หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมเอกสารส่งออก-นำเข้าและการประสานงาน

สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ LOG-ZVGB-667A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมเอกสารส่งออก-นำเข้าและการประสานงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานส่งออก - นำเข้า (ผู้ปฏิบัติงานธุรการส่งออก-นำเข้า) ระดับ 2 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่เจ้าหน้าที่ส่งออกและนำเข้าซึ่งจะต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานรวบรวม จัดเตรียมเอกสารด้านการส่งออก-นำเข้าสินค้า ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ระเบียบการขออนุญาตส่งออกสินค้า  

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03121

รวบรวม จัดเตรียมเอกสารด้านการส่งออก-นำเข้าสินค้า

1. ตรวจสอบเอกสาร รายการสินค้าเพื่อเตรียมการส่งออก-นำเข้าได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03121.01 173153
03121

รวบรวม จัดเตรียมเอกสารด้านการส่งออก-นำเข้าสินค้า

2. จัดเตรียมการส่งออก-นำเข้าตามรายการสินค้าได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด

03121.02 173154
03122

ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

1. จัดเตรียมเอกสารประกอบการส่งออก-นำเข้าได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03122.01 173155
03122

ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. ตรวจสอบการจัดทำเอกสารประกอบการส่งออก-นำเข้าได้อย่าง ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

03122.02 173156

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-ไม่มี-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ปฏิบัติงานรวบรวม จัดเตรียมเอกสารด้านการส่งออก-นำเข้าสินค้า

    1.1 สามารถตรวจสอบเอกสาร รายการสินค้าเพื่อเตรียมการส่งออก-นำเข้าได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

    1.2 สามารถจัดเตรียมการส่งออก-นำเข้าตามรายการสินค้าได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

2. ปฏิบัติงานประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง

    2.1 สามารถจัดเตรียมเอกสารประกอบการส่งออก-นำเข้าได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด

    2.2 สามารถตรวจสอบการจัดทำเอกสารประกอบการส่งออก-นำเข้าได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การขออนุมัติเป็นผู้ส่งออก- นำเข้าตามระเบียบกรมศุลกากรกำหนด

2. ระเบียบปฏิบัติกรมศุลกากร

3. ขั้นตอนการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4. ระเบียบการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับ

เกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ระเบียบปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    2. เอกสารข้อมูลการส่งออก

    3. ใบขนสินค้าส่งออกตามระเบียบกรมศุลกากร

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ใบผ่านการอบรมการจัดทำเอกสารส่งออกและนำเข้า

    2. เอกสารรับรองและผลการประเมินจากหน่วยงาน

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

       ประเมินเกี่ยวกับการเตรียมการและประสานงานเพื่อการส่งออก-นำเข้า

(ง) วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาหลักฐานความรู้

    2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ 

      1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องรวบรวมเอกสารเบื้องต้นเพื่อขอลงทะเบียนขออนุญาตเป็นผู้ส่งออก-นำเข้าตามข้อกำหนด

      2. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบเอกสารคำร้องขออนุมัติเป็นผู้ส่งออก-นำเข้าอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด

      3. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อยื่นคำร้องขอเป็นตัวแทนผู้นำเข้าตามขั้นตอนการปฏิบัติ

      4. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องตรวจสอบเอกสารเบื้องต้นการขออนุมัติเอกสารคำร้องขอเป็นตัวแทนผู้ส่งออก-นำเข้า ตามขั้นตอนการปฏิบัติอย่างถูกต้อง



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



      1. เอกสารที่ต้องจัดเตรียมสำหรับการนำเข้าสินค้าประกอบด้วยเอกสารดังต่อไปนี้

     (1) เอกสารที่ต้องจัดเตรียม มีดังนี้



          1) ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration) 

          2) ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (B/L-Bill of Lading), ทางอากาศ (AWB-Air Way Bill) 

          3) บัญชีราคาสินค้า (Invoice) 

          4) บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List) 

          5) ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (ถ้ามี) (Import License) 

          6) ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร) (Certificates of Origin)

     (2) เอกสารอื่น ๆ เช่น แคตตาล๊อก เอกสารแสดงส่วนผสม



      2. เอกสารที่ต้องจัดเตรียมสำหรับการส่งออกสินค้า 



          1. ใบขนสินค้าขาออก (Export Declaration) 

          2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) 

          3. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก (ถ้ามี) (Export License) 

          4. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ถ้ามี) (Certificates of Origin) 

          5. เอกสารอื่น ๆ เช่น แคตตาล๊อก เอกสารแสดงส่วนผสม



          การจัดทำใบขนสินค้า



          1. จัดทำใบขนสินค้าเพื่อการผ่านแดนตามข้อกำหนดและตรวจสอบใบขนสินค้าเพื่อการผ่านแดนตรวจสอบตามวิธีการปฏิบัติ หมายถึง 



             - ใบขนสินค้าผ่านแดนแต่ละฉบับให้ใช้กับของผ่านแดนที่นำเข้ามาโดยเรือเวลาเดียวกัน และให้ใช้ได้กับเอกสารการขนส่งระหว่างประเทศหรือใบตราส่งที่ระบุเมืองปลายทางต่างประเทศเดียวกันได้หลายฉบับ

             - ให้ผู้ขอผ่านแดนจัดทำผ่านแดนตามโครงสร้างมาตรฐานที่กรมศุลกากรกำหนด และส่งข้อมูลข้อมูลใบขนสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ตามเอกสารแนบท้าย...

             - ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะตรวจสอบความถูกต้องกับแฟ้มข้อมูลอ้างอิงข้อมูลการอนุมัติ/อนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลบัญชีสินค้าสำหรับเรือหรือ อากาศยาน หรือเอกสารการขนส่งระหว่างประเทศ

             - กรณีตรวจพบข้อผิดพลาดในการตรวจสอบความถูกต้องกับแฟ้มข้อมูลอ้างอิงหรือแฟ้มข้อมูลการอนุมัติ/อนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร จะตอบรหัสข้อผิดพลาดกลับไปให้ ผู้ขอผ่านแดนต้องทำการแก้ไขข้อมูลและส่งข้อมูลที่แก้ไขแล้วเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร

              - กรณีไม่พบข้อผิดพลาด ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรจะกำหนดเลขที่ใบขนสินค้าผ่านแดนทางอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 14 หลัก โดยหลักที่ 5 ของเลขที่ใบขนสินค้าผ่านแดน มีค่าเป็น “2” Transit และแจ้งเลขที่ใบขนสินค้าผ่านแดนทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ตอบกลับไปยังผู้ขอผ่านแดนเมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรตอบกลับเลขที่ใบขนสินค้าผ่านแดนทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ขอผ่านแดนทราบ ถือเป็นการยื่นใบขนสินค้าผ่านแดนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับพิธีการศุลกากรแล้ว 



              2. จัดทำเอกสารกำกับการขนย้ายสินค้าผ่านแดนและเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามขั้นตอนการปฏิบัติและเนินการตรวจปล่อยสินค้าเข้าสู่ประเทศไทยตามขั้นตอนการปฏิบัติหมายถึง การยื่นใบขนสินค้าผ่านแดน ต้นฉบับ 1 ฉบับและคู่ฉบับ 4 ฉบับ และใบสั่งปล่อย 1 ฉบับ (ใบสั่งปล่อยใช้ใบขนสินค้าผ่านแดนโดยประทับตราว่า & ldquo;ใบสั่งปล่อย & rdquo; ไว้เบื้องบน) การตรวจสอบน้ำหนักและราคา ให้ใบขนสินค้าผ่านแดนถูกต้องตรงกันกับหลักฐานบัญชีราคาสินค้า เอกสารที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติพิธีการใบขนสินค้าผ่านแดน หลักฐานที่แสดงว่าผู้รับขนส่งเป็นผู้ขนส่งต้นทางซึ่งระบุไว้ในเอกสารการขนส่งระหว่างประเทศหรือใบตราส่ง หรือได้รับมอบหมายจากผู้รับสินค้าปลายทาง เอกสารการขนส่งระหว่างประเทศหรือใบตราส่ง หรือใบตราส่งตลอดทาง (Through Bill of landing) บัญชีราคาสินค้า (INVOICE) เอกสารอื่นที่แสดงท่าต้นทางและปลายทางของสินค้าว่าเป็นต่างประเทศ สำหรับผ่านแดนไปยังประเทศอื่น ๆ ให้ยื่นเอกสารรายละเอียดเส้นทางที่ใช้ในการขนส่งสินค้าผ่านแดนโดยระบุเส้นทางจากท่าหรือที่หรือสนามบินต้นทาง ถึงท่าหรือที่หรือสนามบินปลายทางว่าจะใช้ถนนหมายเลขใด ช่วงใด และระเวลาการขนส่งโดยประมาณ



         เงื่อนไข



         ของผ่านแดนให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรภายใน 30 วัน นับแต่นำของผ่านแดนเข้ามาในราชอาณาจักร เว้นแต่กรณีของผ่านแดนกับประเทศที่มีความตกลง เมื่อครบ 90 วัน ให้เป็นสินค้าผ่านแดนตกค้าง เมื่อหน่วยงานพิธีการตรวจสอบใบขนสินค้าผ่านแดนถูกต้องและตรงกันกับใบตราส่งสินค้าแล้ว จะให้ลงเลขที่ลำดับที่ไว้ในใบขนสินค้าผ่านแดน และเมื่อลงนามรับรองใบขนสินค้าผ่านแดนแล้ว จะมอบต้นฉบับใบขนสินค้าผ่านแดนและสำเนาคู่ฉบับ 1 ฉบับพร้อมเอกสารอื่นให้แก่ผู้ขนส่งผ่านแดนหรือตัวแทนเพื่อนำไปมอบให้หน่วยงานศุลกากรปลายทาง



           3. คำว่า “ถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนด” หมายถึง ความถูกต้องครบถ้วนตามข้อกำหนดของขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่ระบุไว้ในแบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน



 



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-ไม่มี-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarding)ผู้รับจัดการขนส่ง (Transportation) 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน

       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

       2. แบบประเมินการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

18.2 เครื่องมือการประเมิน

       1. แบบประเมินความรู้ ใช้แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

       2. แบบประเมินการปฏิบัติงานโดยการสัมภาษณ์

       ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน 

 



ยินดีต้อนรับ