หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

กู้ภัยบนต้นไม้

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-HVLT-140A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ กู้ภัยบนต้นไม้

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6210 ผู้ปฏิบัติงานด้านการป่าไม้และงานที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการกู้ภัยบนต้นไม้ โดยต้องสามารถอธิบายขั้นตอนในการปฏิบัติงานกับกระแสไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ปฏิบัติการกู้ภัยบนต้นไม้ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และสื่อสารกับผู้ประสบเหตุในกรณีฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 255410.2 กฎกระทรวงกำาหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำาเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.3 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็นตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 256410.4 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10106.1 ปฏิบัติงานกับกระแสไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

1. ระบุความเสี่ยงอันตรายจากการกู้ภัยที่เกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้า

10106.1.01 174226
10106.1 ปฏิบัติงานกับกระแสไฟฟ้าอย่างปลอดภัย

2. เลือกใช้วิธีการกู้ภัยที่เหมาะสมในกรณีที่เกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้า

10106.1.02 174227
10106.2 ปฏิบัติการกู้ภัยบนต้นไม้

1. อธิบายถึงหลักการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอันตรายบนต้นไม้

10106.2.01 174228
10106.2 ปฏิบัติการกู้ภัยบนต้นไม้

2. อธิบายวิธีเลือกใช้อุปกรณ์ในการการกู้ภัยบนต้นไม้

10106.2.02 174229
10106.2 ปฏิบัติการกู้ภัยบนต้นไม้

3. อธิบายการเลือกใช้วิธีกู้ภัยบนต้นไม้ที่เหมาะสม และปลอดภัย

10106.2.03 174230
10106.2 ปฏิบัติการกู้ภัยบนต้นไม้

4. สื่อสารกับผู้ร่วมการช่วยเหลือภาคพื้นดินได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

10106.2.04 174231
10106.3 ปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. อธิบายถึงขั้นตอนและหลักการการปฐมพยาบาล (First aid) เบื้องต้นเมื่อผู้ประสบเหตุอยู่บนต้นไม้ และหลังจากนำลงมาที่พื้น

10106.3.01 174232
10106.3 ปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2. เลือกใช้วิธีการปฐมพยาบาลที่เหมาะสม 10106.3.02 174233
10106.3 ปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3. เลือกใช้อุปกรณ์ในการปฐมพยาบาลที่เหมาะสม และปลอดภัย 10106.3.03 174234
10106.4 สื่อสารกับผู้ประสบเหตุในกรณีฉุกเฉิน

1. สื่อสารกับผู้บาดเจ็บได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

10106.4.01 174235
10106.4 สื่อสารกับผู้ประสบเหตุในกรณีฉุกเฉิน

2. สื่อสารกับรถพยาบาลเพื่อลำเลียงผู้บาดเจ็บได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

10106.4.02 174236

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการทำงานอย่างปลอดภัย



(ก2) ทักษะในการปฏิบัติงานกับกระแสไฟฟ้า



(ก3) ทักษะในการปฏิบัติการกู้ภัยบนต้นไม้



(ก4) ทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น



(ก5) ทักษะในการสื่อสารกับผู้ประสบเหตุในกรณีฉุกเฉิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับการทำงานอย่างปลอดภัย



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับกระแสไฟฟ้า



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการกู้ภัยบนต้นไม้



(ข4) ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น



(ข5) ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารกับผู้ประสบเหตุในกรณีฉุกเฉิน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ กู้ภัยบนต้นไม้ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน คือ การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงาน กู้ภัยบนต้นไม้ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการปฏิบัติงานกับกระแสไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ปฏิบัติการกู้ภัยบนต้นไม้ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนสื่อสารกับผู้ประสบเหตุในกรณีฉุกเฉินได้



(ก) คำแนะนำ



(ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานกับกระแสไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ปฏิบัติการกู้ภัยบนต้นไม้ ปฐมพยาบาลเบื้องต้น และสื่อสารกับผู้ประสบเหตุในกรณีฉุกเฉินได้



(ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) การกู้ภัยบนต้นไม้ หมายถึง การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ประสบเหตุบนต้นไม้ให้ลงมาสู่พื้นอย่างปลอดภัย



(ข2) ปฐมพยาบาลเบื้องต้น หมายถึง การให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บทันที ณ บริเวณเกิดเหตุ อาจเป็นการใช้ทักษะความรู้เฉพาะทางหรือการตัดสินใจที่เหมาะสมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการช่วยเหลืออาจใช้เพียงอุปกรณ์เท่าที่หาได้ในขณะนั้น เพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์



(ข3) สื่อสารกับผู้ประสบเหตุ หมายถึง การสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลจากผู้บาดเจ็บอย่างเพียงพอในการประเมินสถานการณ์ วิธีการช่วยเหลือ และการร้องขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมอื่น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



ยินดีต้อนรับ