หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตตามคำสั่ง

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-KQPC-510A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตตามคำสั่ง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมและซ่อมบำรุง ระดับ 2

ISCO-08

7233 ช่างซ่อมบำรุงประจำโรงงาน/ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิต ตรวรจสอบ ติดตั้ง และซ่อมบำรุง เครื่องจักรและอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตได้ในเบื้องต้น ซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance: PM) ภายใต้การควบคุมและดูแลของหัวหน้างาน พร้อมบันทึกและรายงานผลการดำเนินงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 กรมโรงงาน2) กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25643) กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 25624) กฎกระทรวง เรื่อง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25585) กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2564 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-MR01-2-0021

เตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

1. อธิบายการทำงานของเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า/ความร้อน

BMG-MR01-2-0021.01 171210
BMG-MR01-2-0021

เตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

2. อธิบายวิธีการใช้เครื่องมือวัด การปรับแก้ไขและการติดตั้งเครื่องมือวัดในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรเบื้องต้น

BMG-MR01-2-0021.02 171211
BMG-MR01-2-0021

เตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

3. อธิบายวิธีการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและการใช้เครื่องมือซ่อมบำรุง

BMG-MR01-2-0021.03 171212
BMG-MR01-2-0021

เตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

4. อ่านและใช้คู่มือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

BMG-MR01-2-0021.04 171213
BMG-MR01-2-0021

เตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

5. เตรียมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในงานซ่อมบำรุง

BMG-MR01-2-0021.05 171214
BMG-MR01-2-0021

เตรียมความพร้อมในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

6. ประสานเจ้าหน้าที่ภาคสนาม เจ้าของพื้นที่ในการเข้าซ่อมบำรุง

BMG-MR01-2-0021.06 171215
BMG-MR01-2-0022

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตตามคำสั่ง

1. ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรในกระบวนการผลิต

BMG-MR01-2-0022.01 171216
BMG-MR01-2-0022

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตตามคำสั่ง

2. ซ่อมบำรุงเครื่องจักร ตามคำสั่ง 

BMG-MR01-2-0022.02 171217
BMG-MR01-2-0022

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตตามคำสั่ง

3. ทดสอบเครื่องจักรหลังการซ่อมบำรุง ตามคำสั่ง (ทดสอบร่วมกับ หน.งาน)

BMG-MR01-2-0022.03 171218
BMG-MR01-2-0022

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตตามคำสั่ง

4. รายงานผลการตรวจสอบและซ่อมบำรุงเครื่องจักร 

BMG-MR01-2-0022.04 171219
BMG-MR01-2-0023

ซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

1. ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรตามแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (PM) 

BMG-MR01-2-0023.01 171220
BMG-MR01-2-0023

ซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

2. ให้คำแนะนำกับผู้ปฏิบัติเจ้าหน้าที่ภาคสนาม

BMG-MR01-2-0023.02 171221
BMG-MR01-2-0023

ซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

3. บันทึกและรายงานผลการทดสอบเครื่องจักรหลังการซ่อมบำรุงต่อหัวหน้างาน (อาจจะเป็นระบบคอมพิวเตอรในงานบำรุงรักษาด้วย)

BMG-MR01-2-0023.03 171222

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงเทคนิค และช่างกล

2. ทักษะในการใช้เครื่องมือวัดเชิงกล และทางไฟฟ้า พร้อมตรวจสอบและตั้งค่าการใช้งานได้อย่างถูกต้อง

3. ทักษะในการปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ตามลำดับขั้นตอนตามคู่มือ และคำแนะนำของหัวหน้างาน

4. ทักษะในการติดต่อสื่อสารในเชิงช่าง และการดำเนินงานร่วมกับฝ่ายหรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

5. ทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานและขั้นสูงด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

2. ความรู้ด้านการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics) และกลศาสตร์ของไหล (Fluid mechanics) เป็นต้น 

3. ความรู้ระบบผลิตไอน้ำจากหม้อไอน้ำ ระบบเตาเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลและชีวภาพ

4. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ก๊าซ หรือกังหันก๊าซ

5. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต เครื่องกล และอุปกรณ์มาตรวัด มิเตอร์

6. ความรู้ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานซ่อมบำรุง

7. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน

8. ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. สอบข้อเขียน ข้อสอบปรนัย/ข้อสอบอัตนัย

2. สอบสัมภาษณ์

3. สอบสถานการณ์จำลอง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบของหน่วยสมรรถนะ การซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตขั้นต้น การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ประกอบด้วย การตรวจสอบ ติดตั้งซ่อมบำรุงเครื่องจักร อุปกรณ์ ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย หรือการปฏิบัติตามคู่มือและแผนการซ่อมบำรุงตามระยะเวลา (Preventive maintenance: PM) พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน

(ก) คำแนะนำ 

-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. ตรวจสอบแก้ไขเครื่องจักรระดับขั้นต้น หมายถึง การตรวจสอบและซ่อมบำรุงในระดับพื้นฐานหรือตามแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) เช่น การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น การอัดจารบี การขันน๊อตให้แน่น การปรับเปลี่ยนปะเก็นยาง เป็นต้น

2. อะไหล่ชิ้นส่วนอุปกรณ์ หมายถึง ส่วนประกอบชิ้นส่วนของเครื่องจักร หรือชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกับเครื่องจักร เช่น เกจวัดค่าที่ประกอบต่อกับเครื่องจักร หรือระบบของเครื่องจักร เป็นต้น

3. ซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM) เป็นการซ่อมบำรุงเครื่องจักรเพื่อรักษาสภาพ หรือป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหายกระทันหัน อยู่ในสภาพใช้งานได้ตลอดเวลา ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร/อุปกรณ์ให้ยาวนานขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ