หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตามและรายงานสถานะของสินค้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-SAEL-671A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตามและรายงานสถานะของสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ผ่านพิธีการศุลกากร) ระดับ 3 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานติดต่อผู้ส่งออก-นำเข้าเพื่อแจ้งความคืบหน้าและรายงานผลการดำเนินงาน ดำเนินการจัดทำบันทึกความเสียหาย กรณีที่พบสินค้าเสียหาย พร้อมแจ้งผู้ส่งออก-นำเข้าให้รับทราบไว้เป็นหลักฐาน ติดตามผลการตรวจสอบความเสียหายของสินค้าและใบแจ้งเรียกร้องความเสียหาย ตรวจสอบ รวบรวมเอกสารเพื่อสรุปรายงานค่าใช้จ่าย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ระเบียบการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03241

ติดต่อผู้ส่งออก-นำเข้าเพื่อแจ้งความคืบหน้าและรายงานผลการดำเนินงาน

1. ติดต่อ ประสานงานผู้ส่งออก-นำเข้าเพื่อแจ้งความคืบหน้าสถานะของสินค้า

03241.01 173177
03241

ติดต่อผู้ส่งออก-นำเข้าเพื่อแจ้งความคืบหน้าและรายงานผลการดำเนินงาน

2. รายงานผลการติดตามสถานะของสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03241.02 173178
03242

ดำเนินการจัดทำบันทึกความเสียหาย กรณีที่พบสินค้าเสียหาย พร้อมแจ้งผู้ส่งออก-นำเข้าให้รับทราบไว้เป็นหลักฐาน

1. บันทึกความเสียหายของสินค้า กรณีที่เกิดความเสียหาย ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ

03242.01 173179
03242

ดำเนินการจัดทำบันทึกความเสียหาย กรณีที่พบสินค้าเสียหาย พร้อมแจ้งผู้ส่งออก-นำเข้าให้รับทราบไว้เป็นหลักฐาน

2. ตรวจสอบการจัดทำบันทึกความเสียหายของสินค้า ในกรณีที่เกิดความเสียหาย พร้อมแจ้งผู้ส่งออก-นำเข้าให้รับทราบไว้เป็นหลักฐาน

03242.02 173180
03243

ติดตามผลการตรวจสอบความเสียหายของสินค้าและใบแจ้งเรียกร้องความเสียหาย 

1. ประสานงานเพื่อติดตามและตรวจสอบความเสียหายของสินค้าและใบแจ้งเรียกร้องความเสียหาย

03243.01 173181
03243

ติดตามผลการตรวจสอบความเสียหายของสินค้าและใบแจ้งเรียกร้องความเสียหาย 

2. ตรวจสอบความถูกต้องของใบแจ้งเรียกร้องความเสียหาย

03243.02 173182
03244

ตรวจสอบ รวบรวมเอกสารเพื่อสรุปรายงานค่าใช้จ่าย

1. รวบรวมเอกสารเพื่อสรุปรายงานค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03244.01 173183
03244

ตรวจสอบ รวบรวมเอกสารเพื่อสรุปรายงานค่าใช้จ่าย

2. ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสารสรุปรายงานค่าใช้จ่าย

03244.02 173184

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานติดต่อผู้ส่งออก-นำเข้าเพื่อแจ้งความคืบหน้าและรายงานผลการดำเนินงาน

     1.1 สามารถติดต่อ ประสานงานผู้ส่งออก-นำเข้าเพื่อแจ้งความคืบหน้าสถานะของสินค้า

     1.2 สามารถรายงานผลการติดตามสถานะของสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

2. ปฏิบัติงานดำเนินการจัดทำบันทึกความเสียหาย กรณีที่พบสินค้าเสียหาย พร้อมแจ้งผู้ส่งออก-นำเข้าให้รับทราบไว้เป็นหลักฐาน

     2.1 สามารถบันทึกความเสียหายของสินค้า กรณีที่เกิดความเสียหาย ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ

    2.2 สามารถตรวจสอบการจัดทำบันทึกความเสียหายของสินค้า ในกรณีที่เกิดความเสียหาย พร้อมแจ้งผู้นำเข้าให้รับทราบไว้เป็นหลักฐาน

3. ปฏิบัติงานติดตามผลการตรวจสอบความเสียหายของสินค้าและใบแจ้งเรียกร้องความเสียหาย

    3.1 สามารถประสานงานเพื่อติดตามและตรวจสอบความเสียหายของสินค้าและใบแจ้งเรียกร้องความเสียหาย

    3.2 สามารถตรวจสอบความถูกต้องของใบแจ้งเรียกร้องความเสียหาย

4. ปฏิบัติงานตรวจสอบ รวบรวมเอกสารเพื่อสรุปรายงานค่าใช้จ่าย

     4.1 สามารถรวบรวมเอกสารเพื่อสรุปรายงานค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

     4.2 สามารถตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสารสรุปรายงานค่าใช้จ่าย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ประมวลฯระเบียบพิธีการศุลกากรหมวดพิธีการส่งออก-นำเข้า

2. ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์

3. พิกัดอัตราศุลกากร

4. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า

5. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. เอกสารใบขนสินค้าขาออก-ขาเข้า

      2. เอกสารบันทึกความเสียหายของสินค้า

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. ใบผ่านการอบรมเกี่ยวกับการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรพิกัดอัตราศุลกากร

      2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

      3. เอกสารการนำเสนองานหรือการบรรยายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรพิกัดอัตราศุลกากร

      4. หนังสือ คู่มือ บทความ งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรพิกัดอัตราศุลกากร

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

      ประเมินเกี่ยวกับการใบขนสินค้าขาออก-ขาเข้า

      ประเมินสถานการณ์ตอบรับจากกรมศุลกากร

(ง)  วิธีการประเมิน

      1. พิจารณาหลักฐานความรู้    

      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ

      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบการส่งข้อมูลการส่งออกผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

      2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบการส่งข้อมูลการส่งออกผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

      3. ผู้เข้ารับการประเมินสามรถส่งข้อมูลการนำเข้าผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

      4. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องติดตาม ตรวจสอบ หรือ ปรับแก้ข้อมูลเพื่อให้ได้สถานะตอบรับจากกรมศุลกากร

      5.ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจองยานพาหนะเพื่อส่งออก-นำเข้า

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด    

       การปฏิบัติพิธีการศุลกากร ผู้ได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถปฏิบัติพิธีการได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ของเจ้าของลายมือชื่อผ่านบุคคลที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด (ebXML/XML Format) แทนการจัดทำ ยื่น ส่ง รับ และการลงลายมือชื่อในรูปแบบเอกสาร

1. วิธีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า การส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้ากระทำได้ 4 ช่องทาง ดังนี้

      1. ผู้นำของเข้าส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าด้วยตนเอง

      2. ผู้นำของเข้ามอบหมายให้ตัวแทนออกของ (Customs Broker) เป็นผู้ส่งข้อมูลแทน

      3. ผู้นำของเข้าให้เคาน์เตอร์บริการ (Service Counter) เป็นผู้ส่งข้อมูล

      4. ผู้นำของเข้ายื่นใบขนสินค้าขาเข้าในรูปแบบเอกสาร 

      ผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถปฏิบัติพิธีการได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ของเจ้าของลายมือชื่อผ่านบุคคลที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด (ebXML/XML Format) แทนการจัดทำ ยื่น ส่ง รับ และการลงลายมือชื่อในรูปแบบเอกสาร      

      2. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด” หมายถึง ความถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.3  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.4  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ