หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการทำงานของระบบห้องเผาไหม้

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-NKRC-484A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการทำงานของระบบห้องเผาไหม้

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน ระดับ 4

รหัส ISCO-08     

2152 วิศวกรเครื่องกลความร้อน

3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมความร้อน

3139 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคควบคุมระบบเครื่องทำความร้อน

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้ โดยมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเผาไหม้ในกระบวนการผลิตความร้อน เครื่องมือวัดในกระบวนการเผาไหม้ได้ ควบคุมและปรับปรุงการเผาไหม้ให้สมบูรณ์ ตรวจสอบระบบห้องเผาไหม้และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมทั้งดูและรักษาและซ่อมบำรุงระบบห้องเผาไหม้ในเบื้องต้น 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25542. กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2542 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-TP01-4-0041

ตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

1. อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดในระบบการเผาไหม้

BMG-TP01-4-0041.01 170931
BMG-TP01-4-0041

ตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

2. อธิบายกระบวนการเผาไหม้ในระบบผลิตความร้อน

BMG-TP01-4-0041.02 170932
BMG-TP01-4-0041

ตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

3. อธิบายวิธีการตรวจวัดองค์ประกอบหลังจากการเผาไหม้ 

BMG-TP01-4-0041.03 170933
BMG-TP01-4-0041

ตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

4. ใช้เครื่องมือวัดในระบบการเผาไหม้ได้ตามคู่มือ

BMG-TP01-4-0041.04 170934
BMG-TP01-4-0041

ตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

5. วิเคราะห์ผลการตรวจวัดเพื่อนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการเผาไหม้ 

BMG-TP01-4-0041.05 170935
BMG-TP01-4-0041

ตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

6. บันทึกผลการตรวจวัดและผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้

BMG-TP01-4-0041.06 170936
BMG-TP01-4-0042

ควบคุมและปรับปรุงการเผาไหม้ให้สมบูรณ์

1. อธิบายองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตความร้อน 

BMG-TP01-4-0042.01 170937
BMG-TP01-4-0042

ควบคุมและปรับปรุงการเผาไหม้ให้สมบูรณ์

2. อธิบายวิธีการควบคุมและปรับปรุงการเผาไหม้เชื้อเพลิง 

BMG-TP01-4-0042.02 170938
BMG-TP01-4-0042

ควบคุมและปรับปรุงการเผาไหม้ให้สมบูรณ์

3. ประสานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (ฝ่ายต้องการ load) เพื่อควบคุมคุณภาพการเผาไหม้ 

BMG-TP01-4-0042.03 170939
BMG-TP01-4-0042

ควบคุมและปรับปรุงการเผาไหม้ให้สมบูรณ์

4. ควบคุมและปรับปรุงสมรรถนะของระบบเผาไหม้

BMG-TP01-4-0042.04 170940
BMG-TP01-4-0043

ซ่อมบำรุงรักษาระบบห้องเผาไหม้เบื้องต้น

1. ตรวจสอบระบบห้องเผาไหม้และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

BMG-TP01-4-0043.01 170941
BMG-TP01-4-0043

ซ่อมบำรุงรักษาระบบห้องเผาไหม้เบื้องต้น

2. ซ่อมบำรุงระบบห้องเผาไหม้และอุปกรณ์เบื้องต้น

BMG-TP01-4-0043.02 170942
BMG-TP01-4-0043

ซ่อมบำรุงรักษาระบบห้องเผาไหม้เบื้องต้น

3. ประสานงานกับฝ่ายซ่อมบำรุง ในกรณีที่เกิดเหตุขัดข้อง

BMG-TP01-4-0043.03 170943

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการควบคุมระบบห้องเผาไหม้จากเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ หรือ จากแหล่งพลังงานทดแทนอื่น ๆ

2. ทักษะทางวิศวกรรมและซ่อมบำรุงเบื้องต้น

3. ทักษะในการใช้เครื่องมือวัดในระบบเผาไหม้

4. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

5. ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

6. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านกระบวนการเผาไหม้จากเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ 

2. ความรู้ความเข้าใจการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีและความร้อนของเชื้อเพลิง/วัตถุดิบในระบบการเผาไหม้

3. ความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติด้านเครื่องจักรกลเบื้องต้น

4. ความรู้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของเชื้อเพลิง/วัตถุดิบ

5. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดในระบบเผาไหม้

6. ความรู้เรื่องกฎกระทรวง ประกาศกระทรวง และประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน 

7. ความรู้การใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมพื้นฐาน

8. ความรู้ในการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับการทำงาน

9. ความรู้เกี่ยวกับ พรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)  หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3. แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2. หลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ

  (ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. สอบข้อเขียน: ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย

2. สอบสัมภาษณ์

3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการควบคุมการทำงานระบบห้องเผาไหม้ให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท ซึ่งต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

(ก) คำแนะนำ 

      ผู้ดำเนินงานด้านการควบคุมการทำงานระบบห้องเผาไหม้ สามารถตรวจวัดและวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ซ่อมบำรุงเบื้องต้น และปรับแต่งการเผาไหม้ให้สมบรูณ์อยู่เสมอ รวมถึงรวบรวมข้อมูลการดำเนินงาน ปัญหา และปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรายงานต่อหน่วยงานตามแผน      

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1.  เครื่องมือวัดในกระบวนการเผาไหม้ 

-    เครื่องมืดวัดประสิทธิภาพการเผาไหม้ (Flue gas analyzer) วัดปริมาณ O2 ,CO2 และ CO โดยวัดองค์ประกอบที่เกิดจากก๊าซไอเสียที่มาจากการเผาไหม้ในห้อมไอน้ำ 

-    เครื่องวัดอุณหภูมิ Pocket thermometer (แบบ Contact และแบบ Immersion) 

-    เครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบใช้รังสี (Radiation thermometer)

-    เครื่องมือวัดความร้อนสูญเสีย (Heat flow meter)

-    เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพน้ำ

-    เครื่องมือวัดความเร็วก๊าซ (gas velocity meter)

-    เครื่องมือวัดและบันทึกอุณหภูมิแบบบันทึกได้หลายจุด (Multipoint thermometer)

-    เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์ (Relative humidity)

-    มิเตอร์วัดไอน้ำและคอนเดนเสท

-    เครื่องมือวัดความชื้นวัสดุ

-    มิเตอร์วัดน้ำมันเชื้อเพลิงและวัดก๊าซเชื้อเพลิง

2. เทคโนโลยีผลิตความร้อน หมายถึง เทคโนโลยี Gas burner และเทคโนโลยี Hot oil 

3. การควบคุมคุณภาพการเผาไหม้ในเตาเผาและปรับแต่งการเผาไหม้ให้สมบูรณ์ หมายถึง การควบคุม เวลาที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา อุณหภูมิการเกิดปฏิกิริยาการเผาไหม้ และส่วนผสมระหว่างเชื้อเพลิงกับอากาศ โดยควบคุมการเติมอากาศ ให้เหมาะสมกับเชื้อเพลิงแต่ละชนิด

4. การตรวจสอบระบบเผาไหม้ หมายถึง การตรวจวัดองค์ประกอบของเชื้อเพลิง ไอเสียและผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากการเผาไหม้ เพื่อนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงประสิทธิภาพการเผาไหม้ 

5. การซ่อมบำรุงระบบเบื้องต้น หมายถึง การแก้ไข ซ่อมแซม กรณีเกิดเหตุขัดข้อง เพื่อให้ระบบ/เครื่องจักรและส่วนประกอบ สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

6. อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับห้องเผาไหม้ 

    1) อุปกรณ์ที่ต้องตรวจสอบ

        - เครื่องป้อนเชื้อเพลิง (Stoker) ตะกรับ (Fire grate)

        - เตาเผาไหม้และผัง ตรวจสภาพทั่วไป อิฐคอเตา อิฐทนไฟ

     2) อุปกรณ์ที่ต้องบำรุงรักษา 

         - อุปกรณ์ป้อนวัตถุดิบเข้าเตาเผา)

         - อุปกรณ์ระบายอากาศ

     3) ระบบกำจัดขี้เถ้า เช่น ระบบ Hydraulic และระบบขนย้ายขี้เถ้า

 7. การแก้ไขเหตุขัดข้อง คือการแก้ไขเหตุการณ์/สาเหตุ เพื่อทำให้ระบบเผาไหม้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ