หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การจัดแสง เพื่อจัดระดับคุณภาพเพชร

สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GEM-ADTM-044B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การจัดแสง เพื่อจัดระดับคุณภาพเพชร

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

1. อาชีพนักวิเคราะห์เพชร


1 7313 ช่างทำเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และโลหะมีค่า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ใช้กับผู้ปฎิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจสอบเพชรหรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเพชรในอุตสาหกรรมเพชรและเครื่องประดับ โดยเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดระดับคุณภาพเพชร โดยรวมถึงสภาพแวดล้อม แหล่งแสง และฉากหลังในการประเมินคุณภาพเพชร เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มวิชาชีพอัญมณีและเครื่องประดับ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
50010101

จัดเตรียมการแต่งกายและสถานที่

1. จัดเตรียมการแต่งกายของผู้ประเมิน 

50010101.01 159590
50010101

จัดเตรียมการแต่งกายและสถานที่

2. เตรียมสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการตามเกณฑ์การจัดระดับคุณภาพเพชร

50010101.02 159591
50010102

จัดอุปกรณ์และระบบแสงเพื่อจัดระดับคุณภาพเพชร

1. เลือกใช้อุปกรณ์และชนิดของแสงตามลักษณะงาน

50010102.01 159593
50010102

จัดอุปกรณ์และระบบแสงเพื่อจัดระดับคุณภาพเพชร

2. จัดอุปกรณ์ ระบบแสง และเทียบมาตรฐานตามลักษณะงาน

50010102.02 159594

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถจัดเตรียมการแต่งกายของผู้ประเมินได้อย่างเหมาะสม



2. สามารถจัดแสงและสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมต่อการจัดระดับคุณภาพเพชร



3. สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับลักษณะของเพชรที่จะทำการจัดระดับคุณภาพ



4. สามารถเตรียมความพร้อมของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ก่อนการจัดระดับคุณภาพเพชร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมการแต่งกายของผู้ประเมินได้อย่างเหมาะสม



2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดแสงและสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมต่อการจัดระดับคุณภาพเพชร



3. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับลักษณะของเพชรที่จะทำการจัดระดับคุณภาพ



4. ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ก่อนการจัดระดับคุณภาพเพชร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. แสดงการจัดเตรียมการแต่งกายของผู้ประเมินได้อย่างเหมาะสม



2. แสดงการจัดแสงและสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมต่อการจัดระดับคุณภาพเพชร



3. แสดงการเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับลักษณะของเพชรที่จะทำการจัดระดับคุณภาพ



4. แสดงการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนการจัดระดับคุณภาพเพชร



5. ใบบันทึกผลการสาธิตการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. อธิบายเกี่ยวกับการจัดเตรียมการแต่งกายของผู้ประเมินได้อย่างเหมาะสม



2. อธิบายเกี่ยวกับการจัดแสงและสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมต่อการจัดระดับคุณภาพเพชร



3. อธิบายเกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับลักษณะของเพชรที่จะทำการจัดระดับคุณภาพ



4. อธิบายเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนการจัดระดับคุณภาพเพชร



5. ใบบันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับ การจัดเตรียมอุปกรณ์และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมในการจัดระดับคุณภาพเพชร โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสาธิตการปฏิบัติงาน



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในเรื่องของการจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ และสภาพแวดล้อมสำหรบการจัดระดับคุณภาพเพชร ซึ่งเน้นถึงการปฏิบัติในห้องปฏิบัติการตรวจสอบเพชร ผู้เข้าประเมินควรมีความรู้และทักษะที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดระดับคุณภาพเพชร ได้แก่ การจัดเตรียมเครื่องแต่งกายของผู้ประเมิน การจัดแสงและสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ การเลือกใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ให้เหมาะสมกับลักษณะของเพชรที่ทำการจัดระดับคุณภาพ การเตรียมความพร้อมเครื่องมือหรืออุปกรณ์ก่อนการจัดระดับเพชร การจัดเก็บ และการดูแลรักษา



สมรรถนะนี้ มีรายละเอียดการจัดสภาพแวดล้อม เพื่อจัดระดับคุณภาพเพชร โดยใช้ข้อมูลและมาตรฐาน ISO 24016 Grading polished diamonds เป็นแนวทางในการกำหนดสมรรถนะนี้



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



การจัดคุณภาพเพชร เป็นการพิจารณาปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ สี ความสะอาด การเจียระไน และน้ำหนัก การจัดระดับคุณภาพเพชรสามารถนำไปใช้ในการประเมินราคา นอกจากนี้การจัดระดับการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์มีผลต่อการประเมินราคาด้วย การเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการจัดระดับคุณภาพเพชรและการเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์ จึงมีความสำคัญ



สิ่งที่ควรพิจารณาหรือเตรียมพร้อมก่อนการจัดระดับคุณภาพเพชร แสดงดังนี้




  • สี: โคมไฟหรือแหล่งแสงที่ใช้ พื้นฉากหลัง เครื่องแต่งกายของผู้ประเมิน

  • ความสะอาด: อุปกรณ์ถาดหรือฐานรองเพชร ผ้าเช็ดเพชร แอลกอฮอล์ คีมคีบ (Tweezer) แว่นกำลังขยาย 10 เท่า (10x Lens หรือ Loupe) กล้องจุลทรรศน์อัญมณี (Gem stereo-microscope)

  • การเจียระไน: คีมคีบ แว่นกำลังขยาย 10 เท่า

  • น้ำหนัก: เครื่องชั่งที่สามารถอ่านค่าทศนิยมได้ถึงตำแหน่งที่ 3

  • การเรืองแสงฟลูออเรสเซนซ์: หลอดรังสีอัลตราไวโอเลต (UV-lamp)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือการประเมิน



1. ข้อสอบข้อเขียน แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก



2. การสาธิตการปฏิบัติงาน



ดูรายละเอียดจากคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ