หน่วยสมรรถนะ
บำรุงรักษาต้นไม้
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ECM-BIGG-149A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | บำรุงรักษาต้นไม้ |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
3143 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการป่าไม้ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำรุงรักษาต้นไม้ โดยสามารถดูแลต้นไม้ภายหลังการปลูกให้มีการเติบโตดี ปราศจากโรค และบำรุงดินและระบบรากได้ ตลอดจนสามารถป้องกันการโคนล้มของต้นไม้โดยการใช้ไม้ค้ำยันได้อย่างเหมาะสมกับขนาดต้นไม้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพรุกขกร |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
10.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 “รั้วต้นไม้ซึ่งหมายเขตที่ดิน ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของร่วมกัน”10.2 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1345 “เจ้าของรั้วต้นไม้ร่วมมีสิทธิ์ตัดรั้วต้นไม้ได้ถึงแนวเขตที่ดินของตน”10.3 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1346 “ดอกผลของต้นไม้ตรงแนวเขตที่เป็นเจ้าของร่วมกันตกเป็นของเจ้าของคนละส่วนเท่ากัน และหากตัดโค่นลงก็เป็นเจ้าของไม้คนละส่วน”10.4 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1347 “เจ้าของที่ดินมีสิทธิ์ตัดรากหรือกิ่งที่ยื่นเข้ามาและเอาไว้เสียได้ หากได้บอกผู้ครอบครองต้นไม้ให้ตัดนานพอควรแล้ว”10.5 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1348 “ดอกผลของต้นไม้ที่หล่นตามปกติลงในที่ดินแปลงใดถือเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น” |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
10205.1 ดูแลต้นไม้หลังการปลูก | 1. อธิบายวิธีใช้อุปกรณ์ในการค้ำยันที่เหมาะสมกับต้นไม้ที่ปลูก |
10205.1.01 | 174318 |
10205.1 ดูแลต้นไม้หลังการปลูก | 2. อธิบายวิธีประเมินประสิทธิภาพของการค้ำยัน |
10205.1.02 | 174319 |
10205.1 ดูแลต้นไม้หลังการปลูก | 3. อธิบายวิธีดูแลหลังการปลูกที่เหมาะสมกับชนิดไม้ต้น สภาพดิน และสภาพแวดล้อมที่ปลูก |
10205.1.03 | 174320 |
10205.2 บำรุงดินและระบบราก | 1. จำแนกปัญหาของดินที่ส่งผลต่อต้นไม้ |
10205.2.01 | 174321 |
10205.2 บำรุงดินและระบบราก | 2. บำรุงคุณสมบัติดินให้เหมาะสมต่อต้นไม้ |
10205.2.02 | 174322 |
10205.2 บำรุงดินและระบบราก | 3. ปรับปรุงคุณสมบัติดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของราก |
10205.2.03 | 174323 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ (ก1) ทักษะการประเมินน้ำหนักของต้นไม้ เพื่อเลือกใช้ไม่ค้ำยันได้อย่างเหมาะสม (ข) ความต้องการด้านความรู้ (ข1) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการในการบำรุง ดูแลต้นไม้อย่างเหมาะสมภายหลังการย้ายปลูก (ข2) ความรู้เกี่ยวกับประเมินน้ำหนักของต้นไม้และความเสี่ยงของต้นไม้ต่อการโค่นล้ม (ข3) ความรู้เกี่ยวกับประสิทธิภาพของไม้ค้ำยันแต่ละประเภท |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) (ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ (ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ (ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ (ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) (ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) (ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (ค) คำแนะนำในการประเมิน เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะความรู้ด้านการบำรุงต้นไม้ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการอบรม และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ (ง) วิธีการประเมิน พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และสอบสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตการปฏิบัติงานในการบำรุงต้นไม้ เริ่มตั้งแต่มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการบำรุง ดูแลต้นไม้ให้มีความแข็งแรง เติบโตดีและปราศจากโรค ตลอดจนสามารถเลือกใช้ค้ำยันประเภทต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมกับขนาดของต้นไม้เพื่อป้องกันการโค้นล้มของต้นไม้ (ก) คำแนะนำ (ก1) เจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้ (ข) คำอธิบายรายละเอียด (ข1) ค้ำยัน หมายถึง ชิ้นส่วนที่ใช้ในการรองรับน้ำหนักของต้นไม้ ใช้ค้ำลำต้นเพื่อไม่ให้ทรุดหรือโค่นล้ม วัสดุนำมาใช้ทำค้ำยันอาจเป็นไม้เนื้อแข็ง หรือเหล็ก (ข2) ปัญหาของดิน หมายถึง ดินที่มีสมบัติทางกายภาพ และเคมีไม่เหมาะสม หรือเหมาะสมน้อยสำหรับการปลูกต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถเติบโต และมีสุขภาพที่ผิดปกติ เช่น ดินเสื่อมคุณภาพ การขาดธาตุอาหารในดิน ดินแน่นแข็ง ดินเปรี้ยว ดินเค็ม หรือดินที่มีการระบายน้ำไม่ดี |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก 18.2 สอบสัมภาษณ์
|