หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำใบขนสินค้าขาออกและขาเข้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-GFPP-670A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำใบขนสินค้าขาออกและขาเข้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ผ่านพิธีการศุลกากร) ระดับ 3 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานจัดทำรายละเอียดและบันทึกข้อมูลตามรายละเอียดของเอกสารการนำเข้า ส่งข้อมูลใบขนสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังกรมศุลกากร ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้า ดำเนินการตรวจสอบและจัดเตรียมชุดใบขนสินค้าขาเข้าและเอกสารประกอบ ประสานงานจองรถบรรทุกขนส่งสินค้า ประสานงานจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นรวมถึงแรงงานเพื่อการจัดส่งสินค้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎระเบียบการผ่านพิธีการศุลกากรสินค้านำเข้า 2. กฎระเบียบการขออนุญาตนำเข้าสินค้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. เกณฑ์การคำนวณภาษีอากรสำหรับสินค้าชนิดต่าง ๆ  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03231

จัดทำรายละเอียดและบันทึกข้อมูลตามรายละเอียดของเอกสารการส่งออก-นำเข้า

1. จัดทำรายละเอียดข้อมูลสินค้าในใบขนสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03231.01 173165
03231

จัดทำรายละเอียดและบันทึกข้อมูลตามรายละเอียดของเอกสารการส่งออก-นำเข้า

2. ตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลสินค้าในใบขนสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03231.02 173166
03232

ส่งข้อมูลใบขนสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังกรมศุลกากร

1. จัดเตรียมรายละเอียดของข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังกรมศุลกากร

03232.01 173167
03232

ส่งข้อมูลใบขนสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังกรมศุลกากร

2. ตรวจสอบรายละเอียดของข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามขั้นตอนการปฏิบัติ

03232.02 173168
03233

ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการตรวจปล่อยสินค้าขาออก-ขาเข้า

1. จัดเตรียมเอกสารเพื่อเตรียมการตรวจปล่อยสินค้าได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด 

03233.01 173169
03233

ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการตรวจปล่อยสินค้าขาออก-ขาเข้า

2. ตรวจสอบเอกสารเพื่อเตรียมการตรวจปล่อยสินค้าได้อย่างถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติ

03233.02 173170
03234

ดำเนินการตรวจสอบและจัดเตรียมชุดใบขนสินค้าขาออก-ขาเข้าและเอกสารประกอบ

1. จัดเตรียมใบชุดขนสินค้าและเอกสารประกอบให้ถูกต้องตามวิธีปฏิบัติ

03234.01 173171
03234

ดำเนินการตรวจสอบและจัดเตรียมชุดใบขนสินค้าขาออก-ขาเข้าและเอกสารประกอบ

2. ตรวจสอบชุดใบขนสินค้าและเอกสารประกอบอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด

03234.02 173172
03235

ประสานงานจองรถบรรทุกขนส่งสินค้า

1. ประสานงานกับหน่วยงานการขนส่งเพื่อขนส่งสินค้าได้อย่างถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติ

03235.01 173173
03235

ประสานงานจองรถบรรทุกขนส่งสินค้า

2. จัดทำรายงานการจองพาหนะในการขนส่งสินค้าได้อย่างถูกต้องตามวิธีปฏิบัติ

03235.02 173174
03236

ประสานงานจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นรวมถึงแรงงานเพื่อการจัดส่งสินค้า

1. ติดต่อ ประสานงานจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นและแรงงานเพื่อการจัดส่งสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03236.01 173175
03236

ประสานงานจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นรวมถึงแรงงานเพื่อการจัดส่งสินค้า

2. ตรวจสอบความถูกต้องเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นและแรงงานเพื่อการจัดส่งสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03236.02 173176

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานจัดทำรายละเอียดและบันทึกข้อมูลตามรายละเอียดของเอกสารการส่งออก-นำเข้า

    1.1 สามารถจัดทำรายละเอียดข้อมูลสินค้าในใบขนสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

    1.2 สามารถตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกข้อมูลสินค้าในใบขนสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

2. ปฏิบัติงานส่งข้อมูลใบขนสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังกรมศุลกากร

    2.1 สามารถจัดเตรียมรายละเอียดของข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังกรมศุลกากร

    2.2 สามารถตรวจสอบรายละเอียดของข้อมูลเพื่อจัดทำใบขนสินค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามขั้นตอนการปฏิบัติ

3. ปฏิบัติงานประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการตรวจปล่อยสินค้าขาออก-ขาเข้า

    3.1 สามารถจัดเตรียมเอกสารเพื่อเตรียมการตรวจปล่อยสินค้า ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

    3.2 สามารถตรวจสอบเอกสารเพื่อเตรียมการตรวจปล่อยสินค้า ได้อย่างถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติ

4. ปฏิบัติงานดำเนินการตรวจสอบและจัดเตรียมชุดใบขนสินค้าขาออก-ขาเข้าและเอกสารประกอบ

    4.1 สามารถจัดเตรียมใบชุดขนสินค้าและเอกสารประกอบให้ถูกต้องตามวิธีปฏิบัติ

    4.2 สามารถตรวจสอบชุดใบขนสินค้าและเอกสารประกอบอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

5. ปฏิบัติงานประสานงานจองรถบรรทุกขนส่งสินค้า

    5.1 สามารถประสานงานกับหน่วยงานการขนส่งเพื่อขนส่งสินค้าได้อย่างถูกต้องตามวิธีการปฏิบัติ

    5.2 สามารถตรวจสอบการจองรถบรรทุกขนส่งสินค้าได้อย่างถูกต้องตามวิธีปฏิบัติ

6. ปฏิบัติงานประสานงานจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นรวมถึงแรงงานเพื่อการจัดส่งสินค้า

     6.1 สามารถติดต่อ ประสานงานจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นและแรงงานเพื่อการจัดส่งสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

     6.2 สามารถตรวจสอบความถูกต้องเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นและแรงงานเพื่อการจัดส่งสินค้าอย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การขออนุญาตดำเนินการนำเข้าสินค้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. การบันทึกข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

3. การจ่ายชำระค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ผ่านระบบ e-Payment 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

      1. เอกสารเพื่อทำการขออนุญาต จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าสินค้า

      2. เอกสารที่ผ่านพิธีการนำเข้าในการขออนุญาตนำเข้าสินค้า

      3. ใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการผ่านพิธีการศุลกากร   

      4. ใบเสร็จรับเงินชำระค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ผ่านระบบ e-Payment

      5. ใบจองยานพาหนะในการขนถ่ายสินค้าเพื่อการส่งออก

      6. ใบทำประกันภัยล่วงหน้าสำหรับสินค้าส่งออกตามระเบียบการส่งออก

(ข)  หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ใบผ่านการอบรมการผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้า

     2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

       ประเมินเกี่ยวกับการผ่านพิธีการศุลกากร และตรวจปล่อยสินค้า

(ง)  วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาหลักฐานความรู้    

     2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก)  คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าส่งออกในใบขนสินค้าส่งออกตามระเบียบของกรมศุลกากร

      2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

      3. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งออกสินค้าตามระเบียบศุลกากร

      4. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องดำเนินการจัดเตรียมบรรจุสินค้าตามใบสั่งซื้อของลูกค้าเพื่อการส่งออก 

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด

      1. จัดทำรายละเอียดสินค้า หมายถึง การจัดทำเครื่องหมายและเลขหมายหีบห่อ สำแดงเครื่องหมายเลขหมายหีบห่อให้ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งจะต้องตรงกับใบตราส่งสินค้า 

      2. การจัดทำใบขนสินค้าขาเข้าหมายถึง การจัดทำรายการต่างๆ ในใบขนสินค้าข่าเข้าซึ่งประกอบด้วย 6 ส่วนประกอบด้วย Import Declaration Control, Import Declaration Control (Invoice), Import Declaration Detail, Import Declaration Detail (Duty)  Import Declaration Detail (Permit), Import Declaration Detail (Deposit) การยื่นใบขนสินค้าขาเข้าผู้นำของเข้าต้องจัดทำข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนดและส่งข้อมูลดังกล่าวทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรได้ทำการตอบรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นในการผ่านพิธีการแล้วจะถือเป็นการยื่นเอกสารนั้นๆตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรแล้ว 

      3. การจัดทำใบขนสินค้าขาออกหมายถึง ผู้ได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการทางศุลกากรโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถปฏิบัติพิธีการได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ของเจ้าของลายมือชื่อผ่านบุคคลที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด (ebXML/XML Format) แทนการจัดทำ ยื่น ส่ง รับ และการลงลายมือชื่อในรูปแบบเอกสารรมศุลกากรกำหนดให้ผู้ส่งออกใช้สำหรับพิธีการศุลกากรดังนี้

         1) ใบขนสินค้าขาออก (กศก. 101/1) ใช้สำหรับพิธีการดังนี้ พิธีการใบขนสินค้าขาออกทั่วไป พิธีการส่งออกส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์ พิธีการส่งออกของประเภทส่งเสริมการลงทุน (BOI) พิธีการส่งออกคลังสินค้าทัณฑ์บน พิธีการส่งออกขอชดเชยค้าภาษีอากร พิธีการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ พิธีการใบสุทธินำกลับพิธีการส่งกลับ (Re-Export)

         2) คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน (กศก. 103) ใช้สำหรับพิธีการส่งออกไปก่อนปฏิบัติพิธีการใบขนสินค้าขาออก

         3) ใบขนสินค้าสำหรับนำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว (A.T.A. Carnet) ใช้สำหรับพิธีการส่งออกชั่วคราว

         4) ใบขนสินค้าสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สำหรับพิธีการส่งออกชั่วคราว

    4. เอกสารที่ใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำใบขนสินค้าขาออก

       1)   บัญชีราคาสินค้า (Invoice)

       2)   บัญชีรายละเอียดของที่บรรจุหีบห่อ (Packing List)

       3)   ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใด กรณีที่ของส่งออกเป็นต้องกำกัดตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

       4)   ในกรณีส่งออกเภสัชเคมีภัณฑ์ เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และสินค้าที่ไม่สามารถแยกชนิดและคุณภาพได้โดยง่าย ให้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมดังนี้

            ใบรับรองการวิเคราะห์ของผู้ผลิตสินค้า (Certificate of Analysis) หรือเอกสารรายละเอียดของสินค้า (Specification) หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet) ซึ่งมีรายละเอียดเพียงพอที่จะใช้พิจารณา พร้อมด้วยกรรมวิธีการผลิต (ถ้ามี) และการนำไปใช้ประโยชน์ของสินค้าให้ผู้ส่งออก หรือผู้รับมอบอำนาจ เป็นผู้ลงนามรับรองในเอกสารดังกล่าว

     5. การบรรจุสินค้าหมายถึง การเลือก PACKING (แพคกิ้ง) เพื่อการนำเข้าและส่งออกนั้น ควรพิจารณาจากความเหมาะสมของสินค้าแต่ละชนิดเนื่องจากสินค้าบางชนิดอาจต้องการPACKING (แพคกิ้ง) ที่ป้องกันความเสียหายที่มีมากกว่าสินค้าชนิดอื่นๆ เช่น ความแข็งแรงสูง จนถึง ที่มีความแข็งแรงต่ำ

     6. การประสานงานจองยานพาหนะหมายถึง การจัดเตรียมการในการขนส่งทางเรือทางรถไฟทางรถยนต์คนเดินเข้ามาทางเครื่องบินทางไปรษณีย์ทางท่อขนส่งทางบกทางสายส่งไฟฟ้าทางเรือที่เข้าออกด่านศุลกากรทางบกเรือเล็กทางทะเลที่เข้าออกด่านศุลกากรทางทะเลทางผู้โดยสารนำพาขึ้นอากาศยานเป็นต้นเพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร

     7. ประกันภัย (Insurance) หรือไม่มีเอกสารหลักฐานการจ่ายค่าประกันภัยให้บวกค่าประกันภัยขึ้นอีกร้อยละ 1ของราคา FOB

     วิธีการวางประกัน (Guarantee Method) มีค่าได้ดังต่อไปนี้

     A =  วางประกันที่กรมศุลกากร  H =  วางประกันผ่านธนาคาร  L  =   ไม่มีการวางประกัน

ประเภทการวางประกัน (Guarantee Type) มีค่าได้ดังต่อไปนี้

     C = เงินสด  B = หนังสือธนาคารค้ำประกัน  E = e-Guarantee Deposit  M = หนังสือราชการ

     8. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด” หมายถึง ความถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน





 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

        3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.2  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

        3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.3  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

        3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.4  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

        3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.5  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

        3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

18.6  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลจากการสาธิตการปฏิบัติงาน

        3. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ