หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานบนต้นไม้

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-QPOE-138A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานบนต้นไม้

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6210 ผู้ปฏิบัติงานด้านการป่าไม้และงานที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานบนต้นไม้ โดยสามารถทรงตัวบนต้นไม้ และเคลื่อนที่บนต้นไม้ได้อย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็นตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 256410.2 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10104.1 ทรงตัวบนต้นไม้ 1. ตรวจสอบอุปกรณ์ปีนต้นไม้ให้เกิดความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน 10104.1.01 174211
10104.1 ทรงตัวบนต้นไม้ 2. ตรวจสอบสภาพต้นไม้ขณะปฏิบัติงาน 10104.1.02 174212
10104.1 ทรงตัวบนต้นไม้
   3. ใช้อุปกรณ์ปีนต้นไม้ขณะปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
10104.1.03 174213
10104.1 ทรงตัวบนต้นไม้ 4. ทรงตัวบนต้นไม้ได้อย่างปลอดภัย 10104.1.04 174214
10104.2 เคลื่อนที่บนต้นไม้ 1. ใช้เชือกกันตก (Lanyards) ขณะปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย 10104.2.01 174215
10104.2 เคลื่อนที่บนต้นไม้

2. เคลื่อนที่ไปบนกิ่งไม้ (Limb walking) ได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย

10104.2.02 174216

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการทำงานอย่างปลอดภัย



(ก2) ทักษะในการตรวจสอบอุปกรณ์ปีนต้นไม้



(ก3) ทักษะในการตรวจสอบสภาพต้นไม้



(ก4) ทักษะในการทรงตัวบนต้นไม้



(ก5) ทักษะในการเคลื่อนที่บนต้นไม้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับการทำงานอย่างปลอดภัย



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบอุปกรณ์ปีนต้นไม้



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพต้นไม้



(ข4) ความรู้เกี่ยวกับการทรงตัวบนต้นไม้



(ข5) ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่บนต้นไม้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ ปฏิบัติงานบนต้นไม้ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานบนต้นไม้ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจสอบพื้นที่และต้นไม้ ขึ้นต้นไม้และลงจากต้นไม้



(ก) คำแนะนำ



(ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้



(ก1.1) ต้องสามารถอธิบายถึงขั้นตอนในทรงตัวบนต้นไม้และเคลื่อนที่บนต้นไม้ได้



(ก1.2) ต้องสามารถเคลื่อนที่ไปบนกิ่งไม้ (Limb walking) ได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย ไปยังสถานีแรกที่ถูกกำหนดตำแหน่งไว้โดยการแขวนระฆัง หรือกระดิ่งไว้บนกิ่ง ผู้เข้ารับการประเมินต้องแสดงการติดตั้งเชือกกันตก และแสดงการทรงตัวอย่างสมดุล โดยใช้ทั้ง 2 มือจับที่ด้ามของเลื่อยมือเพื่อทำการตีระฆัง หรือกระดิ่ง



(ก1.3) ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องเคลื่อนที่ไปบนกิ่งไม้ (Limb walking) ได้อย่าง ถูกต้อง และปลอดภัย ไปยังสถานีถัดไปที่ถูกกำหนดตำแหน่งไว้โดยการแขวนระฆัง หรือกระดิ่งไว้บนกิ่ง ผู้เข้ารับการประเมินต้องแสดงการติดตั้งเชือกกันตก และแสดงการทรงตัวอย่างสมดุล ก่อนที่จะทำการร้องขอเลื่อยต่อด้ามจากเจ้าหน้าที่สอบที่จะส่งเลื่อยต่อด้ามขึ้นไปจากพื้น ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงการใช้มือทั้ง 2 ข้างจับเลื่อยต่อด้ามเพื่อตีระฆัง หรือกระดิ่ง หลังจากนั้นผู้เข้ารับการประเมินจะต้องส่งเลื่อยต่อด้ามกลับลงสู่พื้นด้วยวิธีการที่เหมาะสม และปลอดภัย



(ก1.4) ต้องสามารถตรวจสอบความยาวเชือกที่เพียงพอที่จะลงสู่พื้นได้ และส่วนปลายของเชือกต้องมีเงื่อน stopper โดยที่ผู้เข้ารับการประเมินสามารถลงจากต้นไม้ได้ด้วยความปลอดภัย



(ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) เชือกกันตก (Lanyards) หมายถึง เชือกเส้นที่ 2 ใช้ร่วมกับเชือกปีนหลักเส้นที่ 1 เพื่อป้องกันอุบัติเหตุหากเชือกหลักไม่สามารถรองรับน้ำหนักของผู้ปีนได้



(ข2) เคลื่อนที่ไปบนกิ่งไม้ (Limb walking) หมายถึง การเคลื่อนที่ด้วยระบบเชือกไปบนกิ่งไม้ในแนวขนานกับพื้นดินเพื่อปฏิบัติงานด้านรุกขกรรมต่าง ๆ



(ข3) อุปกรณ์ปีนต้นไม้ หมายถึง อุปกรณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการปีนต้นไม้เพื่อปฏิบัติงานด้านรุกขกรรม เช่น



 


 



















































ลำดับ



รายการ



1



กางเกงนิรภัยสำหรับปีนต้นไม้, ฮาร์เนสส์ (tree climbing harness)



2



เชือก (rope) ปีนต้นไม้ ถักควั่น 16-24 เส้น (16-24 strand rope) ขึ้นไป เส้นผ่านศูนย์กลาง 11.0 – 12.6 มิลลิเมตร



3



คาราบิเนอร์ (carabiner) ที่มีความแข็งแรงต่ำสุดของการเสียหาย (MBS) ไม่น้อยกว่า 23 kN และประตู (gate) ปิดเปิด ตั้งแต่ 2 จังหวะขึ้นไป



4



เชือกสร้างแรงเสียดทาน (friction cord)



5



หมวกนิรภัย (helmet) พร้อมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา (eye protection)



6



เชือกกันตก (แลนยาร์ด, landyard) ที่ประกอบด้วย



     -เชือกสร้างแรงเสียดทาน (friction cord)



     -คาราบิเนอร์ (carabiner)



     -รอกเดี่ยว (single sheave pulley)



7



รอกเดี่ยว (micro pulley)



8



เชือกนำ (throw line) และถุงโยน (throw bag)



9



เลื่อยตัดกิ่ง (pruning saw)



10



เลื่อยต่อด้าม (pole saw)



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



18.2 สอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ