หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการความรู้ของสถานศึกษา

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-ZIOW-179B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการความรู้ของสถานศึกษา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO    1345 ผู้จัดการด้านการศึกษา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวิเคราะห์องค์ความรู้ของสถานศึกษา กำหนดเป้าหมายและดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของการจัดการความรู้ของสถานศึกษาจัดทำแผนจัดการความรู้ของสถานศึกษา ตามแนวทางที่กำหนดจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับแผนจัดการความรู้ที่กำหนดมอบหมายบุคลากรและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามแผนงานและโครงการที่กำหนดกำกับติดตามวัดผลและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานและโครงการจัดการความรู้ของสถานศึกษาตามแนวทางที่กำหนดปรับปรุงกิจกรรมการจัดการความรู้ของสถานศึกษาตามผลการประเมิน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา อาชีพผู้บริหารสถานศึกษา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
•    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓•    พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐•    ระเบียบว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน•    นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ•    แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ ๑๑พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙•    คู่มือการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร. 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020301

จัดทำแผนจัดการความรู้ สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในองค์การ

1.วิเคราะห์องค์ความรู้ของสถานศึกษา 1020301.01 172157
1020301

จัดทำแผนจัดการความรู้ สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในองค์การ

2.กำหนดเป้าหมายและดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของการจัดการความรู้ของสถานศึกษา 1020301.02 172158
1020301

จัดทำแผนจัดการความรู้ สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในองค์การ

3.จัดทำแผนจัดการความรู้ของสถานศึกษา ตามแนวทางที่กำหนด 1020301.03 172159
1020302

ดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร

1.จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ของสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับแผนจัดการความรู้ที่กำหนด 1020302.01 172160
1020302

ดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร

2.มอบหมายบุคลากรและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามแผนงานและกิจกรรมที่กำหนด 1020302.02 172161
1020302

ดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร

3.กำกับติดตามแผนงานและกิจกรรมการจัดการความรู้ของสถานศึกษาตามแนวทางที่กำหนด 1020302.03 172162
1020303

ติดตามการใช้ระบบการจัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพ

1.วัดผลการดำเนินงานตามแผนงานและกิจกรรมการจัดการความรู้ของสถานศึกษาตามแนวทางที่กำหนด 1020303.01 172163
1020303

ติดตามการใช้ระบบการจัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพ

2.ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานและกิจกรรมการจัดการความรู้ของสถานศึกษา 1020303.02 172164
1020303

ติดตามการใช้ระบบการจัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพ


3.ปรับปรุงแผนการจัดการความรู้ของสถานศึกษาตามผลการประเมิน

1020303.03 172165

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะการคิดวิเคราะห์

2.    ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ

3.    ทักษะการติดตาม และประเมินผลการเปลี่ยนแปลง

4.    ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

5.    ทักษะการหาและวิเคราะห์ข้อมูล เนื้อหา ช่องทาง และกลุ่มเป้าหมาย และกำหนดเป้าหมายและแผนงานการนำเสนอ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ความเข้าใจในด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารโครงการ

2.    ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินธุรกิจขององค์การ นโยบาย และกลยุทธ์องค์การ และการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ

3.    ความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้การบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจขององค์การและหน่วยงาน

4.    ความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์ ความสามารถในการเก็บวิเคราะห์ข้อมูล และประเมินผล

5.    ความรู้เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน

6.    ความรู้เกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

1) แผนการจัดการความรู้ของสถานศึกษา

2) เอกสารการจัดการความรู้ในรูปของไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ตำรา คู่มือ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

เอกสารการจัดการความรู้ที่ถูกจัดทำขึ้นตามแนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร. ได้แก่แผนการจัดการความรู้ โครงการและกิจกรรมจัดการความรู้ ที่มีชื่อของผู้สมัครมีส่วนร่วมในการจัดทำเอกสารนั้น

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจสอบร่องรอยจากเอกสารโดยพิจารณาเอกสารตามข้อ ก.และ ข. ประกอบกัน หาหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า

•    เอกสารการจัดการความรู้ถูกจัดทำขึ้นตามแนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร. ผู้ประเมินตรวจสอบว่าผู้สมัครมีส่วนร่วมในการจัดทำเอกสารการจัดการความรู้หรือไม่ เช่น การลงนามเป็นผู้ร่วมสร้างเอกสารหรือปรับปรุงเอกสาร

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

การประเมินเกณฑ์การปฏิบัติงานPerformance Criteria ตามหลักการเครื่องมือต่อไปนี้

•    แนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร.

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

รายละเอียดของเครื่องมือเชิงนโยบายตามข้อ (ก) มีดังต่อไปนี้

•    แนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร.

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

คัดกรองผู้สมัครจากใบสมัครเพื่อพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นก่อนอนุมัติให้เข้าสู่กระบวนการประเมินทั้งนี้กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการประเมิน

18.1    จัดทำแผนจัดการความรู้ สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ในองค์การ

•    การสอบข้อเขียนเป็นปรนัย 4 ตัวเลือก เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัคร เกี่ยวกับแนวทางการจัดทำแผนการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร. 

•    การใช้วิธีการสัมภาษณ์ เป็นคำถามปลายเปิด เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัคร เกี่ยวกับแนวทางการจัดทำแผนจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร. 

•    การประเมินเอกสารประกอบการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินทำการตรวจสอบหลักฐานการปฏิบัติงานของผู้สมัคร ตรวจสอบร่องรอยจากเอกสารโดยพิจารณาเอกสารตามข้อ 14 ประกอบกับหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า เอกสารแผนการจัดการความรู้ถูกจัดทำขึ้นตามแนวทางการจัดทำแผนการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร. หรือไม่ผู้ประเมินตรวจสอบว่าผู้สมัครมีส่วนร่วมในการจัดทำเอกสารการจัดการความรู้ เช่น การลงนามเป็นผู้ร่วมสร้างเอกสารหรือปรับปรุงเอกสาร

18.2     ดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร

•    การสอบข้อเขียนเป็นปรนัย 4 ตัวเลือก เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัคร เกี่ยวกับแนวทางดำเนินการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร.

•    การใช้วิธีการสัมภาษณ์ เป็นคำถามปลายเปิด เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัคร เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร.

•    การประเมินเอกสารประกอบการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินทำการตรวจสอบหลักฐานการปฏิบัติงานของผู้สมัคร ตรวจสอบร่องรอยจากเอกสารโดยพิจารณาเอกสารตามข้อ 14 ประกอบกับหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าดำเนินการจัดการความรู้ถูกจัดทำขึ้นตามแนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร.หรือไม่ผู้ประเมินตรวจสอบว่าผู้สมัครมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดการความรู้ เช่น การลงนามเป็นผู้ร่วมสร้างเอกสารหรือปรับปรุงเอกสาร การเป็นผู้นำกิจกรรม หรือ เป็นประธานจัดกิจกรรมการจัดการความรู้

18.3     ติดตามการใช้ระบบการจัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพ

•    การสอบข้อเขียนเป็นปรนัย 4 ตัวเลือก เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัคร เกี่ยวกับการติดตามการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร.

•    การใช้วิธีการสัมภาษณ์ เป็นคำถามปลายเปิด เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้สมัคร เกี่ยวกับแนวทางการติดตามการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร.

•    การประเมินเอกสารประกอบการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินทำการตรวจสอบหลักฐานการปฏิบัติงานของผู้สมัคร ตรวจสอบร่องรอยจากเอกสารโดยพิจารณาเอกสารตามข้อ 14 ประกอบกับหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การติดตามการจัดการความรู้ถูกจัดทำขึ้นตามแนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร. หรือไม่ผู้ประเมินตรวจสอบว่าผู้สมัครมีส่วนร่วมในการติดตามการจัดการความรู้ เช่น การลงนามเป็นผู้ร่วมติดตามกิจกรรมการจัดการความรู้

 



ยินดีต้อนรับ