หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทำงานของระบบลำเลียงเถ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-VPOH-486A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทำงานของระบบลำเลียงเถ้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน ระดับ 4

รหัส ISCO-08     

2152 วิศวกรเครื่องกลความร้อน

3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมความร้อน

3139 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคควบคุมระบบเครื่องทำความร้อน    

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถควบคุมการทำงานของระบบลำเลียงเถ้าได้ โดยมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของระบบลำเลียงเถ้า ลักษณะทางกายภาพของเถ้า การนำเถ้าจากระบบไปใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งสามารถวางแผนการจัดการเถ้าที่ออกจากระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และซ่อมแซมระบบลำเลียงเถ้าได้ในเบื้องต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25612)  ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 25483)  ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 25474)  พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 25355)  กฎหมายและมาตรฐานด้านคุณภาพอากาศและเสียง พ.ศ. 25636)  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานเพื่อบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2550 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-TP01-4-0061

ควบคุมการทำงานของระบบลำเลียงเถ้าให้มีประสิทธิภาพ

1. อธิบายกระบวนการทำงานของระบบลำเลียงเถ้า

BMG-TP01-4-0061.01 170959
BMG-TP01-4-0061

ควบคุมการทำงานของระบบลำเลียงเถ้าให้มีประสิทธิภาพ

2. อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของเถ้า 

BMG-TP01-4-0061.02 170960
BMG-TP01-4-0061

ควบคุมการทำงานของระบบลำเลียงเถ้าให้มีประสิทธิภาพ

3. อ่าน/ใช้คู่มือการปฏิบัติงานระบบลำเลียงเถ้า

BMG-TP01-4-0061.03 170961
BMG-TP01-4-0061

ควบคุมการทำงานของระบบลำเลียงเถ้าให้มีประสิทธิภาพ

4. ควบคุมการทำงานของระบบลำเลียงเถ้าให้มีประสิทธิภาพ

BMG-TP01-4-0061.04 170962
BMG-TP01-4-0061

ควบคุมการทำงานของระบบลำเลียงเถ้าให้มีประสิทธิภาพ

5. ตรวจสอบระบบลำเลียงเถ้า และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

BMG-TP01-4-0061.05 170963
BMG-TP01-4-0061

ควบคุมการทำงานของระบบลำเลียงเถ้าให้มีประสิทธิภาพ

6. ประสานงานกับฝ่ายซ่อมบำรุงกรณีระบบขัดข้องเพื่อแก้ไขปัญหา

BMG-TP01-4-0061.06 170964
BMG-TP01-4-0062 จัดการเถ้าที่ออกจากระบบ

1. อธิบายวิธีการจัดเก็บเถ้าที่ออกจากระบบ

BMG-TP01-4-0062.01 170965
BMG-TP01-4-0062 จัดการเถ้าที่ออกจากระบบ

2. วางแผนการจัดการเถ้าและการนำไปใช้ประโยชน์

BMG-TP01-4-0062.02 170966
BMG-TP01-4-0062 จัดการเถ้าที่ออกจากระบบ

3. จัดการเถ้าที่ออกจากระบบ

BMG-TP01-4-0062.03 170967
BMG-TP01-4-0063

ซ่อมบำรุงระบบลำเลียงเถ้าเบื้องต้น

1. อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของระบบลำเลียงเถ้า

BMG-TP01-4-0063.01 170968
BMG-TP01-4-0063

ซ่อมบำรุงระบบลำเลียงเถ้าเบื้องต้น

2. ตรวจวิเคราะห์การทำงานของระบบลำเลียงเถ้า

BMG-TP01-4-0063.02 170969
BMG-TP01-4-0063

ซ่อมบำรุงระบบลำเลียงเถ้าเบื้องต้น

3. ซ่อมแซมระบบลำเลียงให้มีความปลอดภัย

BMG-TP01-4-0063.03 170970
BMG-TP01-4-0063

ซ่อมบำรุงระบบลำเลียงเถ้าเบื้องต้น

4. ประสานงานกับฝ่ายซ่อมบำรุงกรณีไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้

BMG-TP01-4-0063.04 170971

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการควบคุมระบบลำเลียงเถ้าออกจากระบบเผาไหม้

2. ทักษะในบริหารจัดการเถ้าและนำไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

4. ทักษะทางวิศวกรรมและการซ่อมบำรุงเบื้องต้น

5. ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานกับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

6. ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านเครื่องจักร ระบบลำเลียงเถ้า

2. ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติด้านไฟฟ้า/เครื่องจักรกล 

3. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการด้านการขนส่งเถ้า การทำงานของระบบลำเลียงเถ้า 

4. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม

5. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเถ้าไปใช้ประโยชน์

6. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับการทำงาน

7. ความรู้เกี่ยวกับกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ เป็นต้น

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2. หลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. สอบปรนัย

2. สอบสัมภาษณ์

3. สอบสถานการณ์จำลอง

4. สอบข้อเขียน

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านระบบลำเลียงเถ้าให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

(ก) คำแนะนำ 

-N/A-

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

ผู้ดำเนินงานด้านดูแลและควบคุมระบบลำเลียงเถ้า จะต้องบริหารจัดการระบบลำเลียง การซ่อมบำรุงเบื้องต้น และจัดการเถ้าเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ 

1. เถ้าในกระบวนการเผาไหม้ (Fly Ash) เมื่อมีการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน กากก้อย เชื้อเพลิงชีวมวล และอื่นๆ จะมีสิ่งที่ออกจากระบบสู่ลอยสู่ชั้นบรรยากาศ คือ ขี้เถ้าลอย (Fly Ashes) ซึ่งประกอบด้วย ขี้เถ้า ก๊าซ ความชื้น และอื่นๆ โดยสิ่งตกค้างเหล่านี้จะถูกจับโดยระบบดักจับฝุ่น เช่น เครื่องดักจับฝุ่นไฟฟ้าสถิต (ESP) และจัดเก็บชั่วคราวที่ถังพักฝุ่น (Hoppers) ที่อยู่ด้านล่างของระบบ ESP หลังจากนั้นฝุ่นที่พักไว้จะถูกลำเลียงออกจากถังด้วยระบบลำเลียงเถ้า โดยวิธีการอัดอากาศ (Compressed Air) หรือการดูดอากาศ (Vacuum Air) และถูกนำไปเก็บที่ไซโล

2. ระบบลำเลียงถ้า เป็นกระบวนการรวบรวม ขนถ่าย จัดเก็บ และการลำเลียงขี้เถ้าลอย ระบบลำเลียงเถ้าที่ออกจากระบบไปยังถังเก็บเถ้า (Ash Silo) ประกอบด้วย สายพาน (Belt) ระบบลำเสียง (Conveyor) และลูกกลิ้งลำเลียง (Roller)

3. การตรวจสอบระบบลำเลียงเถ้าเบื้องต้น ได้แก่ การตรวจสอบโครงสร้าง ระบบขับเคลื่อน มอเตอร์ เกียร์ อุปกรณ์ส่งกำลังระหว่างเพลา (Coupling) ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Carry Idler Return Idler Drive pulley Tail pulley Snub pulley และ Bend pulley ตลอดจนอุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ เช่น Belt cleaner, Self-aligning, Guide roller และ

อื่น ๆ Pulley/สายพาน เกิดการสึกหรอที่ผิวและยางหุ้มหรือไม่ ตรวจสอบจุดรับ-จ่ายเชื้อเพลิง เช่น Skirt rubber Loading hopper หรือ chute ตรวจสอบโครงสร้างและทางเดิน ตรวจสอบเครื่องต้นกำลังของระบบ เช่น Gear box Bearing และ Motor เป็นต้น

4. การจัดการเถ้า เถ้าลอยจากกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิง จะมีลักษณะและองค์ประกอบของเถ้าลอยขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่ใช้เป็นตเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน ชีวมวล น้ำมัน เป็นต้น

-    การคำนึงสิ่งเจือบนก่อนการกำจัด เช่น การฝังกลบแบบถูกวิธีตามหลักสุขาภิบาล

-    การนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การนำเถ้าไปทำผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง GROUTING งานก่อสร้างถนน งานก่อสร้างเขื่อน งานก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นต้น 

5. กระบวนการขนส่งเถ้าไปยังแหล่งกำจัด โดยเถ้าจากโรงงานอุตสาหกรรมจัดเป็นของเสียอุตสาหกรรม เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน จะต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 โดยในกรณีที่เถ้าลอยมีปริมาณมากและมีโลหะหนักจะไม่สามารถนำไปฝังกลบได้เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีในการนำเถ้าลอยที่มีอันตรายมาใช้ประโยชน์ ก่อนการขนถ่ายเถ้าลอยออกจากโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของกรมโรงงาน โดยมีขั้นตอนการขออนุญาตนำของเสียออกจากบริเวณโรงงาน (แบบ สก.2) ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ