หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้ภาษาจีนสื่อสารได้ในบริบทสังคมที่คุ้นชิน

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-ORVK-162B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้ภาษาจีนสื่อสารได้ในบริบทสังคมที่คุ้นชิน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้สอนภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน) 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้สอบได้หน่วยสมรรถนะนี้ต้องมีความสามารถในการฟังและอ่านเพื่อจับประเด็นหลักและเนื้อหาของเรื่องที่คุ้นชิน พูดและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังในบริบทที่คุ้นชิน เล่าประสบการณ์และเหตุการณ์ต่างๆหรือแสดงความคิดเห็น เขียนข้อความและความเรียงสั้นๆ ที่เกี่ยวกับหัวข้อที่คุ้นชิน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้สอนภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน) 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ISCO 2353 Other language teachers

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10131

จับประเด็นจากการฟังเรื่องที่คุ้นชิน 

1.1 จับประเด็นจากการฟังของเรื่องที่พูดคุยในวงสนทนา

10131.01 172383
10131

จับประเด็นจากการฟังเรื่องที่คุ้นชิน 

1.2 เข้าใจคำบรรยายที่ผู้พูดนำเสนออย่างง่ายในหัวข้อที่คุ้นชิน

10131.02 172384
10131

จับประเด็นจากการฟังเรื่องที่คุ้นชิน 

1.3 จับประเด็นจากสื่อเสียง เช่น นิทาน โฆษณา การสัมภาษณ์ ภาพยนตร์ที่นักแสดงหรือผู้บรรยายพูดค่อนข้างช้าและชัดเจน ฯลฯ

10131.03 172385
10132

มีปฏิสัมพันธ์โดยการสนทนาในบริบทที่คุ้นชิน

2.1 พูดโต้ตอบในหัวข้อที่คุ้นชิน  ดำเนินการสนทนาอย่างต่อเนื่อง  

10132.01 172386
10132

มีปฏิสัมพันธ์โดยการสนทนาในบริบทที่คุ้นชิน

2.2แสดงความคิดเห็นในการพูดคุยสนทนาตามหัวข้อที่ตนเองสนใจหรือถนัด เช่น ภาพยนตร์ การท่องเที่ยว กีฬา ฯลฯ 

10132.02 172387
10132

มีปฏิสัมพันธ์โดยการสนทนาในบริบทที่คุ้นชิน

2.3 เล่าบรรยายประสบการณ์ของตนเองอย่างสั้นๆ  แสดงความหมายได้อย่างชัดเจนตรงไปตรงมา

10132.03 172388
10133

จับใจความจากการอ่านเรื่องที่คุ้นชิน

3.1 เข้าใจข้อความจากการอ่านที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เช่น จดหมาย แผ่นพับต่างๆ ฯลฯ

10133.01 172400
10133

จับใจความจากการอ่านเรื่องที่คุ้นชิน

3.2 จับประเด็นสำคัญของบทความเกี่ยวกับเรื่องคุ้นชินจากสื่อต่างๆได้ เช่น ประกาศสั้นๆ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ

10133.02 172401
10134

เขียนข้อความหรือเนื้อหาในหัวข้อที่คุ้นชิน

4.1 เขียนข้อความในหัวข้อที่คุ้นชิน เช่น จดหมายส่วนตัว บันทึกสั้นๆ ฯลฯ

10134.01 172402
10134

เขียนข้อความหรือเนื้อหาในหัวข้อที่คุ้นชิน

4.2 เขียนความเรียงสั้นๆ ในเรื่องที่สนใจ เช่น ประสบการณ์ของตนเอง การท่องเที่ยว กีฬา งานอดิเรก ฯลฯ

10134.02 172403

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาจีน ในบริบทสังคมที่คุ้นชิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ความรู้ด้านการออกเสียง คำศัพท์ ไวยากรณ์ และอักษรจีนเป็นต้น 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

ไม่มี

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการทดสอบความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ด้วยข้อสอบมาตรฐาน HSK ระดับ 4 หรือ TOCFL ระดับ A2 และ HSKK ระดับกลาง ที่มีเกณฑ์การประเมินเทียบเคียงกรอบมาตรฐาน  Chinese Language Proficiency Scales For Speakers of Other Languages  《国际汉语能力标准》

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ไม่มี

(ง) วิธีการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องแสดงผลการสอบผ่านข้อสอบมาตรฐานโดยยื่นหลักฐานดังนี้

1. ผลสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน HSK ระดับ 4 หรือ TOCFL ระดับ A2 

2. ผลสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน(พูด) HSKK ระดับกลาง 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

คุ้นชิน หมายถึง เรื่องที่พบเห็นเป็นประจำ หรือ เรื่องคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน 

สื่อเสียง หมายถึง สื่อที่ใช้สัมผัสโดยการรับฟัง เพื่อความเข้าใจ สัมผัสอารมณ์หรือรู้ถึงจุดมุ่งหมายของการผลิตสื่อ เช่น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ หรือแผ่นบันทึกซีดี เป็นต้น 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการสอบข้อสอบมาตรฐาน HSK ระดับ 4 หรือ TOCFL ระดับ  A2  และHSKK ระดับกลางที่กำหนดให้มีการประเมินครบทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน หรือข้อสอบมาตรฐานอื่นๆ ที่มีเกณฑ์การประเมินเทียบเคียงกรอบมาตรฐาน  Chinese Language Proficiency Scales For Speakers of Other Languages《国际汉语能力标准》



ยินดีต้อนรับ