หน่วยสมรรถนะ
จัดระดับคุณภาพการเจียระไนเพชร
สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | GEM-MLTQ-090B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดระดับคุณภาพการเจียระไนเพชร |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
1. อาชีพนักวิเคราะห์เพชร 1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบเพชรหรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระดับคุณภาพเพชรในอุตสาหกรรมเพชรและเครื่องประดับ โดยเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการเจียระไนเพชร เฉพาะเพชรรูปกลมเหลี่ยมกสร (Round brilliant cut) ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ สัดส่วนของการเจียระไน (Proportion) สมมาตรของการเจียระไน (Symmetry) และคุณภาพของการขัดเงา (Polish) |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
50010401 จัดระดับคุณภาพสัดส่วนของการเจียระไน (Proportion) |
1. ตรวจสอบขนาดเหลี่ยมเทเบิล (Table size) ตามเกณฑ์ที่กำหนด |
50010401.01 | 171498 |
50010401 จัดระดับคุณภาพสัดส่วนของการเจียระไน (Proportion) |
2. ตรวจสอบความสูงของคราวน์ (Crown height) ตามเกณฑ์ที่กำหนด |
50010401.02 | 171499 |
50010401 จัดระดับคุณภาพสัดส่วนของการเจียระไน (Proportion) |
3. ตรวจสอบมุมคราวน์ (Crown angle) ตามเกณฑ์ที่กำหนด |
50010401.03 | 171500 |
50010401 จัดระดับคุณภาพสัดส่วนของการเจียระไน (Proportion) |
4. ตรวจสอบความหนาเกอร์เดิล (Girdle thickness) ตามเกณฑ์ที่กำหนด |
50010401.04 | 171501 |
50010401 จัดระดับคุณภาพสัดส่วนของการเจียระไน (Proportion) |
5. ตรวจสอบมุมพาวิเลียน (Pavilion angle) ตามเกณฑ์ที่กำหนด |
50010401.05 | 171502 |
50010401 จัดระดับคุณภาพสัดส่วนของการเจียระไน (Proportion) |
6. ตรวจสอบความลึกของพาวิเลียน (Pavilion) ตามเกณฑ์ที่กำหนด |
50010401.06 | 171503 |
50010401 จัดระดับคุณภาพสัดส่วนของการเจียระไน (Proportion) |
7. ตรวจสอบขนาดคิวเลท (Culet size) ตามเกณฑ์ที่กำหนด |
50010401.07 | 171504 |
50010401 จัดระดับคุณภาพสัดส่วนของการเจียระไน (Proportion) |
8. ตรวจสอบความลึกทั้งหมด (Tatal depth) ตามเกณฑ์ที่กำหนด |
50010401.08 | 171505 |
50010401 จัดระดับคุณภาพสัดส่วนของการเจียระไน (Proportion) |
9. นำค่าได้มาเทียบกับเกณฑ์ระดับคุณภาพสัดส่วนของการเจียระไนที่กำหนด |
50010401.09 | 171506 |
50010401 จัดระดับคุณภาพสัดส่วนของการเจียระไน (Proportion) |
10. สรุปและบันทึกผลการจัดระดับคุณภาพสัดส่วนของการเจียระไน |
50010401.10 | 171507 |
50010402 จัดระดับคุณภาพสมมาตรของการเจียระไน (Symmetry) |
1. ตรวจสอบความสมบูรณ์และความสมดุลของรูปร่างและการจัดเรียงของเหลี่ยม |
50010402.01 | 171508 |
50010402 จัดระดับคุณภาพสมมาตรของการเจียระไน (Symmetry) |
2. ตรวจสอบ Extra facet และ Natural |
50010402.02 | 171509 |
50010402 จัดระดับคุณภาพสมมาตรของการเจียระไน (Symmetry) |
3. เปรียบเทียบผลการตรวจสอบกับเกณฑ์ระดับความสมมาตรที่กำหนด |
50010402.03 | 171510 |
50010402 จัดระดับคุณภาพสมมาตรของการเจียระไน (Symmetry) |
4. สรุปและบันทึกผลการจัดระดับคุณภาพสมมาตรของการเจียระไน |
50010402.04 | 171511 |
50010403 จัดระดับคุณภาพของการขัดเงา (Polish) |
1. ตรวจสอบตำหนิภายนอก |
50010403.01 | 171512 |
50010403 จัดระดับคุณภาพของการขัดเงา (Polish) |
2. เปรียบเทียบผลการตรวจสอบกับเกณฑ์ระดับคุณภาพของการขัดเงาที่กำหนด |
50010403.02 | 171513 |
50010403 จัดระดับคุณภาพของการขัดเงา (Polish) |
3. สรุปและบันทึกผลการจัดระดับคุณภาพการขัดเงาของการเจียระไน |
50010403.03 | 171514 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. สามารถเตรียมเครื่องมือสำหรับใช้ในการประเมินคุณภาพการเจียระไนเพชร 2. สามารถพิจารณาสัดส่วน สมมาตร และการขัดเงา ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล 3. สามารถจัดระดับคุณภาพการเจียระไนเพชร (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือสำหรับประเมินคุณภาพการเจียระไนเพชร 2. ความรู้เกี่ยวกับสัดส่วน ความสมมาตร และการขัดเงาของเพชร 3. ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการจียระไนเพชรที่มีต่อคุณภาพและราคา 4. ความรู้เกี่ยวกับการจัดระดับคุณภาพการเจียระไนเพชร 5. ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดและข้อควรระวังในการจัดระดับคุณภาพการเจียระไนเพชร |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. แสดงการเตรียมเครื่องมือสำหรับใช้ในการประเมินคุณภาพการเจียระไนเพชร 2. แสดงการพิจารณาสัดส่วน สมมาตร และการขัดเงา ตามเกณฑ์มาตรฐานสากล 3. แสดงการจัดระดับคุณภาพการเจียระไนเพชร 4. ใบบันทึกผลการสาธิตการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. อธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือสำหรับประเมินคุณภาพการเจียระไนเพชร 2. อธิบายเกี่ยวกับสัดส่วน ความสมมาตร และการขัดเงาของเพชร 3. อธิบายเกี่ยวกับผลกระทบของการจียระไนเพชรที่มีต่อคุณภาพและราคา 4. อธิบายเกี่ยวกับการจัดระดับคุณภาพการเจียระไนเพชร 5. อธิบายเกี่ยวกับข้อจำกัดและข้อควรระวังในการจัดระดับคุณภาพเพชร 6. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือตรวจสอบเพชรด้วยวิธีพื้นฐาน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. การสาธิตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ในเรื่องของการตรวจสอบจัดระดับคุณภาพการเจียระไนเพชร ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ใช้ในการจัดระดับคุณภาพเพชร ในสมรรถนะนี้เพชรที่จะนำมาจัดระดับคุณภาพจะครอบคลุมเฉพาะเพชรธรรมชาติ รูปกลมเหลี่ยมเกสร (Round brilliant cut) ซึ่งไม่ฝังอยู่ในตัวเรือน สมรรถนะนี้ มีรายละเอียด ขั้นตอน วิธีการจัดระดับคุณภาพการเจียระไน โดยใช้ข้อมูลและมาตรฐานของมาตรฐาน ISO 24016 Grading polished diamonds เป็นแนวทางในการกำหนดสมรรถนะนี้ (ข) คำอธิบายรายละเอียด การเจียระไนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะช่วยให้เพชรมีความสวยงามมากขึ้น การจัดระดับคุณภาพการเจียระไน เป็นการพิจารณาถึงสัดส่วน (Prpoportions) สมมาตร (Symmetry) และการขัดเงา (Polish) ในแต่ละส่วนจะพิจารณาคุณภาพ โดยแบ่งระดับคุณภาพออกเป็น 5 ระดับ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ Excellent, Very Good, Good, Fair และ Poor ตามลำดับ
|
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือการประเมิน 1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก 2. การสาธิตการปฏิบัติงาน ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน |