หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปีนต้นไม้

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-XMDA-137A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปีนต้นไม้

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6210 ผู้ปฏิบัติงานด้านการป่าไม้และงานที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปีนต้นไม้ โดยสามารถตรวจสอบพื้นที่และต้นไม้ ขึ้นและลงจากต้นไม้ได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็นตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 256410.2 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10103.1 ตรวจสอบพื้นที่และต้นไม้ 1. อธิบายลักษณะของต้นไม้ที่มีความเสี่ยงอันตราย  10103.1.01 174201
10103.1 ตรวจสอบพื้นที่และต้นไม้ 2. จำแนกความเสี่ยงอันตรายที่ปรากฏในพื้นที่ปฏิบัติงาน 10103.1.02 174202
10103.1 ตรวจสอบพื้นที่และต้นไม้ 3. ระบุวิธีจัดการพื้นที่ และต้นไม้ให้เกิดความปลอดภัยได้ 10103.1.03 174203
10103.1 ตรวจสอบพื้นที่และต้นไม้

4. สื่อสารกับผู้ร่วมงานถึงผลของการตรวจสอบพื้นที่ และต้นไม้

10103.1.04 174204
10103.2 ขึ้นต้นไม้ 1. ติดตั้งอุปกรณ์ปีนต้นไม้ได้อย่างถูกต้อง 10103.2.01 174205
10103.2 ขึ้นต้นไม้ 2. ปีนขึ้นต้นไม้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และปลอดภัย 10103.2.02 174206
10103.3 ลงจากต้นไม้ 1. ปีนลงจากต้นไม้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และปลอดภัย 10103.3.01 174207
10103.3 ลงจากต้นไม้ 2. ปลดอุปกรณ์ปีนต้นไม้ได้อย่างถูกต้อง 10103.3.02 174208

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการทำงานอย่างปลอดภัย



(ก2) ทักษะในการจำแนกความเสี่ยงอันตรายที่ปรากฏในพื้นที่ปฏิบัติงาน



(ก3) ทักษะในการติดตั้งอุปกรณ์ปีนต้นไม้



(ก4) ทักษะในการขึ้นและลงจากต้นไม้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับการทำงานอย่างปลอดภัย



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกความเสี่ยงอันตรายที่ปรากฏในพื้นที่ปฏิบัติงาน



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์ปีนต้นไม้



(ข4) ความรู้เกี่ยวกับการขึ้นและลงต้นไม้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ ปีนต้นไม้ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงาน ปีนต้นไม้ ที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจสอบพื้นที่และต้นไม้ ขึ้นต้นไม้และลงจากต้นไม้



(ก) คำแนะนำ



(ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้



(ก1.1) ต้องสามารถอธิบายการตรวจสอบความปลอดภัยของต้นไม้ และพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยผู้เข้ารับการประเมินต้องแสดงการตรวจสอบเป้าหมายต่าง ๆ ที่อาจเกิดความเสียหาย สายไฟฟ้า ตลอดจนระบุวิธีจัดการพื้นที่ และต้นไม้ให้เกิดความปลอดภัยได้



(ก1.2) ต้องสามารถแสดงตัวอย่างของการติดตั้งอุปกรณ์ด้วยวิธีการที่จะใช้ และการอยู่บนเชือก (on rope test) ด้วยวิธีการที่ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถวางเท้าทั้งสองข้างบนต้นไม้ และปล่อยมือทั้งสองข้างจากเชือกได้



(ก1.3) ต้องสามารถติดตั้งเชือกปีนหลักในตำแหน่งที่กำหนดได้



(ก1.4) ต้องสามารถแสดงการขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น และต้องสามารถติดตั้งเชือกในตำแหน่งสุดท้ายที่กำหนดให้ (final tie-in) โดยสามารถเปลี่ยนตำแหน่งพาดเชือกหลักกี่ครั้งก็ได้ ในขั้นตอนนี้จะต้องมีการใช้เชือกกันตก (lanyards) เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้ารับการประเมิน



(ก1.5) ต้องแสดงการผูกเงื่อนกันการเลื่อนไหล (stopper) ที่ปลายเชือก หลังผู้เข้ารับการประเมินติดตั้งเชือกในตำแหน่งสุดท้ายที่กำหนดแล้ว



(ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) ต้นไม้ที่มีความเสี่ยงอันตราย หมายถึง ต้นไม้ที่มีโอกาสเป็นสาเหตุของอันตรายที่สร้างผลกระทบต่อชีวิต หรือทรัพย์สินของมนุษย์



(ข2) การจำแนกความเสี่ยงอันตราย หมายถึง การระบุถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นโดยมีต้นไม้เป็นต้นเหตุได้



(ข3) วิธีจัดการพื้นที่ หมายถึง  การดำเนินการใด ๆ ที่ทำให้พื้นที่มีความปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานบนต้นไม้ได้



(ข4) อุปกรณ์ปีนต้นไม้ หมายถึง อุปกรณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการปีนต้นไม้เพื่อปฏิบัติงานด้านรุกขกรรม เช่น



 


 



















































ลำดับ



รายการ



1



กางเกงนิรภัยสำหรับปีนต้นไม้, ฮาร์เนสส์ (tree climbing harness)



2



เชือก (rope) ปีนต้นไม้ ถักควั่น 16-24 เส้น (16-24 strand rope) ขึ้นไป เส้นผ่านศูนย์กลาง 11.0 – 12.6 มิลลิเมตร



3



คาราบิเนอร์ (carabiner) ที่มีความแข็งแรงต่ำสุดของการเสียหาย (MBS) ไม่น้อยกว่า 23 kN และประตู (gate) ปิดเปิด ตั้งแต่ 2 จังหวะขึ้นไป



4



เชือกสร้างแรงเสียดทาน (friction cord)



5



หมวกนิรภัย (helmet) พร้อมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา (eye protection)



6



เชือกกันตก (แลนยาร์ด, landyard) ที่ประกอบด้วย



     -เชือกสร้างแรงเสียดทาน (friction cord)



     -คาราบิเนอร์ (carabiner)



     -รอกเดี่ยว (single sheave pulley)



7



รอกเดี่ยว (micro pulley)



8



เชือกนำ (throw line) และถุงโยน (throw bag)



9



เลื่อยตัดกิ่ง (pruning saw)



10



เลื่อยต่อด้าม (pole saw)



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



18.2 สอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ