หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำรายงานการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-GOPU-563A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำรายงานการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 1311 ผู้จัดการด้านการผลิตในภาคการเกษตรและการป่าไม้
1 3142 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการเกษตรและการประมง

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการจัดทำรายงานการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม(PGS) เพื่อออกหนังสือรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมิน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    หลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)2.    มาตรฐาน ISO 19011 : 20183.    หลักเกณฑ์กลางสำหรับระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102031

จัดทำรายงานการตรวจประเมิน

1. ระบุข้อมูลที่ต้องบันทึกในรายงานการตรวจประเมิน 

102031.01 171421
102031

จัดทำรายงานการตรวจประเมิน

2. บันทึกข้อมูลผลการตรวจประเมิน

102031.02 171422
102031

จัดทำรายงานการตรวจประเมิน

3. จัดเรียงเอกสารหลักฐานประกอบรายงานการตรวจประเมินเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ

102031.03 171423
102032 ดำเนินการเพื่อออกใบรับรองเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม(PGS)

1. ประสานงานหน่วยรับรอง 

102032.01 171424
102032 ดำเนินการเพื่อออกใบรับรองเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม(PGS)

2. ร่วมการประชุมรับรองมาตรฐานเพื่อให้ข้อมูลผลการตรวจประเมินผ่านกลไกการรับรองมาตรฐาน

102032.02 171425
102032 ดำเนินการเพื่อออกใบรับรองเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม(PGS)

3. สื่อสารรายงานการตรวจประเมินสู่ผู้ซื้อและผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์

102032.03 171426

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การประยุกต์ใช้หลักการ ขั้นตอน และเทคนิคการตรวจประเมิน

2.    การวางแผนและบริหารงานอย่างมีประสิทธิผล

3.    การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การฟัง การสังเกตการณ์ 

4.    การทบทวนเอกสาร บันทึก และข้อมูลที่มีประสิทธิผล

5.    การทวนสอบความถูกต้องของข้อมูลที่รวบรวมไว้

6.    การตรวจประเมินปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของสิ่งที่ตรวจพบและสรุปผลการตรวจประเมิน

7.    การใช้เอกสารการทำงานเพื่อบันทึกกิจกรรมการตรวจประเมิน

8.    การจัดทำรายงานการตรวจประเมิน

9.     การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างสำหรับการตรวจประเมิน

2.    ความเพียงพอและเหมาะสมของหลักฐานการตรวจประเมิน เพื่อสนับสนุนสิ่งที่ตรวจพบและสรุปผลการตรวจประเมิน

3.    การรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล

4.    กระบวนการผลิตพืช ปศุสัตว์ และประมง กระบวนการแปรรูป ทั่วไป และคำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

5.    หลักเกณฑ์ กฎหมายและกฎระเบียบระดับท้องถิ่น ระดับภาค และข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          - ภาพการตรวจประเมิน รายงานการตรวจประเมิน



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

         - ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมการตรวจประเมินที่เกี่ยวข้อง เช่น Organic  และ หลักสูตรเกี่ยวกับ GMP หรือ HACCP หรือหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารการจัดการความปลอดภัยอาหาร



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

         - ภาพการตรวจประเมิน รายงานการตรวจประเมินที่จัดทำไม่เกิน 2 ปี

(ง)   วิธีการประเมิน

        พิจารณาตามคู่มือการประเมิน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

     ผู้รับการประเมินจะต้องแสดงความรู้และทักษะเกี่ยวกับการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม  (PGS) 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     ข้อมูลที่ต้องบันทึกในรายงานการตรวจประเมิน ได้แก่ ข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลแปลง ข้อมูลผลการตรวจแปลง

     บันทึกข้อมูลผลการตรวจประเมิน หมายถึง การบันทึกผลการตรวจประเมินในรายงานของทีมประเมิน พร้อมสรุปผลการตรวจประเมินและคำวินิจฉัย

     การประสานงานหน่วยรับรอง หมายถึง การประสานงานหน่วยรับรองเพื่อเข้าสู่การพิจารณาการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม แล้วแต่กระบวนการของแต่ละระบบการรับรองรับรองแบบมีส่วนร่วมที่กำหนดขึ้น

     การสื่อสารรายงานการตรวจประเมินสู่ผู้ซื้อและผู้บริโภคผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ออนไลน์

     กลไกการรับรองมาตรฐาน หมายถึง รูปแบบของการรับรองมาตรฐาน เช่น คณะกรรมการ หน่วยขับเคลื่อนมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS) ขึ้นกับการออกแบบของแต่ละองค์กร/หน่วยงานเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในกระบวนการรับรองมาตรฐานและการออกหนังสือสือรับรองมาตรฐาน ที่อยู่ภายใต้แนวทางของกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) กับแปลงที่ตรวจประเมิน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 วิธีการประเมิน

        - การสอบข้อเขียน

        - การสอบสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือ

        - ผลการสอบข้อเขียน

        - แบบบันทึกการสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ