จำแนกระดับการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

3. อธิบายความหมายของการประเมินระดับ 3 การประเมินขั้นสูง (advance assessment)

10301.2.03 174363
10301.3 เลือกวิธีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมกับต้นไม้

1. จัดลำดับความสำคัญของต้นไม้ที่จะต้องดำเนินการประเมินความเสี่ยงอันตราย

10301.3.01 174364
10301.3 เลือกวิธีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมกับต้นไม้

2. จำแนกสาเหตุที่สำคัญของการเกิดความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ 

10301.3.02 174365
10301.3 เลือกวิธีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมกับต้นไม้

3. ระบุถึงวิธีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมภายใต้บริบทแวดล้อมโดยรอบต้นไม้ที่แตกต่างกันได้

10301.3.03 174366
10301.3 เลือกวิธีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมกับต้นไม้

4. เลือกวิธีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมกับความเร่งด่วนในการดำเนินการประเมินความเสี่ยงอันตรายได้

10301.3.04 174367
10301.4 เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ในแต่ละระดับ

1. อธิบายถึงข้อดี-ข้อด้อยของเครื่องมือที่จำเป็นกับการประเมินความเสี่ยงแต่ละระดับ

10301.4.01 174368
10301.4 เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ในแต่ละระดับ

2. อธิบายถึงเหตุผลความจำเป็นในการใช้เครื่องมือประเภทต่าง ๆ

10301.4.02 174369
10301.4 เลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ในแต่ละระดับ

3. ระบุผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้เครื่องมือประเภทต่าง ๆ

10301.4.03 174370

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการจำแนกองค์ประกอบที่ของความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้



(ก2) ทักษะในการอธิบายขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้



(ก3) ทักษะในการใช้เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับความหมายความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ ประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาจากการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ การจำแนกระดับการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ จนไปถึงการเลือกวิธีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมกับต้นไม้



(ก) คำแนะนำ



(ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ การจำแนกระดับการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ และการเลือกวิธีการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมกับต้นไม้ ได้



(ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) การประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ หมายถึง การประเมินโอกาสโอกาสที่จะเกิดอันตราย หรือการสูญเสียใด ๆ ก็ตามที่มีต้นหมายเป็นสาเหตุ หรือเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุ



(ข2) ระดับการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ หมายถึง วิธีการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้โดยการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ วิธีการ ตลอดจนข้อมูลประกอบต่าง ๆ ที่มากน้อยแตกต่างกัน โดยเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ขั้นต้นที่ใช้เครื่องมืออย่างง่ายจนไปถึงขั้นสูงที่ใช้เครื่องมือ และข้อมูลซับซ้อน



(ข3) เครื่องมือที่ในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ หมายถึง อุปกรณ์จำเป็นที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงอันตรายจากต้นไม้ เช่น ค้อนยาง สว่านเจาะเนื้อไม้ (increment borer) หรือ เครื่องมือสแกนเนื้อไม้ด้วยคลื่นเสียง (Acoustic tomography tree)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



ยินดีต้อนรับ