หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-WRZL-509A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมและซ่อมบำรุง ระดับ 2

ISCO-08   

7233 ช่างซ่อมบำรุงประจำโรงงาน/ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรม

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถดูแลรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้าตามรายการตรวจสอบ (Check sheet) ให้อยู่ในสภาพปกติอยู่เสมอ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลการตรวจสอบสภาพภายนอกและการทำงานของเครื่องจักร ตามรายการตรวจสอบ รายงานผลการตรวจสอบพร้อมบันทึกข้อมูลเครื่องจักร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 กรมโรงงาน2) กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25643) กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 25624) กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25585) กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2564 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-MR01-2-0011

ดูแลรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

1. อธิบายกระบวนการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

BMG-MR01-2-0011.01 171201
BMG-MR01-2-0011

ดูแลรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

2. อ่านและใช้คู่มือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

BMG-MR01-2-0011.02 171202
BMG-MR01-2-0011

ดูแลรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

3. ดูแลรักษาเครื่องจักรในการผลิตไฟฟ้า

BMG-MR01-2-0011.03 171203
BMG-MR01-2-0012

ตรวจสภาพเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้าให้อยู่ในสภาวะการใช้งานปกติ

1. ระบุชนิดอุปกรณ์ที่สำคัญที่ต้องทำการตรวจสอบ

BMG-MR01-2-0012.01 171204
BMG-MR01-2-0012

ตรวจสภาพเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้าให้อยู่ในสภาวะการใช้งานปกติ

2. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า (ตามคำสั่ง ภายใต้การดูแลของ หน.งาน) ความผิดปกติ การรั่วซึมของท่อ ภายใต้คำสั่ง

BMG-MR01-2-0012.02 171205
BMG-MR01-2-0012

ตรวจสภาพเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้าให้อยู่ในสภาวะการใช้งานปกติ

3. ตรวจสอบการทำงานของระบบที่เกี่ยวข้อง (ตามคำสั่งภายใต้การดูแลของ หน.งาน)

BMG-MR01-2-0012.03 171206
BMG-MR01-2-0013

ตรวจสภาพเครื่องจักรตามรายการตรวจสอบ (Check Sheet)

1. ตรวจสอบสภาพภายนอกและการทำงานของเครื่องจักรตามรายการตรวจสอบ (Check-list)

BMG-MR01-2-0013.01 171207
BMG-MR01-2-0013

ตรวจสภาพเครื่องจักรตามรายการตรวจสอบ (Check Sheet)

2. บันทึกข้อมูลการตรวจสอบสภาพภายนอกและการทำงานของเครื่องจักรตามรายการตรวจสอบ (Check Sheet)

BMG-MR01-2-0013.02 171208
BMG-MR01-2-0013

ตรวจสภาพเครื่องจักรตามรายการตรวจสอบ (Check Sheet)

3. รายงานผลการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลเครื่องจักร

BMG-MR01-2-0013.03 171209

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการติดต่อสื่อสารในเชิงช่าง 

2. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงเทคนิค

3. ทักษะในการปฏิบัติ จดบันทึกและอ่านค่าระบบมาตรวัด เกจ แรงดัน 

4. ทักษะด้านการปรับเปลี่ยน ซ่อมบำรุงและการใช้เครื่องมือช่าง

5. ทักษะการใช้งานระบบฐานข้อมูลงานซ่อมบำรุง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

2. มีความรู้พื้นฐานด้านไฟฟ้า/เครื่องกล/อุตสาหกรรม

3. ความรู้ด้านการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics) และกลศาสตร์ของไหล (Fluid mechanics) เป็นต้น 

4. ความรู้ระบบผลิตไอน้ำจากหม้อไอน้ำ ระบบเตาเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลและชีวภาพ

5. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ก๊าซ หรือกังหันก๊าซ

6. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต

7. ความรู้ความด้านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์งานซ่อมบำรุง

8. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน

9. ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการการผลิตน้ำใช้ในอุตสาหกรรม หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้อง

(ค)  คำแนะนำในการประเมิน

1. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. สอบความรู้ ข้อสอบปรนัย/ข้อสอบอัตนัย

2. สอบสัมภาษณ์

3. สอบสถานการณ์จำลอง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ

อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. ความรู้ด้านไฟฟ้าพื้นฐาน หมายถึง มีความรู้ความเข้าใจทฤษฎีไฟฟ้า การกำเนิดไฟฟ้า และความปลอดภัย

2. ค่าบันทึก Check sheet หมายถึง ตารางค่าพารามิเตอร์ที่ออกแบบไว้เพื่อทำการตรวจสภาพของเครื่องจักรรายชั่วโมง

3. ซ่อมบำรุงปรับแก้ไขเครื่องจักรในขั้นต้น หมายถึง การซ่อมบำรุง ปรับแก้ไขเครื่องจักรเบื้องต้นก่อนการส่งแจ้งฝ่ายซ่อมบำรุง 

4. การรายงานผลการตรวจสอบแก้ไขเครื่องจักรขั้นต้น โดยฝ่ายซ่อมบำรุงจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ครอบคลุมเครื่องจักรที่สำคัญในงานบำรุงรักษา รายละเอียดของรายงานการบำรุงรักษาเครื่องจักรขั้นต้น ประกอบด้วย

-    ระบุความสำคัญของเครื่องจักรว่าสําคัญมากหรือสําคัญน้อย เพื่อจะได้นําข้อมูลนี้ไปจัดทําแผนในการบํารุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)

-    จัดทําแบบฟอร์มสําหรับตรวจสอบเครื่องจักรเบื้องต้นประจําสัปดาห์ จากนั้นให้นําไปติดไว้ที่หน้าเครื่องเพื่อให้พนักงานประจําเครื่องลงบันทึกผลการตรวจสอบทุกๆ ต้นสัปดาห์ เป็น อย่างน้อย

-    จัดทําแผนการบํารุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ประจําปี

-    รายงานการตรวจสอบและบํารุงรักษาเครื่องจักรโดยอ้างอิงตามแผนการบํารุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ประจําปำที่

จัดทําขึ้น 

-    กรณีที่มีเหตุการณ์เครื่องจักรพัง ชํารุด หรือ เสียหาย ให้ผู้ใช้งานทําการเขียนใบแจ้งซ่อมในแบบฟอร์มจากนั้นให้นําเสนออนุมัติตามขั้นตอนที่ระบุในแบบฟอร์ม

-    กรณีที่ต้องสั่งซื้อชิ้นส่วนอะไหล่ต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการจัดซื้อ

-    กรณีที่พบว่าไม่สามารถซ่อมแซมเองได้ ให้ทําการติดต่อผู้ใหบริการจากภายนอกมาทําการซ่อมแซมให้ โดยต้องได้รับการอนุมัติจากหัวหน้างานหรือผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง

-    ชิ้นส่วนอะไหล่ใด ๆ ที่ต้องมีการเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ แจ้งหัวหน้างานหรือเจ้าหน้าที่ซ่อมบํารุงทําการจัดซื้อจัดหามาเป็นอะไหล่

-    สํารองอะไหล่ (Spare Part) สําหรับการเปลี่ยนให้เครื่องจักรในครั้งต่อไป ทั้งนี้ให้พิจารณาเรื่องจํานวนต่ำสุด (Minimum Stock) และจํานวนสูงสุด (Maximum Stock) ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับ (ขอบเขตเกินขั้นต้นหรือไม่)

1. ความถี่ในการเปลี่ยน หรือ ความถี่ในการชํารุด

2. ความยากง่ายในการจัดซื้อจัดหา

3. ระยะเวลาในการจัดซื้อจัดหา เป็นต้น

4. ตรวจสอบการทำงานของระบบที่เกี่ยวข้อง เป็นการตรวจสอบตามคำสั่งภายใต้การดูแลของ หัวหน้างาน หรือข้อกำหนดใน Work Permit

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ