หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)

สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ARC-TOKU-561A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2565

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 1311 ผู้จัดการด้านการผลิตในภาคการเกษตรและการป่าไม้
1 3142 เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการเกษตรและการประมง

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการวางแผนรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติทางการเกษตรของแปลงปลูก รวบรวมข้อมูลจากการประเมินด้วยกระบวนการสัมภาษณ์ และการตรวจในพื้นที่จริง ทบทวนข้อมูลและเอกสารหลักฐาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
บุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมิน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.    หลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)2.    มาตรฐาน ISO 19011 : 20183.    หลักเกณฑ์กลางสำหรับระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
102011

วางแผนรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติทางการเกษตรของแปลงปลูก

1. ระบุขอบข่าย ข้อกำหนดหลัก ข้อกำหนดรองในมาตรฐานเพื่อเตรียมการตรวจประเมิน

102011.01 171397
102011

วางแผนรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติทางการเกษตรของแปลงปลูก

2. ระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่จะรวบรวม

102011.02 171398
102011

วางแผนรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติทางการเกษตรของแปลงปลูก

3. จัดเตรียมเอกสารบันทึกผลการตรวจประเมิน

102011.03 171399
102011

วางแผนรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติทางการเกษตรของแปลงปลูก

4. วางแผนการตรวจตามระยะเวลา

102011.04 171400
102012

รวบรวมข้อมูลจากการประเมินด้วยกระบวนการสัมภาษณ์ และการตรวจในพื้นที่จริง

1. รวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินแปลง

102012.01 171401
102012

รวบรวมข้อมูลจากการประเมินด้วยกระบวนการสัมภาษณ์ และการตรวจในพื้นที่จริง

2. เรียบเรียงจัดกลุ่มข้อมูลที่รวบรวมไว้เพื่อเตรียมการตรวจประเมิน

102012.02 171402
102013

ทบทวนข้อมูลและเอกสารหลักฐาน

1. ทวนสอบความถูกต้องของข้อมูลตามข้อเท็จจริง ณ ปัจจุบัน

102013.01 171403
102013

ทบทวนข้อมูลและเอกสารหลักฐาน

2. จัดทำบันทึกและจัดเก็บเอกสารหลักฐานอย่างเป็นระบบ

102013.02 171404

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การประยุกต์ใช้หลักการ ขั้นตอน และเทคนิคการตรวจประเมิน

2.    การวางแผนและบริหารงานอย่างมีประสิทธิผล

3.    การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การฟัง การสังเกตการณ์ 

4.    การทบทวนเอกสาร บันทึก และข้อมูลที่มีประสิทธิผล

5.    การทวนสอบความถูกต้องของข้อมูลที่รวบรวมไว้

6.    การตรวจประเมินปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของสิ่งที่ตรวจพบและสรุปผลการตรวจประเมิน

7.    การใช้เอกสารการทำงานเพื่อบันทึกกิจกรรมการตรวจประเมิน

8.    การจัดทำรายงานการตรวจประเมิน

9.     การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างสำหรับการตรวจประเมิน

2.    ความเพียงพอและเหมาะสมของหลักฐานการตรวจประเมิน เพื่อสนับสนุนสิ่งที่ตรวจพบและสรุปผลการตรวจประเมิน

3.    การรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูล

4.    กระบวนการผลิตพืช กระบวนการแปรรูป ทั่วไป และคำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

5.    หลักเกณฑ์ กฎหมายและกฎระเบียบระดับท้องถิ่น และข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)     หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

         - ภาพการตรวจประเมิน รายงานการตรวจประเมิน

 (ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          - ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมการตรวจประเมินที่เกี่ยวข้อง เช่น Organic  และ หลักสูตรเกี่ยวกับ GMP หรือ HACCP หรือหลักสูตรเกี่ยวกับการบริหารการจัดการความปลอดภัยอาหาร

 (ค)    คำแนะนำในการประเมิน

         - ภาพการตรวจประเมิน รายงานการตรวจประเมินที่จัดทำไม่เกิน 2 ปี

 (ง)     วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามคู่มือการประเมิน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ก)    คำแนะนำ

       ผู้จะเข้ามาประเมินจะต้องแสดงความรู้ในการเตรียมการตรวจประเมิน



(ข)   คำอธิบายรายละเอียด

        ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมินแปลง ดังนี้

       - ข้อมูลเกษตรกร ได้แก่ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร เลขที่บัตรบัตรประชาชน

       - ข้อมูลแปลง ได้แก่ ชื่อแปลง พิกัดแปลง พืชที่ขอรับรองฯ ปัจจัยการผลิตที่ใช้ แหล่งที่มาของปัจจัยการผลิต รวมถึง บุคลากร เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต และเทคโนโลยีในการผลิต แหล่งน้ำที่ใช้ ภาพวาดแปลง

         การจัดทำบันทึกและจัดเก็บเอกสารหลักฐานอย่างเป็นระบบ  ต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มีหลักฐานเชิงประจักษ์ หรือแหล่งอ้างอิงของข้อมูลที่จัดเก็บ

         การรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee Systems) โดย IFOAM ได้นิยาม Participatory Guarantee Systems (PGS) are locally focused quality assurance systems. They certify producers based on active participation of stakeholders and are built on a foundation of trust, social networks and knowledge exchange.

         การรับรองแบบมีส่วนร่วม คือ "ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น ที่ให้การรับรองผู้ผลิตโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อถือ เครือข่ายทางสังคม และการแลกเปลี่ยนความรู้ "

         IFOAM กำหนดนิยาม PGS หมายถึง ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์โดยชุมชน การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของชุมชน ภายใต้หลักกการพื้นฐาน ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การเป็นเครือข่ายทางสังคม และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรรายย่อยให้มีโอกาสเข้าถึงตลาดได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการบริโภคในประเทศ ด้วยการให้ชุมชนมีส่วนร่วมกันในการจัดระบบการรับรองอย่างน่าเชื่อถือ มีหลักการที่ใช้ในการควบคุมกลุ่มผู้ผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐาน ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์ร่วม 2) การมีส่วนร่วม 3) ความโปร่งใส 4) ความไว้วางใจ 5) ความสัมพันธ์แนวราบ และ 6) การเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การกำหนดการประชุมร่วมกัน การร่วมตรวจเยี่ยมฟาร์มเพื่อน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เห็นแนวปฏิบัติของเพื่อน ทำให้เป็นแนวทางในการพัฒนาฟาร์มตนเอง รวมทั้ง การพิจารณาผลการตรวจฟาร์มในที่ประชุมกลุ่มเพื่อให้ผู้ผลิตเกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาฟาร์มตนเองให้เข้าสู่มาตรฐานได้ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 วิธีการประเมิน

        - การสอบข้อเชียน

        - การสอบสัมภาษณ์

        - แฟ้มสะสมผลงาน



18.2 เครื่องมือ

        - ผลการสอบข้อเขียน

        - แบบบันทึกสัมภาษณ์

        - แบบบันทึกแฟ้มสะสมผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ