หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ทดสอบความพร้อมใช้งานเครื่องจักร/อุปกรณ์ หลังงานซ่อมบำรุง

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-OVPU-515A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ทดสอบความพร้อมใช้งานเครื่องจักร/อุปกรณ์ หลังงานซ่อมบำรุง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมและซ่อมบำรุง ระดับ 3  

ISCO-08

7233 ช่างซ่อมบำรุงประจำโรงงาน/ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรม    

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถทดสอบการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์หลังงานซ่อมบำรุงตามมาตรฐานหรือคู่มือ ทดสอบการทำงานของเครื่องจักร/อุปกรณ์หลังการติดตั้งตามมาตรฐานหรือคู่มือ บันทึกและรายงานผลการทดสอบอุปกรณ์ในงานซ่อมบำรุง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 กรมโรงงาน2) กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25643) กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 25624) กฎกระทรวง เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25585) กฎกระทรวง เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2564 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-MR01-3-0051

ทดสอบการใช้งานเครื่องจักรและอุปกรณ์หลังงานซ่อมบำรุง

1. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลก่อนเริ่มงานทดสอบ

BMG-MR01-3-0051.01 171267
BMG-MR01-3-0051

ทดสอบการใช้งานเครื่องจักรและอุปกรณ์หลังงานซ่อมบำรุง

2. ตรวจสอบสภาพและการทำงานของเครื่องจักร/อุปกรณ์ โดยใช้เครื่องมือทดสอบ 

BMG-MR01-3-0051.02 171268
BMG-MR01-3-0051

ทดสอบการใช้งานเครื่องจักรและอุปกรณ์หลังงานซ่อมบำรุง

3. ทดสอบการใช้งานของเครื่องจักร/อุปกรณ์ตามคู่มือการใช้งาน

BMG-MR01-3-0051.03 171269
BMG-MR01-3-0051

ทดสอบการใช้งานเครื่องจักรและอุปกรณ์หลังงานซ่อมบำรุง

4. ทดสอบการทำงานของเครื่องจักร/อุปกรณ์หลังการติดตั้ง หรือหลังการซ่อมบำรุง

BMG-MR01-3-0051.04 171270
BMG-MR01-3-0051

ทดสอบการใช้งานเครื่องจักรและอุปกรณ์หลังงานซ่อมบำรุง

5. ตรวจสอบใบรับประกันเพื่อเป็นการแสดงความเชื่อมั่นในสินค้า 

BMG-MR01-3-0051.05 171271
BMG-MR01-3-0052

บันทึกและรายงานผลการทดสอบอุปกรณ์ในงานซ่อมบำรุง

1. บันทึกและรายงานผลการทดสอบ

BMG-MR01-3-0052.01 171272
BMG-MR01-3-0052

บันทึกและรายงานผลการทดสอบอุปกรณ์ในงานซ่อมบำรุง

2. บันทึกวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงเพื่อเป็นข้อมูล สถิติและการแก้ไข 

BMG-MR01-3-0052.02 171273
BMG-MR01-3-0052

บันทึกและรายงานผลการทดสอบอุปกรณ์ในงานซ่อมบำรุง

3. ทำป้ายแสดงการตรวจเช็คและซ่อมบำรุง

BMG-MR01-3-0052.03 171274
BMG-MR01-3-0052

บันทึกและรายงานผลการทดสอบอุปกรณ์ในงานซ่อมบำรุง

4. อบรมแนะนำการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

BMG-MR01-3-0052.04 171275
BMG-MR01-3-0052

บันทึกและรายงานผลการทดสอบอุปกรณ์ในงานซ่อมบำรุง

5. แนะนำการบำรุงรักษาและการซ่อมบำรุงขั้นต้นให้กับผู้ใช้งาน

BMG-MR01-3-0052.05 171276

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการติดต่อสื่อสาร ถ่ายทอดงาน

2. ทักษะในการอ่าน วิเคราะห์และการใช้ภาษาเชิงเทคนิค

3. ทักษะในการควบคุมงาน

4. ทักษะในการวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ และการทดสอบโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางกล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

  1. ความรู้ด้านการถ่ายเทความร้อน Heat Transfer เทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics) และ

  กลศาสตร์ของไหล (Fluid mechanics) เป็นต้น 

  2. ความรู้ระบบผลิตไอน้ำจากหม้อไอน้ำ ระบบเตาเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลและชีวภาพ

  3. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ก๊าซ หรือกังหันก๊าซ

  4. ความรู้ด้านสมบัติทางเครื่องกล หรือด้านไฟฟ้าเชิงลึก 

  5. ความรู้เกี่ยวกับหลักการกระบวนการผลิต เครื่องมือวิเคราะห์ทางกล 

  6. ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานและขั้นสูงด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

  7. ความรู้ด้านการใช้งานระบบบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์

  8. ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

3. ผลการสอบข้อเขียน

4. ผลการทดสอบสัมภาษณ์/ปฏิบัติ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. สอบปรนัย

2. สอบสัมภาษณ์

3. สอบสถานการณ์จำลอง

4. สอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด  

1. เครื่องจักร/อุปกรณ์: มีอะไรบ้าง

2. การบันทึกการทำงานของเครื่องจักร ต้องทำประวัติเครื่องจักร โดยมีการจดบันทึก ไม่ว่าจะเป็นรายการแจ้งซ่อม รายการ Spare Part และรายละเอียดการแจ้งซ่อม เพื่อทำรายงานการบำรุงรักษาและรายการตรวจเซ็คเครื่องจักรประจำวัน และจัดการวางแผนบำรุงรักษา (PM) 

3. เอกสารที่เกี่ยวข้องในการบันทึกการทำงานของเครื่องจักร เช่น 

    - ประวัติเครื่องจักรที่มีรายละเอียดชื่อเครื่องจักร เช่น ยี่ห้อ รุ่น ตัวแทนจำหน่าย รายละเอียดการใช้งาน ข้อมูลทางกล ทางไฟฟ้า เป็นต้น

    - ใบแจ้งงาน/รายละเอียดการแจ้งซ่อม เอกสารการแจ้งซ่อมจากผู้ใช้งานเครื่องจักร โดยมีรายละเอียด เช่น วันที่แจ้ง สถานะการแจ้ง แผนก/หน่วยงานที่แจ้ง ชื่อเครื่องจักร/อุปกรณ์ ผู้แจ้ง ผู้อนุมติ เวลาดำเนินการและกำหนดแล้วเสร็จ

รายละเอียด เป็นต้น

    - รายการชิ้นส่วนอะไหล่ (Spare Part) โดยมีรายละเอียด ชื่อเครื่องจักร หมายเลขเครื่อง รายการชิ้นส่วนอะไหล่

ผู้จัดทำ ผู้อนุมัติ เป็นต้น

    - รายละเอียดการซ่อมเครื่องจักร โดยมีรายละเอียดชื่อเครื่องจักร วันที่ซ่อม รายละเอียดการซ่อม วิธีการแก้ไข อุปกรณ์

ที่ปรับเปลี่ยน ราคา ผู้ทำการซ่อม เป็นต้น

   - รายงานการบำรุงรักษาและการตรวจเครื่องจักรประจำวัน โดยมีรายละเอียด หมายเลขเครื่องจักร ชื่อเครื่องจักร แผน PM ผลการตรวจ สถานะ ตำแหน่งที่ตรวจ รายละเอียดที่ตรวจ วิธีการตรวจ ผู้ตรวจเช็ค ผู้ตรวจสอบ เป็นต้น

4. ระบบบำรุงรักษาด้วยคอมพิวเตอร์: ระบบบริหารและจัดการงานซ่อมบำรุงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (ระบบ CMMS หรือ Computerized Maintenance Management System)

5. การทดสอบอุปกรณ์หลังงานซ่อมบำรุง เช่น

    - การทดสอบในสภาวะเครื่องเย็น 

    - การทดสอบในสภาวะร้อน 

    - การทดสอบกังหัน (turbine) จะตรวรจทั้งตอนเย็นและร้อน 

    - การทดสอบระบบควมปลอดภัยของอุปกรณ์หลักต่างๆ เช่น Boiler/Turbine

6. การตรวจสอบใบรับประกันเครื่องจักร เช่น Performance test, Test report, Calibration report หรือใบประกันการปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ หรือ Service report โดยการตรวจสอบใบรับประกัน หรือใบสอบเทียบอุปกรณ์ว่าหมดอายุหรือยัง โดยต้องตรวจภายใต้เงื่อนไขการประกัน

1) ล็อคเอ้าท์และแท็กเอ้าท์ (Lock out/Tag out: LOTO) หรือการตัดแยกพลังงาน พนักงานซ่อมบำรุงจะร่วมดำเนินการกับฝ่ายเดินเครื่อง เป็นการ Isolation แยกเครื่องจักร/อุปกรณ์ ออกจากแหล่งพลังงาน ป้องกันการเชื่อมต่อพลังงานแบบไม่ได้ตั้งใจ

- Lock out คือการล็อคพลังงานต่างๆ เช่น พลังงานไฟฟ้า สารเคมี เครื่องจักรกล อุณหภูมิ หรือพลังงานในรูปแบบอื่นๆ โดยการใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับเป็นอุปกรณ์ในการล็อคแหล่งกำเนิดพลังงาน เพื่อให้แน่ใจว่าพลังงานถูกควบคุมไว้ไม่ถูกปลดปล่อยในระหว่างที่ทำการล็อคอยู่ก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ปฎิบัติงานได้ โดยระบบ Lock outมี 3 ประเภทคือ 

- Tag out คือแผ่นป้ายแสดงข้อความเตือนอันตรายหรือรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการตัดแยกที่ตัวอุปกรณ์ที่อยู่ในกระบวนการผลิต ซึ่งจะมีการแขวนป้ายไว้ที่อุปกรณ์ที่ถูกกุญแจล็อกไว้จนงานเสร็จ จึงจะสามารถปลอดป้ายออกได้ โดยระบบ Tag out จะใช้งานร่วมกับ Lock out เสมอ 

กระบวนการดำเนินงานที่ต้องมี Lock out/Tag out ทุกครั้ง เช่น การซ่อมบำรุงรักษาตรวจเช็คสภาพ (Preventive Maintenance : PM) ตามรอบระยะชั่วโมงการทำงาน การซ่อมแซมต่างๆ (Breakdown : BM) เพื่อเปลี่ยนอะไหล่อุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหาย หรือการทำความสะอาด (Cleaning) ตามรอบการผลิต ฯลฯ การดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องมีช่างซ่อมบำรุง หรือพนักงานที่เกี่ยวข้องเข้าทำงานในพื้นที่ที่อาจเกิดอันตราย ขั้นตอนการล็อคเอ้าท์ แท็กเอ้าท์นั้นปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในตัวของพนักงานผู้ปฏิบัติเอง และเป็นตามที่กฎหมายกำหนด (กฏกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2564 และกฎทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาขีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร ปั่นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ