หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการชนิดต้นไม้ให้เหมาะสมกับพื้นที่

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-UCAB-147A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการชนิดต้นไม้ให้เหมาะสมกับพื้นที่

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3143 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการป่าไม้



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจัดการชนิดต้นไม้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ โดยต้องสามารถวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเติบโตของต้นไม้ที่ต้องการปลูกในพื้นที่ได้ และสามารถคัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมมาปลูกในพื้นที่ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพรุกขกร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 253010.2 พ.ร.บ. ป่าไม้ 2562

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10203.1
วิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพ
ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้
   1. ระบุปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้
10203.1.01 174296
10203.1
วิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพ
ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้

2. ประเมินผลกระทบจากปัจจัยกายภาพที่จะเกิดขึ้นกับต้นไม้ได้

10203.1.02 174297
10203.1
วิเคราะห์ปัจจัยทางกายภาพ
ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้

3. อธิบายวิธีการปรับปรุงปัจจัยทางกายภาพให้เหมาะสมกับชนิดต้นไม้ที่ต้องการปลูก

10203.1.03 174298
10203.2
คัดเลือกชนิดของต้นไม้ 
ให้เหมาะสมกับพื้นที่

1. อธิบายลักษณะของถิ่นที่อยู่อาศัยของต้นไม้ ตามธรรมชาติ 

10203.2.01 174299
10203.2
คัดเลือกชนิดของต้นไม้ 
ให้เหมาะสมกับพื้นที่

2. ระบุชนิดพันธุ์ไม้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมลักษณะต่าง ๆ ได้

10203.2.02 174300

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะความคิดเชิงวิเคราะห์



(ก2) ทักษะการประเมินผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเติบโตของต้นไม้



(ก3) ทักษะการแก้ปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเติบโตของต้นไม้



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับลักษณะถิ่นอาศัยตามธรรมชาติของพันธุ์ไม้ยืนต้นในเขตเมือง



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับชนิดพันธุ์ไม้และปัจจัยทางนิเวศที่พันธุ์ไม้ชนิดนั้นต้องการ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ ประเมินความรู้ด้านจัดการชนิดต้นไม้ใหญ่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการอบรม และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการจัดการชนิดต้นไม้ให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้น เริ่มต้นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ไม้ และความปัจจัยทางนิเวศวิทยาที่ส่งผลต่อการเติบโตของพันธุ์ไม้ชนิดนั้น นำองค์ความรู้ทางสองด้านมาประกอบในการตัดสินใจคัดเลือกชนิดพันธุ์ไม้ที่เหมาะสมเพื่อปลูกในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง  ซึ่งรวมไปถึงสามารถจัดการปัจจัยแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเติบโตของต้นไม้ที่คัดเลือกไปปลูกด้วย



(ก) คำแนะนำ



(ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับชนิดพันธุ์ไม้ ถิ่นอาศัยตามธรรมชาติ และปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเติบโตของต้นไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดไม้ที่นิยมปลูกในเขตเมือง



(ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) นิเวศวิทยา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม



(ข2) ถิ่นอาศัย หมายถึง ถิ่นที่อยู่ สถานที่ สภาวะแวดล้อม หรือสภาพทางนิเวศวิทยาที่สิ่งมีชีวิตนั้นเจริญเติบโตอยู่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



18.2 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ