หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้าเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-PILI-507A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้าเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance: PM)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตไฟฟ้า ระดับ 5

ISCO-08

3131 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคคุมเครื่องกังหันผลิตไฟฟ้า/ช่างเทคนิคคุมเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า

2151 วิศวกรไฟฟ้ากำลัง/วิศวกรไฟฟ้า/วิศวกรเครื่อกลไฟฟ้ากำลัง           

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้าเชิงป้องกัน มีความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อน ใช้เครื่องมือวัดในการตรวจสอบในการตรวจสอบกระบวนการผลิต สามารถตรวจสอบและประเมินความเสียหายของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟฟ้า และซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร รายงานผลการบำรุงรักษา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25542) กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2542 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-EP01-5-0021

เตรียมความพร้อมในการบำรุงรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

1. อธิบายการทำงานของเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า/ ความร้อน

BMG-EP01-5-0021.01 171181
BMG-EP01-5-0021

เตรียมความพร้อมในการบำรุงรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

2. อธิบายวิธีการใช้งานของเครื่องมือวัด การปรับแก้ไขและการติดตั้งเครื่องมือวัด

BMG-EP01-5-0021.02 171182
BMG-EP01-5-0021

เตรียมความพร้อมในการบำรุงรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

3. อธิบายวิธีการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมบำรุง

BMG-EP01-5-0021.03 171183
BMG-EP01-5-0021

เตรียมความพร้อมในการบำรุงรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

4. อ่านแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้าเชิงป้องกัน

BMG-EP01-5-0021.04 171184
BMG-EP01-5-0021

เตรียมความพร้อมในการบำรุงรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

5. ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรในในกระบวนการผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-5-0021.05 171185
BMG-EP01-5-0022

ซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร

1. ประสานเจ้าหน้าที่ภาคสนาม เจ้าของพื้นที่ในการเข้าซ่อมบำรุง

BMG-EP01-5-0022.01 171186
BMG-EP01-5-0022

ซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร

2. ตรวจสอบและประเมินความเสียหายของเครื่องจักรในระบบผลิตไฟฟ้า

BMG-EP01-5-0022.02 171187
BMG-EP01-5-0022

ซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร

3. ซ่อมบำรุงเครื่องจักรตามแผน

BMG-EP01-5-0022.03 171188
BMG-EP01-5-0022

ซ่อมบำรุงตามแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักร

4. ตรวจสอบและรายงานผลหลังการบำรุงรักษา

BMG-EP01-5-0022.04 171189

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการติดต่อสื่อสารเชิงช่าง

2. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิศวกรรมศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

3. ทักษะในการวิเคราะห์ใช้ตรรกะ และเหตุผลในการระบุจุดแข็ง และจุดอ่อน และสรุปแนวทางการแก้ปัญหา

4. ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

5. ทักษะการใช้เครื่องมือช่างในการซ่อมแซม

6. ทักษะในการใช้งานโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับงานบำรุงรักษา

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านกระบวนการผลิตพลังงานความร้อน และไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลและชีวภาพ

2. ความรู้ด้านสมบัติทางเครื่องกล การอ่านแบบหรือด้านไฟฟ้าเชิงลึก

3. ความรู้ด้านการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics) และ

    กลศาสตร์ของไหล (Fluid mechanics) เป็นต้น 

4. ความรู้เกี่ยวกับหลักการกระบวนการผลิต เครื่องมือวิเคราะห์ทางกล 

5. ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานและขั้นสูงด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

6. ความรู้ในการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในงานบำรุงรักษา

7. ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. สอบข้อเขียน ข้อสอบปรนัย/ข้อสอบอัตนัย

2. สอบสัมภาษณ์

3. สอบสถานการณ์จำลอง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา ออกแบบการปรับปรุง และวางแผนการซ่อมบำรุง ให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

(ก) คำแนะนำ 

-N/A-

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. มีความรู้เรื่องเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า/ความร้อน หมายถึง การมีความรู้ในอาชีพที่ปฏิบัติงานด้านไฟฟ้าหรือความร้อน

2. ขอบเขตของกระบวนการปฏิบัติ หมายถึง การกำหนดขอบเขตการใช้งานตั้งค่าเครื่องจักร

3. ประสานเจ้าหน้าฝ่ายผลิตในการเข้าซ่อมบำรุงเครื่องจักร หมายถึง การประสานแจ้งเจ้าหน้าที่หน้างานเพื่อเข้าซ่อมบำรุงเครื่องจักรโดยอาจจะต้องหยุดระบบหรือปรับเปลี่ยนโหมดสายการผลิต

4. ระบบริหารและจัดการงานซ่อมบำรุงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CMMS หรือ Computerized Maintenance Management) เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อเก็บฐานข้อมูลงานซ่อมทั้งหมดในองค์กร ตั้งแต่ขั้นตอนการออกงานแจ้งซ่อม (Maintenance Notification: MN) และใบแจ้งซ่อมถูกนำเข้าสู่กระบวนการวางแผนซ่อม (Planning) ว่าใช้กำลังคน เวลา และสามารถเข้าไปซ่อมได้เมื่อใด ความสำคัญของงานซ่อม จนออกใบสั่งซ่อม (Maintenance Order: MO) โปรแกรมงานซ่อมบำรุงเป็นส่วนสำคัญในโรงงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ