หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการสุขภาพของต้นไม้

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-MASL-150A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการสุขภาพของต้นไม้

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3143 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการป่าไม้



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสุขภาพของต้นไม้ โดยต้องสามารถวินิจฉัยลักษณะอาการความผิดปกติของต้นไม้ และระบุตัวการสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติ ตลอดจนสามารถหาวิธีในการแก้ปัญหาความผิดปกติและรักษาโรคที่เกิดกับต้นไม้ได้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับต้นไม้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ก่อสร้าง และสามารถฟื้นฟูต้นไม้ภายหลังจากงานก่อสร้างได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพรุกขกร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 “รั้วต้นไม้ซึ่งหมายเขตที่ดิน ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของร่วมกัน”10.2 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1345 “เจ้าของรั้วต้นไม้ร่วมมีสิทธิ์ตัดรั้วต้นไม้ได้ถึงแนวเขตที่ดินของตน”10.3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1346 “ดอกผลของต้นไม้ตรงแนวเขตที่เป็นเจ้าของร่วมกันตกเป็นของเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และหากตัดโค่นลงก็เป็นเจ้าของไม้คนละส่วน”10.4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1347 “เจ้าของที่ดินมีสิทธิ์ตัดรากหรือกิ่งที่ยื่นเข้ามาและเอาไว้เสียได้ หากได้บอกผู้ครอบครองต้นไม้ให้ตัดนานพอควรแล้ว”10.5 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1348 “ดอกผลของต้นไม้ที่หล่นตามปกติลงในที่ดินแปลงใดถือเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น”

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10206.1 วินิจฉัยความผิดปกติของต้นไม้

1. อธิบายลักษณะอาการผิดปกติของต้นไม้ 

10206.1.01 174324
10206.1 วินิจฉัยความผิดปกติของต้นไม้

2. ระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้

10206.1.02 174325
10206.1 วินิจฉัยความผิดปกติของต้นไม้

3. ประเมินความรุนแรงของโรค และความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับต้นไม้ได้

10206.1.03 174326
10206.2 แก้ปัญหาที่เกิดจากโรคและความผิดปกติของต้นไม้

1. เลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาความผิดปกติของต้นไม้ได้ 

10206.2.01 174327
10206.2 แก้ปัญหาที่เกิดจากโรคและความผิดปกติของต้นไม้

2. รักษาต้นไม้ที่เป็นโรคได้

10206.2.02 174328
10206.3 ป้องกันต้นไม้

1. อธิบายอันตรายที่จะเกิดกับไม้ต้นระหว่างการก่อสร้าง

10206.3.01 174331
10206.3 ป้องกันต้นไม้

2. เลือกใช้วิธีการในการป้องกันอันตรายต่อไม้ต้นระหว่างการก่อสร้างได้

10206.3.02 174332
10206.3 ป้องกันต้นไม้

3. อธิบายวิธีตรวจสอบไม้ต้นระหว่างการก่อสร้างให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์

10206.3.03 174333
10206.4 ฟื้นฟูต้นไม้

1. สามารถประเมินสุขภาพของต้นไม้ภายหลังโครงการก่อสร้าง

10206.4.01 174334
10206.4 ฟื้นฟูต้นไม้

2. สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ และวิธีการในการฟื้นฟูไม้ต้นภายหลังการก่อสร้างได้อย่างเหมาะสม

10206.4.02 174335
10206.4 ฟื้นฟูต้นไม้

3. สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนการทำงานที่เป็นมาตรฐาน

10206.4.03 174336

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการวินิจฉัยโรค



(ก2) ทักษะการแก้ปัญหาความผิดปกติของต้นไม้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับตัวการที่ทำให้เกิดความผิดปกติของต้นไม้



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับลักษณะอาการผิดปกติและการเกิดโรคของต้นไม้



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคพืช



(ข4) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาความผิดปกติของต้นไม้และการรักษาโรค



(ข5) ความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นกับต้นไม้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ก่อสร้าง



(ข6) ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับต้นไม้ในเขตพื้นที่ก่อสร้าง



(ข7) ความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูต้นไม้ภายหลังจากการก่อสร้าง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะความรู้ด้านการจัดการสุขภาพของต้นไม้ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการอบรม และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานจัดการสุขภาพของต้นไม้ เริ่มตั้งแต่ต้องมีความรู้เกี่ยวกับตัวการที่เป็นสาเหตุในการเกิดความผิดปกติและเกิดโรคกับต้นไม้ และมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะอาการของต้นไม้ที่เกิดโรค จากนั้นสามารถวินิจฉัยความผิดปกติของต้นไม้ และสามารถจัดการแก้ปัญหาและรักษาโรคของต้นไม้ได้ ซึ่งในกรณีที่ต้นไม้เติบโตในเขตพื้นที่ก่อสร้าง ต้องสามารถเลือกวิธีป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับต้นไม้ และสามารถฟื้นฟูต้นไม้ภายหลังการก่อสร้างได้



(ก) คำแนะนำ



(ก1) เจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) ตัวการ หมายถึง สิ่งมีชีวิตหรือสิ่งไม่มีชีวิตที่เป็นสาเหตุของความผิดปกติของต้นไม้



(ข2) ลักษณะอาการ หมายถึง ลักษณะความผิดปกติของต้นไม้ที่แสดงออกให้เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งมีตัวการเป็นสาเหตุให้เกิดอาการต่าง ๆ



(ข3) โรคของต้นไม้ หมายถึง ภาวะที่ต้นไม้มีลักษณะผิดปกติ เนื่องจากเชื้อโรคที่เป็นสิ่งมีชีวิต และ/หรือ สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตที่มีผลทำให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในต้นไม้ผิดปกติ โดยการเกิดโรคพืชมีปัจจัยสำคัญ คือ เชื้อสาเหตุโรคที่รุนแรง สภาพแวดล้อมเหมาะสม และระยะเวลาที่ เช่น รากเน่า ราน้ำค้าง ราแป้ง ราสนิม ใบจุด และ แอนแทรคโนส (Anthracnose) เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 



18.2 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ