หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบ จัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก-นำเข้า

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-OSRX-669A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบ จัดเตรียมเอกสารเพื่อการส่งออก-นำเข้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ผ่านพิธีการศุลกากร) ระดับ 3 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เจ้าหน้าที่ผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานติดตาม ตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการส่งออก-นำเข้าสินค้า ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการรับ-ส่งมอบสินค้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
กฎระเบียบการขออนุญาตเป็นตัวแทนนำของเข้า ส่งของออกตามมาตรฐานสากล 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03221

ติดตาม ตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการส่งออก-นำเข้าสินค้า

1. ตรวจสอบเอกสารเพื่อทำการขออนุญาตส่งออก-นำเข้าสินค้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด    

03221.01 173285
03221

ติดตาม ตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการส่งออก-นำเข้าสินค้า

2. ส่งเอกสารเพื่อทำการขออนุญาตส่งออก-นำเข้าสินค้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด    

03221.02 173286
03222 ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการรับ-ส่งมอบสินค้า

1.  ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการรับ-ส่งมอบและขนส่งสินค้าไปยังผู้รับสินค้าให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด    

03222.01 173287
03222 ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการรับ-ส่งมอบสินค้า

2. ติดตามการรับ-ส่งมอบและขนส่งสินค้าไปยังผู้รับสินค้า

03222.02 173288

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานติดตาม ตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับการส่งออก-นำเข้าสินค้า

     1.1 สามารถตรวจสอบเอกสารเพื่อทำการขออนุญาตส่งออก-นำเข้าสินค้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด      

     1.2 สามารถส่งเอกสารเพื่อทำการขออนุญาตส่งออก-นำเข้าสินค้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด      

2. ปฏิบัติงานประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการรับ-ส่งมอบสินค้า

     2.1 สามารถประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการรับ-ส่งมอบและขนส่งสินค้าไปยังผู้รับสินค้าให้ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด    

     2.1 สามารถติดตามการรับ-ส่งมอบและขนส่งสินค้าไปยังผู้รับสินค้า

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การสั่งซื้อจากผู้ผลิตผู้ขายในต่างประเทศ

2. การจัดทำเอกสารการสั่งซื้อ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. เอกสารการสั่งซื้อจากผู้ผลิตผู้ขายที่ต้นทางต่างประเทศและสั่งซื้อสินค้า

     2. เอกสารการสั่งซื้อเพื่อเตรียมการนำเข้าสินค้า

     3. ตรวจสอบเอกสารใบสั่งซื้อ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

      1. ใบผ่านการอบรมการจัดทำเอกสารส่งออกและนำเข้า

      2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ประเมินเกี่ยวกับการเตรียมการและประสานงานเพื่อการนำเข้าสินค้า 

(ง) วิธีการประเมิน

     1. พิจารณาหลักฐานความรู้    

     2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

 ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำเอกสารการสั่งซื้อจากผู้ผลิตผู้ขายที่ต้นทางต่างประเทศและสั่งซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้อง

      2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องติดตามรวบรวมตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารการสั่งซื้ออย่างถูกต้อง

      3. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบใบสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าเพื่อเตรียมการส่งออกไปยังประเทศปลายทาง

(ข)  คำอธิบายรายละเอียด



      1. เอกสารที่จำเป็นในการยื่นเพื่อดำเนินพิธีการทางศุลกากรเพื่อนำเข้า ประกอบด้วย

         1) ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Entry Declaration)

         2) ใบตราส่งสินค้า (B/L)

         3) บัญชีราคาสินค้า (Invoice)

         4) บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)

         5) ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (License)

         6) ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate Of Origin) กรณีขอลดหรือยกเว้นอัตราอากรขาเข้า

         7) เอกสารอื่น ๆ เช่น แค็ดตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น



       2. ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการ



           ภายใต้ระบบการนำเข้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนที่เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องยื่นเอกสารที่เป็นกระดาษ เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดโอนถ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์จากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้นำเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรด้วยระบบ VAN หรืออินเตอร์เน็ตโดยทั่วไปขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้า สินค้ามี 4 ขั้นตอนดังนี้



           1. การโอนถ่าย และ/หรือ การยื่นข้อมูลใบขนสินค้า : ขั้นตอนแรกของพิธีการนำเข้าคือการสำแดงข้อมูลการนำเข้าและส่งข้อมูลไปยังกรมศุลกากร ให้บริษัทหรือตัวแทนออกของส่งข้อมูลเรือเข้า บัญชีรายการสินค้าและบัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร หากไม่พบข้อผิดพลาด ระบบคอมพิวเตอร์จะตอบกลับไปยังบริษัทหรือตัวแทนนั้นๆ เมื่อสินค้ามาถึงท่าหรือสถานที่นำเข้า ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องส่งข้อมูลใบขนสินค้าไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

           2. การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูล : ขั้นตอนที่ 2 คือการตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้นำเข้ายื่นมา ในขั้นนี้ระบบของกรมฯจะแยกใบขนสินค้าเป็น 2 ประเภทคือ ใบขนฯให้ตรวจ และใบขนฯยกเว้นการตรวจ ผู้นำเข้าสามารถดำเนินการชำระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องได้ทันที หากใบขนฯของตนเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจ

           3. การชำระภาษีอากรขาเข้า : ขั้นตอนที่ 3 คือการชำระภาษีอากรและการวางประกันที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบัน สามารถชำระได้ 3 วิธี: ชำระที่กรมศุลกากร ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์  และชำระที่ธนาคาร

           4. การตรวจและการปล่อยสินค้า : ขั้นตอนสุดท้ายคือการตรวจและปล่อยสินค้าจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำเข้ายื่นใบขนฯ กับใบเสร็จรับเงินที่คลังสินค้าเพื่อการปล่อยสินค้าในขั้นนี้ข้อมูลของสินค้าถูกตรวจสอบ ความถูกต้องโดยละเอียดเพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าวต้องผ่านการเปิดตรวจหรือยกเว้นการตรวจหากเป็นใบขนฯ ยกเว้นการตรวจ จะใช้เวลาน้อยมาก หลังจากนั้นสถานะชองการปล่อยสินค้าจะส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไปทั้งที่ท่าเรือและที่ผู้นำเข้าหรือตัวแทน อย่างไรก็ตามในกรณีที่สินค้าต้องผ่านการตรวจสอบพิธีการ ท่าเรือจะเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนการปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร



    3. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด” หมายถึง ความถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1  เครื่องมือการประเมิน

        1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

        2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

        ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2  เครื่องมือการประเมิน

         1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

         2. แบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

         ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ