หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการใช้เลื่อยยนต์

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-TUAO-139A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการใช้เลื่อยยนต์

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6210 ผู้ปฏิบัติงานด้านการป่าไม้และงานที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการควบคุมการใช้เลื่อยยนต์ โดยต้องสามารถอธิบายขั้นตอนในการตรวจสอบเลื่อยยนต์ ประเมินความเสี่ยงอันตรายในการใช้เลื่อยยนต์ และบำรุงรักษาเลื่อยยนต์ได้อย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 พระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 254510.2 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็นตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 256410.3 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10105.1 ตรวจสอบเลื่อยยนต์

1. ระบุคุณลักษณะ (Characters) ของเลื่อยยนต์แต่ละประเภท

10105.1.01 174217
10105.1 ตรวจสอบเลื่อยยนต์

2. ระบุองค์ประกอบที่สำคัญของเลื่อยยนต์  

10105.1.02 174218
10105.1 ตรวจสอบเลื่อยยนต์
   3. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเลื่อยยนต์ก่อนและหลังการปฏิบัติงาน
10105.1.03 174219
10105.1 ตรวจสอบเลื่อยยนต์ 4. ระบุถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเลื่อยยนต์ 10105.1.04 174220
10105.2

ประเมินความเสี่ยงอันตรายในการใช้เลื่อยยนต์

1. จำแนกปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงอันตรายระหว่างการปฏิบัติงาน 10105.2.01 174221
10105.2

ประเมินความเสี่ยงอันตรายในการใช้เลื่อยยนต์

2. เลือกใช้เลื่อยยนต์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน 10105.2.02 174222
10105.2

ประเมินความเสี่ยงอันตรายในการใช้เลื่อยยนต์

3. ระบุความเสี่ยงอันตรายเบื้องต้นจากการใช้เลื่อยยนต์ 10105.2.03 174223
10105.3 บำรุงรักษาเลื่อยยนต์

1. บำรุงรักษาเลื่อยยนต์ตามคู่มือการใช้งา

10105.3.01 174224
10105.3 บำรุงรักษาเลื่อยยนต์

2. แก้ไขปัญหาเบื้องต้นของเลื่อยยนต์ได้

10105.3.02 174225

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการทำงานอย่างปลอดภัย



(ก2) ทักษะในการตรวจสอบเลื่อยยนต์



(ก3) ทักษะในการจำแนกปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงอันตรายระหว่างการปฏิบัติงาน



(ก4) ทักษะในการเลือกใช้เลื่อยยนต์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน



(ก5) ทักษะในการบำรุงรักษาเลื่อยยนต์



(ก6) ทักษะในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของเลื่อยยนต์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับการทำงานอย่างปลอดภัย



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบเลื่อยยนต์



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงอันตรายระหว่างการปฏิบัติงาน



(ข4) ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้เลื่อยยนต์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน



(ข5) ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเลื่อยยนต์



(ข6) ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของเลื่อยยนต์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ ควบคุมการใช้เลื่อยยนต์ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน คือ การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงาน ควบคุมการใช้เลื่อยยนต์ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจสอบเลื่อยยนต์  ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเลื่อยยนต์ก่อนและหลังการปฏิบัติงาน ระบุถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเลื่อยยนต์ จำแนกปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงอันตรายระหว่างการปฏิบัติงาน เลือกใช้เลื่อยยนต์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน บำรุงรักษาเลื่อยยนต์ตามคู่มือการใช้งาน ตลอดจนแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของเลื่อยยนต์ได้



(ก) คำแนะนำ



(ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนในการตรวจสอบเลื่อยยนต์ ประเมินความเสี่ยงอันตรายในการใช้เลื่อยยนต์ และการบำรุงรักษาเลื่อยยนต์



(ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) อันตรายในการใช้เลื่อยยนต์ หมายถึง อุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้งานเลื่อยยนต์ เช่น การตีกลับ (Kick back) การสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรืออันตรายถึงชีวิต



(ข2) บำรุงรักษาเลื่อยยนต์ หมายถึง การตรวจสอบเลื่อยยนต์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอและมีความปลอดภัยในระหว่างใช้งาน เช่น การลับโซ่เลื่อย การทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆของเลื่อยยนต์ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



ยินดีต้อนรับ