หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-IRSG-505A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตไฟฟ้า ระดับ 4

ISCO-08

3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องกังหันผลิตไฟฟ้า/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า

2151 วิศวกรไฟฟ้ากำลัง/วิศวกรไฟฟ้า/วิศวกรเครื่อกลไฟฟ้ากำลัง           

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า สามารถตรวรจสอบแก้ไขเครื่องจักรได้ในเบื้องต้น ติดตั้งซ่อมบำรุงเครื่องจักร อุปกรณ์ ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติตามคู่มือและแผนการซ่อมบำรุงตามระยะเวลา (Preventive maintenance: PM) ทดสอบการทำงานของเครื่องจักรหลังงานซ่อมบำรุงพร้อมรายงานผลการปฎิบัติงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) พรบ. จดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 กรมโรงงาน2) พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25543) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25424) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 25425) กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 25426) กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25427)  กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2542 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-EP01-4-0041

ตรวจสอบแก้ไขเครื่องจักรขั้นต้น

1. อธิบายหลักการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-4-0041.01 171142
BMG-EP01-4-0041

ตรวจสอบแก้ไขเครื่องจักรขั้นต้น

2. อธิบายวิธีการใช้เครื่องมือวัดในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-4-0041.02 171143
BMG-EP01-4-0041

ตรวจสอบแก้ไขเครื่องจักรขั้นต้น

3. อธิบายวิธีการใช้เครื่องมือในการซ่อมบำรุง

BMG-EP01-4-0041.03 171144
BMG-EP01-4-0041

ตรวจสอบแก้ไขเครื่องจักรขั้นต้น

4. อ่านและใช้คู่มือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร

BMG-EP01-4-0041.04 171145
BMG-EP01-4-0041

ตรวจสอบแก้ไขเครื่องจักรขั้นต้น

5. ประสานเจ้าของพื้นที่ในการซ่อมบำรุง

BMG-EP01-4-0041.05 171146
BMG-EP01-4-0041

ตรวจสอบแก้ไขเครื่องจักรขั้นต้น

6. ตรวจสอบและแก้ไขเครื่องจักรขั้นต้น 

BMG-EP01-4-0041.06 171147
BMG-EP01-4-0041

ตรวจสอบแก้ไขเครื่องจักรขั้นต้น

7. รายงานผลการตรวจสอบแก้ไขเครื่องจักรขั้นต้น

BMG-EP01-4-0041.07 171148
BMG-EP01-4-0042

ซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษา (PM)

1. ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรตามแผนการบำรุงรักษา (PM) 

BMG-EP01-4-0042.01 171149
BMG-EP01-4-0042

ซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษา (PM)

2. ให้คำแนะนำกับผู้ปฏิบัติเจ้าหน้าที่ภาคสนาม

BMG-EP01-4-0042.02 171150
BMG-EP01-4-0042

ซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษา (PM)

3. จัดทำแบบบันทึกการซ่อมบำรุงรักษา

BMG-EP01-4-0042.03 171151
BMG-EP01-4-0043

ทดสอบการทำงานหลังการซ่อมบำรุง

1. ทดสอบเครื่องจักรหลังการซ่อมบำรุง 

BMG-EP01-4-0043.01 171152
BMG-EP01-4-0043

ทดสอบการทำงานหลังการซ่อมบำรุง

2. รายงานผลการทดสอบเครื่องจักรหลังการซ่อมบำรุง

BMG-EP01-4-0043.02 171153
BMG-EP01-4-0043

ทดสอบการทำงานหลังการซ่อมบำรุง

3. ทำป้ายแนะนำการใช้งาน และการบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์ ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เป็นปกติ

BMG-EP01-4-0043.03 171154
BMG-EP01-4-0044

บันทึกสรุปผลการซ่อมบำรุง เครื่องจักร

1. บันทึกผลการซ่อมบำรุงเครื่องจักรขั้นต้น

BMG-EP01-4-0044.01 171155
BMG-EP01-4-0044

บันทึกสรุปผลการซ่อมบำรุง เครื่องจักร

2. บันทึกผลการใช้ชิ้นส่วน อุปกรณ์ในการซ่อมบำรุง

BMG-EP01-4-0044.02 171156
BMG-EP01-4-0044

บันทึกสรุปผลการซ่อมบำรุง เครื่องจักร

3. จัดทำการเบิกวัสดุอุปกรณ์และอะไหล่ชิ้นส่วน

BMG-EP01-4-0044.03 171157

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงเทคนิค และช่างกล

2. ทักษะในการใช้เครื่องมือวัดเชิงกล และทางไฟฟ้า พร้อมตรวจสอบและตั้งค่าการใช้งานได้อย่างถูกต้อง

3. ทักษะในการปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไขเครื่องจักร อุปกรณ์ตามลำดับขั้นตอนตามคู่มือ และคำแนะนำของหัวหน้างาน

4. ทักษะในการติดต่อสื่อสารในเชิงช่าง และการดำเนินงานร่วมกับฝ่ายหรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

5. ทักษะในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับงานบำรุงรักษา



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานและขั้นสูงด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

2. ความรู้ด้านการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics) และกลศาสตร์ของไหล (Fluid mechanics) เป็นต้น 

3. ความรู้ระบบผลิตไอน้ำจากหม้อไอน้ำ ระบบเตาเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลและชีวภาพ

4. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ก๊าซ หรือกังหันก๊าซ

5. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต เครื่องกล และอุปกรณ์มาตรวัด มิเตอร์

6. ความรู้ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับงานบำรุงรักษา

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. สอบข้อเขียน สอบปรนัย/อัตนัย

2. สอบสัมภาษณ์

3. สอบสถานการณ์จำลอง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบของหน่วยสมรรถนะ การซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ประกอบด้วย การตรวจสอบ ติดตั้งซ่อมบำรุงเครื่องจักร อุปกรณ์ ตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย หรือการปฏิบัติตามคู่มือและแผนการซ่อมบำรุงตามระยะเวลา (Preventive maintenance: PM) พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน

(ก) คำแนะนำ 

-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

ผู้ดำเนินการด้านตรวจสอบ ติดตั้ง ซ่อมบำรุง เครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า สำหรับ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมกระบวนการผลิตไฟฟ้า จะต้องดำเนินการตรวจเช็คแก้ไขเครื่องจักรขั้นต้น ซ่อมบำรุงตามแผน PM ระดับไม่ซับซ้อน บันทึกข้อมูลค่าพารามิเตอร์ 

1. ตรวจเช็คแก้ไขเครื่องจักรระดับในกระบวนการผลิตไฟฟ้าขั้นต้น หมายถึง การตรวจเช็คและซ่อมบำรุงในระดับพื้นฐานหรือตามแผน PM เช่น การน้ำมันหล่อลื่น จารบี น๊อต การปรับเปลี่ยนปะเก็นยาง เป็นต้น

2. ชิ้นส่วนอะไหล่อุปกรณ์ หมายถึง ส่วนประกอบชิ้นส่วนของเครื่องจักร หรือชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องกับเครื่องจักร เช่น เกจวัดค่าที่ประกอบต่อกับเครื่องจักร หรือระบบของเครื่องจักร เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ