หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-OGNS-193B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO    1345 ผู้จัดการด้านการศึกษา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถกำหนดเป้าหมาย และขอบเขตของระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนสามารถจัดทำข้อมูลผู้เรียน และเครือข่ายผู้ปกครองสามารถจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือ และกิจกรรมสนับสนุนผู้เรียนสามารถสื่อสารระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถศึกษา วิเคราะห์และจัดทำข้อมูลกลุ่มนักเรียนเป็นรายบุคคลและสามารถจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพและให้คำปรึกษาเสริมสร้างศักยภาพนักเรียนสามารถบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าหมายไว้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา อาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
•    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓•    พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐•    ระเบียบว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน•    นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ•    แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2020301

พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

1. กำหนดเป้าหมาย และขอบเขตของระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 2020301.01 172255
2020301

พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

2. จัดทำข้อมูลผู้เรียน และเครือข่ายผู้ปกครอง 2020301.02 172256
2020301

พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

3. จัดทำระบบดูแลช่วยเหลือ และกิจกรรมสนับสนุนผู้เรียน 2020301.03 172257
2020301

พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

4. สื่อสารระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 2020301.04 172258
2020301

พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

5. ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลกลุ่มนักเรียนเป็นรายบุคคล 2020301.05 172259
2020301

พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

6. จัดกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพและให้คำปรึกษาเสริมสร้างศักยภาพนักเรียน 2020301.06 172260
2020302

ควบคุมระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

1. ดำเนินการระบบดูแลช่วยเหลือและกิจกรรมสนับสนุนผู้เรียนตามแนวทางที่กำหนด 2020302.01 172261
2020302

ควบคุมระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

2. กำกับติดตามระบบดูแลช่วยเหลือและกิจกรรมสนับสนุนผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย 2020302.02 172262
2020302

ควบคุมระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

3. จัดทำการประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือและกิจกรรมสนับสนุนผู้เรียน 2020302.03 172263

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะด้านการวางแผน

2. ทักษะด้านการบริหารจัดการ

3. ทักษะด้านการติดตามผล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ความเข้าใจด้านการทำแผน

2. ความรู้ความเข้าใจด้านการติดตามผล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

แผนกิจกรรมของระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนของสถานศึกษา

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ผลการแสดงผลงาน

2. ผลการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้วิธีการประเมิน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้วิธีการประเมิน

15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

การประเมินเกณฑ์การปฏิบัติงานPerformance Criteria ตามหลักการเครื่องมือต่อไปนี้

เครื่องมือจัดการระบบดูแลช่วยเหลือของสถานศึกษา

•    การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมายแผนการดำเนินงานกำหนดให้ใช้หลักการกระบวนการ Checklist ให้ออกมาเป็นผลเชิงปริมาณ และคุณภาพ

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

รายละเอียดของเครื่องมือเชิงนโยบายตามข้อ (ก) มีดังต่อไปนี้

•    การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมายแผนการดำเนินงานกำหนดให้ใช้หลักการกระบวนการ Checklist ให้ออกมาเป็นผลเชิงปริมาณ และคุณภาพ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

คัดกรองผู้สมัครจากใบสมัคร เพื่อพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนอนุมัติให้เข้าสู่กระบวนการประเมินทั้งนี้กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการประเมิน

18.1 พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

•    การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัครเกี่ยวกับเป้าหมาย และขอบเขตของระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน จัดทำข้อมูลผู้เรียน และเครือข่ายผู้ปกครอง การจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือ และกิจกรรมสนับสนุนผู้เรียน การสื่อสารระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง การศึกษาวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลกลุ่มนักเรียนเป็นรายบุคคล การจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพ และการให้คำปรึกษาเสริมสร้างศักยภาพนักเรียน

•    การใช้วิธีการสัมภาษณ์ เป็นคำถามปลายเปิด เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัครเกี่ยวกับแนวทางการกำหนดเป้าหมาย และขอบเขตของระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน การจัดทำข้อมูลผู้เรียน และเครือข่ายผู้ปกครอง การดำเนินการจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือ และกิจกรรมสนับสนุนผู้เรียน สื่อสารระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง หลักการวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลกลุ่มนักเรียนเป็นรายบุคคล การจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพ และแนวทางให้คำปรึกษาเสริมสร้างศักยภาพนักเรียน

•    การประเมินเอกสารประกอบการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินทำการตรวจสอบหลักฐานการปฏิบัติงานของผู้สมัคร ตรวจสอบร่องรอยจากเอกสารโดยพิจารณาเอกสารตามข้อ 14 ประกอบกับหลักฐานที่แสดงถึงเป้าหมาย และขอบเขตของระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ระบบหรือกระบวนการจัดทำข้อมูลผู้เรียน และเครือข่ายผู้ปกครอง ระบบดูแลช่วยเหลือและกิจกรรมสนับสนุนผู้เรียน กระบวนการสื่อสารระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลกลุ่มนักเรียนเป็นรายบุคคล โครงการกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพ และให้คำปรึกษาเสริมสร้างศักยภาพนักเรียน

18.2 ควบคุมระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

•    การสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัครเกี่ยวกับการดำเนินการ และติดตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย การประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

•    การใช้วิธีการสัมภาษณ์ เป็นคำถามปลายเปิด เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัครเกี่ยวกับวิธีการหรือระบบการดำเนินการ และติดตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย วิธีการประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

•    การประเมินเอกสารประกอบการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินทำการตรวจสอบหลักฐานการปฏิบัติงานของผู้สมัคร ตรวจสอบร่องรอยจากเอกสารโดยพิจารณาเอกสารตามข้อ 14 ประกอบกับหลักฐานที่แสดงถึงขั้นตอนของการดำเนินการ และกำกับติดตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย เอกสารการประเมินผลระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

 



ยินดีต้อนรับ