หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการแจ้งข้อมูลสินค้าที่มีใบอนุญาตผ่านระบบ NSW (National Single Window)

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-CSFI-672A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการแจ้งข้อมูลสินค้าที่มีใบอนุญาตผ่านระบบ NSW (National Single Window)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ปฏิบัติพิธีการและตรวจปล่อยสินค้า) ระดับ 4



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติพิธีการและตรวจปล่อยสินค้า ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานยื่นคำร้องขออนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามการขออนุญาตส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ระเบียบการผ่านพิธีการศุลกากรการนำเข้าสินค้า

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03311

ยื่นคำร้องขออนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1. บันทึกคำร้องขออนุญาตนำเข้าสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามรายละเอียดที่กำหนด

03311.01 173185
03311

ยื่นคำร้องขออนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. ตรวจสอบความถูกต้องของคำร้องขออนุญาตนำเข้า

03311.02 173186
03312

ติดตามการขออนุญาตส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขออนุญาตส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดน

03312.01 173187
03312

ติดตามการขออนุญาตส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. ตรวจสอบการขออนุญาตส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดน อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด

03312.02 173188

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานยื่นคำร้องขออนุญาตผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     1.1 สามารถบันทึกคำร้องขออนุญาตนำเข้าสินค้ากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามรายละเอียดที่กำหนด

     1.2 สามารถตรวจสอบความถูกต้องของคำร้องขออนุญาตนำเข้า

2. ปฏิบัติงานติดตามการขออนุญาตส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

     2.1 สามารถประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขออนุญาตส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดน

     2.2 สามารถตรวจสอบการขออนุญาตส่งออก-นำเข้าและสินค้าผ่านแดน อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การจัดทำเอกสารการรับมอบสินค้านำเข้า

2. การวิเคราะห์ประเภทการขนส่งสินค้า

3. คุณสมบัติเฉพาะของสินค้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. เอกสารการใช้ระบบ NSW

      2. เอกสารการคำร้องของแต่ละหน่วยงาน

      3. เอกสารประกอบรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าแต่ละประเภท

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. คำร้องการขอนุญาติที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ 

      2. การใช้ระบบ NSW 

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

       ประเมินเกี่ยวกับการชำระภาษีอาการสำหรับการนำเข้าสินค้า

(ง)  วิธีการประเมิน

      1. พิจารณาหลักฐานความรู้        

      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำเอกสารการจัดทำเอกสารการชำระภาษีนำเข้าตามข้อกำหนดและตรวจสอบเอกสารการชำระภาษีนำเข้าตามขั้นตอนการปฏิบัติ

      2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องบันทึกข้อมูลรายการสินค้าการชำระภาษีแบบ On line ตามระเบียบที่กำหนดและตรวจสอบความถูกต้องของการชำระภาษีอากรตามรายการที่กำหนด



(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

      1. กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการนำเข้าและส่งออกสำหรับสินค้าหลายรายการที่จะต้องขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดในการส่งออกไปต่างประเทศ ได้แก่ หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หรือ Form Certificate of Origin ,Form FTA, Form D เป็นต้น รวมถึงใบอนุญาตส่งออก ได้แก่ ใบอนุญาตส่งออกข้าว,มันสำปะหลัง เป็นต้น และควบคุมการนำเข้าสินค้าที่จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าและหนังสือรับรองการนำเข้า ได้แก่ หนังสือรับรองการนำเข้าสินค้าชา, กาแฟ, กระเทียม, รถยนต์ใช้แล้ว, หิน เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถค้นหาข้อมูลได้จากเว็บไซด์กรม เข้าไปที่บริการข้อมูล-สินค้าที่มีมาตรการนำเข้าส่งออกของไทย หรือสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วน 1385 หรือ โทร 02 547 4771-86



       ส่วนสินค้าที่ใช้ประโยชน์ในงานเกษตรกรรม เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ก็อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้อยู่นั่นคือ กรมวิชาการเกษตรและกรมประมง      

       สินค้าที่นำมาใช้ในบ้านเรือน เช่นเป็นสินค้า อุปโภคบริโภค ยารักษาโรค ก็อาจเกี่ยวข้องกับหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้อยู่ คือสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) 



       ถ้าเป็นสินค้า ที่นำมา ใช้เป็น  วัตถุดิบ หรือส่วนผสมในกระบวนการผลิตในงานอุตสาหกรรมก็จะเกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม หน่วยงานที่ดูแล ก็คือสำนักควบคุมวัตถุอันตราย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีก เช่น กรมยุทธภัณฑ์กระทรวงกลาโหม กรมสรรพสามิต เป็นต้น

       หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป (Ordinary Certificate of Origin) และ 2) หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ (Preferential Certificate of Origin)



                  1. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทั่วไป (Ordinary Certificate of Origin) คือ เอกสารที่ใช้เพื่อยืนยันกับผู้ซื้อว่า สินค้าที่ส่งออกไปนั้นประกอบด้วยวัตถุดิบภายในประเทศ มีการผลิต หรือผ่านขั้นตอนกระบวนการผลิตภายในประเทศไทย แต่ไม่สามารถนำไปขอยกเว้น หรือลดหย่อนภาษีอากรขาเข้าได้

                  2. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบพิเศษ (Preferential Certificate of Origin) คือ เอกสารที่ใช้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้โดยทำให้ผู้ซื้อสามารถมีสิทธิพิเศษทางภาษีอากร ในการนำเข้าสินค้านั้นๆ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขของแต่ละความตกลง ดังนี้

                  2.1) ฟอร์ม A (Certificate of Origin Form A) เป็นหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสำหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษทางการค้า ได้แก่ สหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น แคนาดา นอร์เวย์ บัลแกเรีย โปแลนด์ ฮังการี สาธารณรัฐเชค สาธารณรัฐสโลวัค สหพันธรัฐรัสเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เบลารุส

                  2.2) ฟอร์ม GSTP (Certificate of Origin Form GSTP) เป็นหนังสือรับรองฯ ที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษ ภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (Global System of Trade Preferences : GSTP) ได้แก่ แอลจีเรีย อังโกลา อาร์เจนตินา บังกลาเทศ เบนิน โบลิเวีย บราซิล แคเมอรูน ชิลี โคลัมเบีย คิวบา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เอกวาดอร์ อิยิปต์ กานา กีเนีย กายอานา ไฮติ อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก ลิเบีย มาเลเซีย เม็กซิโก โมร็อคโค โมซัมบิค นิการากัว ไนจีเรีย ปากีสถาน เปรู ฟิลิปปินส์ การ์ตา สาธารณรัฐเกาหลี โรมาเนีย สิงคโปร์ ศรีลังกา ซูดาน แทนซาเนีย ประเทศไทย ตรินิแดดและโตเบโก ตูนิเซีย อุรุกวัย เวเนซูเอล่า เวียดนาม ยูโกสลาเวีย ซาอีร์ และซิมบับเว

                  2.3) ฟอร์ม AISP (Certificate of Origin Form FTA AISP) กัมพูชา ลาว พม่าเป็นผู้ออกฟอร์มนี้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้าประเทศไทย

                  2.4) ฟอร์ม FTA (Certificate of Origin Form FTA) ออกให้สำหรับสินค้านำเข้าที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษีอากรตามเงื่อนไขของข้อตกลงเขตการค้าเสรีซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีเขตการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว 7 เขตการค้าเสรี ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน เขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย เขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ เขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย เขตการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น และเขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น ในการนำเข้าโดยขอใช้สิทธิพิเศษทางภาษีอากรภายใต้เขตการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ ไม่ต้องนำหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดมาแสดงแต่ให้รับรองการได้ถิ่นกำเนิดของสินค้าในบัญชีราคาสินค้า (invoice) หรือเอกสารกำกับสินค้าอื่นใด สำหรับบางเขตการค้าเสรีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าจะมีชื่อเรียกเฉพาะ ดังนี้ เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เรียกว่า ฟอร์ม อี เขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด สินค้า เรียกว่า ฟอร์ม เอเจ เขตการค้าเสรีอาเซียน หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า เรียกว่า ฟอร์ม ดี   



         ฟอร์ม ดี (Form D) คือ หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบดี ที่ยื่นขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีศุลกากร ภายใต้ข้อตกลง CEPT (Common Effective Preferential Tariff) หมายถึงอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน เป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรแก่สินค้าที่นำเข้าระหว่างกันของประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา



          คำอธิบายสำหรับกรอกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบฟอร์ม ดี (FORM D ATIGA)



























































ช่องที่  1



ระบุชื่อ ที่อยู่ ประเทศของผู้ส่งออก ซึ่งจะต้องตรงตามบัตรประจำตัวผู้ส่งออก-นำเข้าสินค้า และถูกต้องตรงกับเอกสารที่ยื่น กรณีที่ต้องระบุทั้งชื่อผู้ส่งออกและผู้กระทำการแทน ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ ประเทศผู้ส่งออก ตามด้วย C/O (Care of) ชื่อ ที่อยู่ของผู้ส่งออกในประเทศ



ช่องที่  2



ระบุชื่อ ที่อยู่ ประเทศของผู้รับปลายทางหรือผู้ซื้อ

ถ้าเป็นงานแสดงสินค้า ระบุชื่องาน และที่อยู่ของสถานที่แสดงสินค้า



ช่องที่ 3



ระบุวิธีการขนส่ง วันส่งออก ชื่อและเที่ยวของยานพาหนะ เมืองท่าที่ใช้ขนสินค้าขึ้นจากยานพาหนะ



ช่องที่ 4



ให้เว้นว่างไว้สำหรับเจ้าหน้าที่



ช่องที่  5



ลำดับที่รายการสินค้า ให้เรียบลำดับ 1-2-3-4 ฯลฯ โดยให้ตรงกับรายการสินค้าแต่ละรายการที่แสดงไว้ในช่อง 7



ช่องที่  6



ระบุเครื่องหมายบนหีบห่อของสินค้า (Sipping Mark)  ถ้าเครื่องหมายยาวมากไม่อาจระบุในช่อง 6  ได้หมดให้ระบุมาเพียง 2-3 บรรทัดแรก  แล้วต่อด้วยหมายเลขใบตราส่งสินค้าและวันที่ เช่น Details  as  per  B/L หรือ AWB หรือ ใบตราส่งอื่นๆ No.………Dated………. ในกรณีที่ไม่มีเครื่องหมายบนหีบห่อให้ระบุคำว่า  Address  หรือ  No  Mark



ช่องที่  7



ระบุชนิดของสินค้าและจำนวนหีบห่อรวมทั้งหมายเลขพิกัดศุลกากร (HS  Number) ของประเทศอาเซียนผู้นำเข้า  การกรอกข้อความมิให้เว้นบรรทัด  เมื่อจบรายการ สินค้าแต่ละรายการแล้ว  หากปรากฏว่ายัง มีช่องว่างในบรรทัด นี้ให้พิมพ์เครื่องหมายดอกจัน (****)  ปิดท้ายไว้และเมื่อจบรายการสินค้าทั้งหมดแล้วให้ขีดเส้นใต้ปิดข้อความบรรทัดสุดท้าย  พร้อมทั้งเส้นทแยงมุมช่องว่างส่วนที่เหลือ



ช่องที่  8



ระบุหลักเกณฑ์ว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าของแต่ละประเทศให้ตรงกับสินค้าแต่ละรายการ ดังนี้

1. ระบุอักษร  "WO” สำหรับสินค้าที่ใช้วัสดุที่ผลิตขึ้นทั้งหมดภายในประเทศ

2. ระบุสัดส่วนของมูลค่าวัสดุ แรงงาน และต้นทุนในประเทศ หรือรวมกับประเทศคู่ภาคี     

    ต้องไม่น้อยกว่า 40%

1.    กรณีใช้กฎการเปลี่ยนพิกัดให้ระบุ "CC” ,"CTH”, "CFSH”

2.    การใช้กฎ Partial Cumulation กรณีส่งวัตถุดิบให้อาเซียนอื่นนำไปสะสม ให้ระบุ "PC ตามด้วยร้อยละของวัตถุดิบที่คำนวณได้สัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 แต่ไม่ถึงร้อยละ 40 เช่น PC 25%”



ช่องที่  9



ระบุน้ำหนัก G.W. และมูลค่า F.O.B  (US$) ของสินค้าที่ส่งออก



ช่องที่  10



ระบุเลขที่และวัน เดือน ปี ของ Invoice



ช่องที่  11



ระบุประเทศนำเข้าปลายทาง  ชื่อจังหวัด  ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของบริษัท / ห้าง / ร้าน  ผู้ส่งออก  (ตรงกับช่อง 1)  วัน  เดือน  ปี  ที่ยื่นขอหนังสือรับรองฯ  พร้อมทั้งเซ็นชื่อ  และประทับตราบริษัท / ห้าง /ร้าน



ช่องที่  12



ให้เว้นว่างไว้สำหรับเจ้าหน้าที่ลงนามรับรอง



ช่องที่  13



หากใช้กฎทางเลือกพิเศษให้ระบุเครื่องหมาย √ ในช่องหน้าข้อความดังนี้ (ยกเว้น Issued Retroactively




 



































- Third Party Invoicing



การใช้ใบกำกับสินค้า (Invoice) ที่มาจากประเทศที่ 3



- Accumulation 



การใช้กฎถิ่นกำเนิดสะสมจากประเทศในกลุ่มอาเซียน



- Back-to-Back C/O



เป็นหนังสือรับรองที่ออกโดยประเทศสมาชิกอาเซียนที่ที่เป็นคนกลาง



- Partial Cumulation



การใช้เป็นกฎ Partial Cumulation กรณีวัตถุดิบมีถิ่นกำเนิดจากสมาชิกอาเซียนสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 แต่ไม่ถึงร้อยละ 40



- Exhibition 



การส่งออกเพื่อนำไปร่วมงานแสดงสินค้า



- De Minimis



การใช้พิกัดสินค้านำเข้าและส่งออกพิกัดเดียวกันไม่เกินร้อยละ 10 ของราคา FOB



- Issued Retroactively



การออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าย้อนหลัง 




    



 



 





 



 



 



 



 



 



 



 



 



           เอกสารที่ใช้เอประกอบการยื่นคำขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางศุลกากร

               - ต้นฉบับหรือสำเนาคู่ฉบับใบกำกับสินค้า (Invoice)

               - ต้นฉบับหรือสำเนาคู่ฉบับใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading, Airway Bill หรือเอกสารการขนส่งอื่นๆ)

               - แบบขอรับการตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดเพื่อขอใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากรสำหรับพิกัด 01-24

               - สินค้าภายใต้พิกัด 25-97 แนบผลการตรวจสอบคุณสมบัติทางด้านถิ่นกำเนิดสินค้า

               - ยกเว้น ฟอร์ม A สินค้าพิกัด 50-63 แนบผลการตรวจสอบคุณสมบัติทางด้านถิ่นกำเนิดสินค้าสิ่งทอ,

                 หนังสือรับรองการผลิตสินค้าสิ่งทอ, หลักฐานการได้มาของวัตถุดิบ

หมายเหตุ : สำหรับสินค้าที่ผลิตโดยวัสดุนำเข้ามีมูลค่าสูง  และ/หรือมีขั้นตอนการผลิตที่สลับซับซ้อน  เช่น  สินค้าภายใต้พิกัด  84-85 ผู้ส่งออกจะต้องยื่น หนังสือรับรองรายละเอียดขั้นตอนการผลิต ต้นทุนและราคาสินค้า (ตามแบบที่กำหนด) ให้ฝ่ายตรวจสอบ กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ ตรวจสอบก่อนการยื่นขอหนังสือรับรองฯสำเนาเอกสารให้ผู้มีอำนาจลงนาม และประทับตรารับรองความถูกต้อง

          2. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด” หมายถึง ความถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน

 



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ