หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการป่าในเมือง

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-VFBZ-152A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการป่าในเมือง

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3143 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการป่าไม้



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจัดการป่าในเมือง โดยต้องเริ่มจากสามารถจำแนกพื้นที่ป่าในเมืองได้ สามารถวิเคราะห์ต้นทุน และประโยชน์ของป่าในเมือง ตลอดจนสามารถสำรวจข้อมูลป่าในเมืองแล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการจัดการป่าในเมืองได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพรุกขกร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 พ.ร.บ. การผังเมือง พ.ศ. 2562

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10208.1 จำแนกพื้นที่ป่าในเมือง

1. อธิบายนิยามของป่าในเมือง 

10208.1.01 174349
10208.1 จำแนกพื้นที่ป่าในเมือง

2. อธิบายกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับป่าในเมือง

10208.1.02 174350
10208.2 วิเคราะห์ต้นทุน และประโยชน์ของป่าในเมือง

1. ระบุต้นทุนทางตรง และทางอ้อมในการดูแลรักษาป่าในเมือง

10208.2.01 174351
10208.2 วิเคราะห์ต้นทุน และประโยชน์ของป่าในเมือง

2. ระบุถึงประโยชน์ของป่าในเมืองทางตรง และทางอ้อม 

10208.2.02 174352
10208.2 วิเคราะห์ต้นทุน และประโยชน์ของป่าในเมือง

3. คำนวณต้นทุน และประโยชน์ของป่าในเมืองด้วยวิธีการที่เหมาะสม

10208.2.03 174353
10208.3 สำรวจข้อมูลต้นไม้

1. เลือกใช้อุปกรณ์การวัด และการสำรวจไม้ต้นได้

10208.3.01 174354
10208.3 สำรวจข้อมูลต้นไม้

2. คำนวณข้อมูลที่ได้มาจากการรังวัดป่าไม้ได้อย่างถูกต้อง

10208.3.02 174355
10208.3 สำรวจข้อมูลต้นไม้

3. แปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้

10208.3.03 174356

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการใช้เครื่องรังวัดพื้นที่ป่าในเขตเมือง



(ก2) ทักษะการวิเคราะห์และข้อมูล



(ก3) ทักษะการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับนิยาม และความสำคัญของป่าในเมือง



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการป่าในเมือง



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับวิธีในการรังวัดและเก็บข้อมูลป่าในเขตเมือง



(ข4) ความรู้ด้านการบูรณาการศาสตร์เพื่อใช้ในการจัดการป่าในเมือง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะความรู้ด้านการจัดการป่าในเมือง โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการอบรม และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานจัดการป่าในเมือง เริ่มต้นตั้งแต่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับคำนิยามของป่าในเมือง และสามารถจำแนกพื้นที่ป่าในเมืองได้ และสามารถวิเคราะห์ต้นทุน และประโยชน์ของป่าในเมืองได้ รวมถึงสามารถรังวัด และเก็บข้อมูลป่าในเมือง เพื่อนำมาวิเคราะห์และเสนอแนวทางจัดการป่าในเมืองอย่างมีส่วนร่วมได้



(ก) คำแนะนำ



(ก1) เจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) ป่าในเมือง หมายถึง กลุ่มของหมู่ไม้หรือพืชพรรณที่อยู่ในหรืออยู่รอบๆ บริเวณพื้นที่ซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์หนาแน่น นับตั้งแต่พื้นที่ชุมชนขนาดเล็กๆ ในเขตชนบท จนถึงบริเวณพื้นที่มหานครขนาดใหญ่



(ข2) ต้นทุนทางตรง ต้นทุนที่ฝ่ายบริหารสามารถที่จะระบุได้ว่าต้นทุนใดเป็นของหน่วยต้นทุน (Cost Object) ใดนั่นเอง เช่น ค่าแรงคนงานในการดูแลรักษา ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าวัสดุสิ้นเปลทองต่าง ๆ



(ข3) ต้นทุนทางอ้อม ต้นทุนร่วม (Common cost) ที่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากหน่วยต้นทุนใด เช่น ค่าเสียโอกาสในการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบอื่น ๆ



(ข4) การสำรวจข้อมูลต้นไม้ หมายถึง การได้มาซึ่งข้อมูลต้นไม้ เช่น การวางแปลงตัวอย่างเพื่อสำรวจรังวัดข้อมูล ชนิดของต้นไม้ ความโตของลำต้น ความสูง ความกว้างเรือนยอด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 



18.2 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ