หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้ภาษาจีนสื่อสารในบริบทสังคม วิชาชีพ ทั้งในและนอกสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-UXOJ-168B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้ภาษาจีนสื่อสารในบริบทสังคม วิชาชีพ ทั้งในและนอกสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้สอนภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน) 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสามารถฟังและเข้าใจการอภิปรายต่างๆ ทั้งในและนอกสาขาวิชาชีพ เข้าใจข้อความหลากหลายจากสื่อเสียงที่ผู้พูดไม่ได้ใช้ภาษาจีนที่ตรงตามมาตรฐาน พูดเล่าเรื่องที่รายละเอียดซับซ้อน พูดโต้ตอบได้อย่างคล่องแคล่ว ฉับพลัน และใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมกับบริบทสังคม อ่านและเข้าใจรายละเอียดข้อเขียนที่ยาวและเข้าใจยากที่พบเห็นในสังคมหรืองานอาชีพ เขียนเรียงความ รายงาน บทความทางวิชาการที่มีการเรียบเรียงอย่างดี มีโครงสร้างที่ชัดเจนโดยใช้โครงสร้างภาษาที่ซับซ้อนได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้สอนภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน) 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 2353 Other language teachers

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10151

จับใจความสำคัญของคำพูดที่มีรายละเอียดและโครงสร้างซับซ้อน

1.1 เข้าใจการอภิปรายและการถกเถียง ทั้งในและนอกสาขาวิชาชีพได้อย่างง่ายดาย

10151.01 172502
10151

จับใจความสำคัญของคำพูดที่มีรายละเอียดและโครงสร้างซับซ้อน

1.2 เข้าใจข้อความหลากหลายจากสื่อเสียงที่ผู้พูดไม่ได้ใช้ภาษาจีนที่ตรงตามมาตรฐาน โดยระบุรายละเอียดหลัก ทัศนคติ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดได้

10151.02 172503
10151

จับใจความสำคัญของคำพูดที่มีรายละเอียดและโครงสร้างซับซ้อน

1.3 เข้าใจการนำเสนอข่าว รายการ ภาพยนตร์ ที่ใช้สำนวน สุภาษิต คำศัพท์แสลง ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีจีนได้

10151.03 172504
10152

พูดโต้ตอบในบริบทสังคม วิชาชีพ และวิชาการได้อย่างคล่องแคล่ว

2.1 พูดโต้ตอบได้อย่างคล่องแคล่ว ฉับพลัน และใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมกับบริบทสังคม เช่น การใช้ภาษาเพื่อจูงใจ โน้มน้าว อุปมาอุปไมย

10152.01 172505
10152

พูดโต้ตอบในบริบทสังคม วิชาชีพ และวิชาการได้อย่างคล่องแคล่ว

2.2 เข้าร่วมอภิปรายกลุ่มหรือบรรยายเชิงวิชาชีพและวิชาการในหัวข้อต่างๆได้

10152.02 172506
10152

พูดโต้ตอบในบริบทสังคม วิชาชีพ และวิชาการได้อย่างคล่องแคล่ว

2.3 พูดเล่าเรื่องที่มีรายละเอียดซับซ้อน โดยระบุโครงเรื่อง แก่นเรื่อง และบทสรุปของเรื่อง

10152.03 172507
10153

จับใจความจากการอ่านเรื่องราว บทความทางวิชาการที่ยาวและซับซ้อน

3.1 ระบุทัศนคติที่ปรากฏและไม่ปรากฏชัดในความเรียงที่ซับซ้อนซึ่งปรากฏในสังคมหรืองานอาชีพ 

10153.01 172508
10153

จับใจความจากการอ่านเรื่องราว บทความทางวิชาการที่ยาวและซับซ้อน

3.2 เข้าใจความเรียงที่มีเนื้อหาเฉพาะทางที่บรรยายขั้นตอนและข้อปฏิบัติที่ซับซ้อน ทั้งในและนอกสาขาได้

10153.02 172509
10154

เขียนเรียงความ รายงานที่ยาวและมีเนื้อหา ซับซ้อน

4.1 เขียนขยายความสนับสนุนความคิดเห็น โดยใช้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ

10154.01 172510
10154

เขียนเรียงความ รายงานที่ยาวและมีเนื้อหา ซับซ้อน

4.2 เขียนเรียงความ รายงาน บทความทางวิชาการที่มีการเรียบเรียงอย่างดี มีโครงสร้างที่ชัดเจน ใช้โครงสร้างภาษาที่ซับซ้อนได้

10154.02 172511

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาจีน ในบริบทสังคม วิชาชีพ ทั้งในและนอกสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ด้านการออกเสียง คำศัพท์ ไวยากรณ์ และอักษรจีน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ไม่มี

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการทดสอบความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ด้วยข้อสอบมาตรฐาน HSK ระดับ 6 หรือ TOCFL ระดับ B2  และ HSKK (การพูด)  ระดับสูง ที่มีเกณฑ์การประเมินเทียบเคียงกรอบมาตรฐาน  Chinese Language Proficiency Scales For Speakers of Other Languages  《国际汉语能力标准》

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ไม่มี

(ง) วิธีการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องแสดงผลการสอบผ่านข้อสอบมาตรฐานโดยยื่นหลักฐานดังนี้

1. ผลสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน HSK ระดับ 6 หรือ TOCFL ระดับ B2 

2. ผลสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน(พูด) HSKK ระดับสูง


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

 ไม่มี


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี  

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการสอบข้อสอบมาตรฐาน HSK ระดับ 6 หรือ TOCFL ระดับ B2 และHSKK ระดับสูงที่กำหนดให้มีการประเมินครบทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน หรือข้อสอบมาตรฐานอื่นๆ ที่มีเกณฑ์การประเมินเทียบเคียงกรอบมาตรฐาน  Chinese Language Proficiency Scales For Speakers of Other Languages《国际汉语能力标准》 



ยินดีต้อนรับ