หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบกระบวนการผลิตความร้อนให้อยู่ในสภาวะปกติ

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-LYVK-488A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบกระบวนการผลิตความร้อนให้อยู่ในสภาวะปกติ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน ระดับ 4

รหัส ISCO-08     

2152 วิศวกรเครื่องกลความร้อน

3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมความร้อน

3139 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคควบคุมระบบเครื่องทำความร้อน    

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อนเพื่อควบคุมให้ทำงานอยู่ในสภาวะปกติ โดยมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตความร้อนและหลักการทำงานกับเครื่องจักรอย่างปลอดภัย เฝ้าระวังในจุดสำคัญของกระบวนการทำงานของเครื่องจักร เพื่อดูแลให้เครื่องจักรทำงานงานอย่างปกติ และสามารถประเมินโอกาสหรือแนวโน้มการทำงานผิดปกติของเครื่องจักรได้ในเบื้องต้นเพื่อเฝ้าระวังปัญหา รายงานผลการดำเนินงานและแนวโน้มของปัญหา รวมถึงประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรายงานผลการตรวจสอบกระบวนการผลิตความร้อน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1)  พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25542)  กฏกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  ปั้นจั่น  และหม้อน้ำ  พ.ศ. 2564 3)  กฎกระทรวง เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-TP01-4-0081

ตรวจสอบเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อนใอยู่ในสภาวะปกติ

1. อธิบายเกี่ยวกับองค์ความรู้ในกระบวนการผลิตความร้อน

BMG-TP01-4-0081.01 170984
BMG-TP01-4-0081

ตรวจสอบเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อนใอยู่ในสภาวะปกติ

2. อธิบายหลักการทำงานของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อน

BMG-TP01-4-0081.02 170985
BMG-TP01-4-0081

ตรวจสอบเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อนใอยู่ในสภาวะปกติ

3. อธิบายความหมายและความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำ

BMG-TP01-4-0081.03 170986
BMG-TP01-4-0081

ตรวจสอบเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อนใอยู่ในสภาวะปกติ

4. อ่านและใช้งานคู่มือปฏิบัติงาน

BMG-TP01-4-0081.04 170987
BMG-TP01-4-0081

ตรวจสอบเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อนใอยู่ในสภาวะปกติ

5. เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือวัดในการเก็บข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

BMG-TP01-4-0081.05 170988
BMG-TP01-4-0081

ตรวจสอบเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อนใอยู่ในสภาวะปกติ

6. ระบุความหมายของสัญลักษณ์ความปลอดภัย และปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

BMG-TP01-4-0081.06 170989
BMG-TP01-4-0081

ตรวจสอบเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อนใอยู่ในสภาวะปกติ

7. ชี้บ่งจุดเฝ้าระวังสำคัญของกระบวนการและเครื่องจักร

BMG-TP01-4-0081.07 170990
BMG-TP01-4-0081

ตรวจสอบเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อนใอยู่ในสภาวะปกติ

8. ตรวจสอบการทำงานของหม้อไอน้ำ ระบบส่งจ่าย และระบบที่เกี่ยวข้อง

BMG-TP01-4-0081.08 170991
BMG-TP01-4-0082

อ่านและบันทึกผลสภาวะการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตความร้อน

1. อ่านค่าจากเครื่องมือ อุปกรณ์ หรือหน้าจอแสดงผลได้อย่างถูกต้อง

BMG-TP01-4-0082.01 170992
BMG-TP01-4-0082

อ่านและบันทึกผลสภาวะการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตความร้อน

2. ใช้แบบบันทึกข้อมูลและบันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

BMG-TP01-4-0082.02 170993
BMG-TP01-4-0082

อ่านและบันทึกผลสภาวะการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตความร้อน

3. ประเมินการโอกาสหรือแนวโน้มในการทำงานผิดปกติของเครื่องจักรได้เบื้องต้น

BMG-TP01-4-0082.03 170994
BMG-TP01-4-0083

รายงานผลการตรวจสอบกระบวนการผลิตความร้อน

1. รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบกระบวนการผลิตความร้อน

BMG-TP01-4-0083.01 170995
BMG-TP01-4-0083

รายงานผลการตรวจสอบกระบวนการผลิตความร้อน

2. วิเคราะห์ปัญหาและแนวโน้มการเกิดปัญหา

BMG-TP01-4-0083.02 170996
BMG-TP01-4-0083

รายงานผลการตรวจสอบกระบวนการผลิตความร้อน

3. สรุปผลการดำเนินงานของระบบผลิตไอน้ำและแนวโน้มการเกิดปัญหา

BMG-TP01-4-0083.03 170997
BMG-TP01-4-0083

รายงานผลการตรวจสอบกระบวนการผลิตความร้อน

4. ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดทำเอกสาร และรายงานผลได้

BMG-TP01-4-0083.04 170998
BMG-TP01-4-0083

รายงานผลการตรวจสอบกระบวนการผลิตความร้อน

5. ประสานงานผู้เกี่ยวข้องเพื่อรายงานผลการตรวจสอบกระบวนการผลิต

BMG-TP01-4-0083.05 170999

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการติดต่อสื่อสารในเชิงช่าง 

2. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงเทคนิค

3. ทักษะในการจดบันทึกและอ่านค่าระบบมาตรวัด เกจ แรงดัน 

4. ทักษะด้านการปรับเปลี่ยน ซ่อมบำรุงและการใช้เครื่องมือช่าง

5. ทักษะในการสังเกตุสิ่งผิดปกติในกระบวนการทำงานของเครื่องจักร

6. ทักษะในการอ่าน/ใช้ คู่มือการปฎิบัติงาน

7. ทักษะการใช้งานโปรแกรมควบคุมเครื่องจักร/ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้การปฏิบัติขั้นพื้นฐานด้าน เครื่องจักรและอุปกรณ์

2. ความรู้ด้านการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เทอร์โมไดนามิคส์ (Thermodynamics) และกลศาสตร์ของไหล (Fluid mechanics) เป็นต้น 

3. ความรู้ระบบผลิตไอน้ำจากหม้อไอน้ำ ระบบเตาเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวมวลและชีวภาพ

4. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิตเครื่องยนต์ก๊าซ หรือกังหันก๊าซ

5. ความรู้ด้านการใช้งานอุปกรณ์ในกระบวนการผลิต

6. ความรู้การใช้งานโปรแกรมควบคุมเครื่องจักร/ระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิตความร้อน สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปกติ/ผิดปกติ

7. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน

8. ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2. หลักฐานการผ่านการอบรม หรือการประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือการดำเนินงานในด้านที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. สอบข้อเขียนโดยข้อสอบปรนัย/อัตนัย

2. สอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดลอมอื่น ๆ หรือสถานการณอื่น ๆ ที่มีผลกระทบตอการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช หรือขอกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวของ

(ก) คำแนะนำ 

-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

ผู้ดำเนินการด้านเฝ้าระวัง ตรวจสอบ บันทึกข้อมูล รายงานผลการดำเนินงาน และปัญหา เจ้าหน้าที่ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน  จะดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์ บันทึกข้อมูลค่าพารามิเตอร์ ตรวจสอบสภาพการใช้งานเครื่องจักร อุปกรณ์ ให้มีสภาพปกติ 

1. ตรวจสอบเครื่องจักรขั้นต้น หมายถึง การตรวจสอบสภาพภายนอกของเครื่องจักร การเดินเครื่องทดสอบและสังเกตจากลักษณะภายนอก 

2. ค่าบันทึก Check sheet หมายถึง ตารางค่าพารามิเตอร์ที่ออกแบบไว้เพื่อทำการตรวจสภาพของเครื่องจักรรายชั่วโมง

3. ค่าบันทึกผลของเครื่องจักรขั้นต้น หมายถึง ค่าตรวจวัดเครื่องจักร เช่น ความดัน อุณหภูมิ การสั่นสะเทือน ความเร็วรอบ เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย





 



ยินดีต้อนรับ