หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้หลักชีววิทยาของต้นไม้ในการปฏิบัติงาน

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-CFDG-146A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้หลักชีววิทยาของต้นไม้ในการปฏิบัติงาน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3143 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการป่าไม้



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยาของต้นไม้ โดยต้องสามารถอธิบายชีววิทยาของต้นไม้ (Tree Biology) และกระบวนการเติบโตของต้นไม้ ตลอดจนนิเวศวิทยาของพรรณไม้ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพรุกขกร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10202.1 อธิบายชีววิทยาของต้นไม้ (Tree Biology)

1. ระบุองค์ประกอบที่สำคัญของต้นไม้

10202.1.01 174288
10202.1 อธิบายชีววิทยาของต้นไม้ (Tree Biology) 2. อธิบายหน้าที่หลักขององค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ 10202.1.02 174289
10202.2 อธิบายกระบวนการเติบโตของต้นไม้ 1. อธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ 10202.2.01 174290
10202.2 อธิบายกระบวนการเติบโตของต้นไม้

2. อธิบายกระบวนการทางสรีระวิทยาที่สำคัญในการเจริญเติบโตของต้นไม้ 

10202.2.02 174291
10202.2 อธิบายกระบวนการเติบโตของต้นไม้ 3. อธิบายถึงกระบวนการการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาตามช่วงอายุ หรือชีพลักษณ์ของต้นไม้ 10202.2.03 174292
10202.3 อธิบายระบบนิเวศป่าไม้ 1. อธิบายระบบนิเวศของป่าประเภทต่าง ๆ ในประเทศไทย 10202.3.01 174293
10202.3 อธิบายระบบนิเวศป่าไม้ 2. อธิบายบทบาทของต้นไม้ในระบบนิเวศ 10202.3.02 174294
10202.3 อธิบายระบบนิเวศป่าไม้

3. จำแนกปัจจัยที่มีชีวิต (Biotic factors) และไม่มีชีวิต (Abiotic factors) ที่ส่งผลต่อการเติบโตของต้นไม้

10202.3.03 174295

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะการจำแนกโครงสร้างสำคัญของต้นไม้



(ก2) ทักษะการจำแนกปัจจัยแวดล้อม



(ก3) ทักษะในการวิเคราะห์และสังเคราะห์เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของโครงสร้างต่าง ๆ ของต้นไม้



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางสรีระวิทยาของไม้ยืนต้น



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการเติบโตของไม้ยืนต้น



(ข4) ความรู้เกี่ยวกับนิเวศวิทยาในป่าประเภทต่าง ๆ



(ข5) ความรู้เกี่ยวกับบทบาทของต้นไม้ในระบบนิเวศ



(ข6) ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเติบโตของต้นไม้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ ประเมินความรู้ด้านชีววิทยาของไม้ยืนต้น โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการอบรม และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และสอบสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานด้านชีววิทยาของต้นไม้ โดยเริ่มตั้งแต่ สามารถระบุโครงสร้างและหน้าที่ที่สำคัญต้นไม้ อีกทั้งยังสามารถอธิบายกระบวนการทางสรีระวิทยาของต้นไม้ และการตอบสนองของต้นไม้ต่อปัจจัยแวดล้อมได้ นอกจากนี้ยังสามารถอธิบายนิเวศวิทยาของป่าแต่ละประเภทในประเทศไทย ตลอดจนบทบาทของต้นไม้ในระบบนิเวศ    



(ก) คำแนะนำ



(ก1) เจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) ชีววิทยาของต้นไม้ หมายถึง การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับต้นไม้ครอบคลุมถึงกระบวนการต่าง ๆ ของต้นไม้ใ



(ข2) สรีระวิทยาของไม้ต้น หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในไม้ยืนต้น ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี



(ข3) นิเวศวิทยา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



18.2 สอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ