หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดหมวดหมู่ต้นไม้ตามหลักอนุกรมวิธานวิทยา

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-TAMR-145A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดหมวดหมู่ต้นไม้ตามหลักอนุกรมวิธานวิทยา

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3143 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการป่าไม้



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจัดหมวดหมู่ของต้นไม้ตามหลักอนุกรมวิธาน เข้าใจหลักการเขียนชื่อพฤกษศาสตร์ของพันธุ์ไม้ต้น สามารถอธิบายลักษณะทางสัณฐานวิทยาของต้นไม้ ตลอดจนสามารถระบุชชนิดของพันธุ์ไม้ต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ไม้ต้นที่นิยมปลูกในเขตเมือง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพรุกขกร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10201.1 อธิบายลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่สำคัญของต้นไม้

1. จำแนกลักษณะภายนอกของต้นไม้ 

10201.1.01 174284
10201.1 อธิบายลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่สำคัญของต้นไม้

2. จำแนกรูปทรงของต้นไม้ (Tree Form)

10201.1.02 174285
10201.2
ระบุชนิดต้นไม้ตามหลัก
อนุกรมวิธาน

1. อธิบายหลักการจัดจำแนกหมวดหมู่ของต้นไม้

10201.2.01 174286
10201.2
ระบุชนิดต้นไม้ตามหลัก
อนุกรมวิธาน

2. ระบุชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องของต้นไม้ได้

10201.2.02 174287

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะจำแนกลักษณะทางสัณฐานวิทยาของต้นไม้



(ก2) ทักษะการใช้เครื่องมือและรูปวิธานที่ใช้ในการระบุชนิดของพันธุ์ไม้ยืนต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับหลักการการจัดหมวดหมู่ของต้นไม้ตามหลักอนุกรมวิธาน



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดจำแนกชนิดพันธุ์ไม้ต้น



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับรูปทรงของต้นไม้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี)



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ ประเมินความรู้ด้านจัดหมวดหมู่ต้นไม้ตามหลักอนุกรมวิธานวิทยา (taxonomy) โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการอบรม และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาจากการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานในการจัดหมวดหมู่ต้นไม้ตามหลักอนุกรมวิธานวิทยา เริ่มตั้งแต่ สามารถอธิบายลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพันธุ์ไม้ต้นได้อย่างถูกต้อง จำแนกรูปทรงของพันธุ์ไม้ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการการจัดหมวดหมู่ของพรรณไม้ตามหลักอนุกรมวิธาน ตลอดจนสามารถระบุชื่อพฤกษศาสตร์ หรือชื่อวิทยาศาสตร์ของพันธุ์ไม้ต้นได้อย่างถูกต้อง



(ก) คำแนะนำ



(ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงลักษณะสัณฐานวิทยาที่สำคัญของพันธุ์ไม้ต้น และสามารถระบุชื่อพฤกษศาสตร์ หรือชื่อวิทยาศาสตร์ของพันธุ์ไม้ยืนต้น โดยเฉพาะพันธุ์ไม้ยืนต้นที่นำมาปลูกในเขตเมือง



(ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) ลักษณะทางสัณฐานวิทยา หมายถึง รูปร่าง รูปลักษณะ และโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตหรือส่วนของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของดอกไม้ การจัดเรียงตัวของใบไม้ รูปร่างของใบ ลักษณะของเปลือก เป็นต้น



(ข2) หลักอนุกรมวิธาน หมายถึง หลักที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการจำแนกสิ่งมีชีวิต การกำหนดชื่อสากลของสิ่งมีชีวิต และการตรวจสอบสิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบ



(ข3) ชื่อพฤกษศาสตร์ หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ หมายถึง ชื่อของสิ่งมีชีวิต ซึ่งประกอบด้วย 3 ชื่อย่อยอยู่ในชื่อเดียวกันตามลำดับ คือ ชื่อสกุล (generic name) ชื่อชนิด (specific name) ชื่อคนตั้ง (author name)



(ข4) ไม้ต้น หมายถึง พืชที่มีลำต้นเดี่ยว เนื้อไม้แข็ง และมีการแตกกิ่งก้านสาขาด้านบนของลำต้น ซึ่งมีขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



ยินดีต้อนรับ