หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ผูกเงื่อน

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-GVLR-136A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ผูกเงื่อน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

6210 ผู้ปฏิบัติงานด้านการป่าไม้และงานที่เกี่ยวข้อง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการผูกเงื่อน โดยสามารถอธิบายขั้นตอนในการจำแนกประเภทของเงื่อนและมัดเงื่อนได้อย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว สาขาการจัดการดูแลต้นไม้ อาชีพผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็นตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 256410.2 ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10102.1

จำแนกประเภทของเงื่อน

1. ระบุคุณลักษณะ (Characters) ของเงื่อนแต่ละชนิด  10102.1.01 174196
10102.1

จำแนกประเภทของเงื่อน

2. ระบุประเภทและชนิดของเงื่อนที่เหมาะสมกับการปีนต้นไม้ 10102.1.02 174197
10102.1

จำแนกประเภทของเงื่อน

3. อธิบายวิธีการใช้เงื่อนที่เหมาะสม 10102.1.03 174198
10102.2

มัดเงื่อน

1. มัดเงื่อนแต่ละชนิดที่จำเป็นในการปีนต้นไม้ได้อย่างถูกต้อง  10102.2.01 174199
10102.2

มัดเงื่อน

2. ตรวจสอบความสมบูรณ์และความปลอดภัยของเงื่อนเชือก

10102.2.02 174200

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก1) ทักษะในการทำงานอย่างปลอดภัย



(ก2) ทักษะในการจำแนกประเภทของเงื่อน



(ก3) ทักษะในการใช้เงื่อน



(ก4) ทักษะในการมัดเงื่อนแต่ละชนิด



(ก5) ทักษะในการตรวจสอบความสมบูรณ์และความปลอดภัยของเงื่อน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข1) ความรู้เกี่ยวกับการทำงานอย่างปลอดภัย



(ข2) ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกประเภทของเงื่อน



(ข3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้เงื่อน



(ข4) ความรู้เกี่ยวกับการมัดเงื่อนแต่ละชนิด



(ข5) ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความสมบูรณ์และความปลอดภัยของเงื่อน



 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การ ปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



(ก1) หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



(ก2) แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ



(ก3) แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ



(ก4) หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



(ข1) ใบรับรองผลการศึกษา (ถ้ามี) หรือ



(ข2) ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน  



เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ ผูกเงื่อน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ



(ง) วิธีการประเมิน



พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน ได้แก่ การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงาน ผูกเงื่อน ที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนจำแนกประเภทของเงื่อน วิธีการใช้เงื่อนที่เหมาะสม การมัดเงื่อนแต่ละชนิดที่จำเป็นในการปีนต้นไม้ได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนการตรวจสอบความสมบูรณ์และความปลอดภัยของเงื่อนเชือก 



(ก) คำแนะนำ



(ก1) สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถมัดเงื่อนที่จำเป็นในการปฏิบัติงานบนต้นไม้ จำแนกประเภทของเงื่อน และสามารถอธิบายคุณสมบัติและวัตถุประสงค์ของการนำเงื่อนนั้นไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง



(ก2) สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



(ข1) เงื่อนเชือก หมายถึง เชือกที่ถูกผูกด้วยรูปแบบ หรือวิธีการที่เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบที่แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน



(ข2) เงื่อนที่เหมาะสม หมายถึง ชนิดของเงื่อนที่เหมาะสมวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น















































































ชื่อเงื่อน



รูปภาพ



คุณสมบัติ และวัตถุประสงค์ของการใช้งาน



เบล์คฮิทซ์



(Blake’s hitch)





-สามารถสร้างแรงเสียดทานในเชือกขนาดเท่ากัน



-เหมาะกับการปีนด้วยระบบเชือกเคลื่อนที่ (MRS)



-มีความแข็งแรง



-คลายเงื่อนได้ง่าย



ดิสเทล



(Distel)





-ใช้สร้างแรงเสียดทานได้ดี



-ประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย



-ผูกและคลายเงื่อนได้ง่าย



พรูสิค



(Prusik hitch)



 





-ใช้สร้างแรงเสียดทานได้ดี



-เชือกที่ใช้มัดเงื่อนควรมีขนาดเล็กกว่าเชือกหลัก



-เหมาะกับการปีนด้วยระบบเชือกเคลื่อนที่ (MRS)



แวโดเทน



(Vodotain Tresse: VT)



 





-ใช้สร้างแรงเสียดทานได้ดี



-ประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย



-ผูกและคลายเงื่อนได้ง่าย



เงื่อนผูกวัว,



คาวฮิทซ์



(Cow hitch)



 





 



-เป็นเชือกสำหรับคล้องเชือกเข้ากับสิ่งของหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ



-ผูกและคลายเงื่อนได้ง่าย



เงื่อนผูกซุง,



ทิมเบอร์ ฮิทซ์



(Timber hitch)



 





 



 



 



-เหมาะสำหรับใช้ยึดโยงกิ่งไม้ที่ตัดหรือเป็นจุดยึดเพื่อติดตั้งอุปกรณ์



-มีความแข็งแรงเมื่อเชือกรับน้ำหนัก



-ผูกและคลายเงื่อนได้ง่ายแม้ผ่านการรับน้ำหนักมาก



เงื่อนมัดสมอ,



แองเคอร์ฮิทซ์



(Anchor hitch)



 





-ใช้มัดกิ่งในการยึดโยง หรือใช้มัดอุปกรณ์และสิ่งของต่าง ๆ



-ผูกและคลายเงื่อนได้ง่าย



-มีความแข็งแรงสูง



เงื่อนหัวล้านชนกัน



(Double fisherman’s bend)



 





-ใช้สำหรับต่อเชือกที่มีขนาดเท่ากัน



เงื่อนตะกรุดเบ็ด,



โคล์ฟฮิทซ์



(Clove hitch)



 





-เหมาะกับการผูกกับกิ่งไม้ในการลำเลียงกิ่งหรือการมัดกับอุปกรณ์ต่าง ๆ



-สามารถผูกได้ทั้งกลางเชือกและปลายเชือก



-ผูกและคลายเชือกได้ง่าย มีความเสถีนรเมื่อเชือกรับน้ำหนัก



เงื่อนบ่วงสายธนู, โบว์ไลน์



(Bowline)



 





-สามารถใช้สร้างบ่วงคล้องกิ่ง ลำต้น หรือวัตถุที่ต้องการ



-มีความแข็งแรงสูง ผูกง่าย และคลายเงื่อนง่าย



-สามารถผูกเงื่อนด้วยมือข้างเดียว ในกรณที่ผู้ปีนเกิดอุบัติเหตุที่มืออีกข้างหนึ่ง



เงื่อนขัดสมาธิ,



ชีตแบนด์



(Sheet bend)



 





-ใช้ต่อเชือก 2 เส้นเข้าด้วยกัน



-มีความแข็งแรง ผูกและคลายเงื่อนได้ง่าย



ควิคฮิทซ์



(Quick hitch)



 





 



-สามารถใช้ในการส่งเชือกเส้นที่สอง ให้กับผู้ปฏิบัติงานบนต้นไม้ได้อย่างรวดเร็ว



-ผูกและคลายเงื่อนได้ง่าย



เงื่อนผีเสื้อ,



อัลไพน์บัตเตอร์-ฟลาย



(Alpine butterfly knot)





-เป็นเงื่อนอเนกประสงค์ใช้งานได้หลากหลาย



-มีความเสถียร แข็งแรง และคลายเงื่อนได้ง่ายแม้ผ่านการรับน้ำหนักมาก



-เป็นเงื่อนสำหรับสร้างบ่วงขึ้นกลางเชือก (midline loop)



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 สอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก



18.2 สอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ