หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลกระบวนการผสมวัตถุดิบก่อนป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตความร้อน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-ZXMJ-481A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลกระบวนการผสมวัตถุดิบก่อนป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตความร้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตความร้อน ระดับ 4

รหัส ISCO-08     

2152 วิศวกรเครื่องกลความร้อน

3115 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมความร้อน

3139 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิคควบคุมระบบเครื่องทำความร้อน

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเตรียมการป้อนวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตความร้อนได้ โดยสามารถอธิบายกระบวนการทำงานของระบบป้อนวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตความร้อนและคุณสมบัติเบื้องต้นของวัตถุดิบ ประเมินความต้องการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต วิเคราะห์คุณสมบัติเบื้องต้นของวัตถุดิบกำหนดสัดส่วนของวัตถุดิบให้เหมาะสมกับการเผาไหม้ และวางแผนการจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการเผาไหม้ได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขาเทคโนโลยีชีวมวลและเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1) พรบ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 25542) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2542 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
BMG-TP01-4-0011

เตรียมการป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

1. อธิบายกระบวนการทำงานของระบบป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน


BMG-TP01-4-0011.01 170560
BMG-TP01-4-0011

เตรียมการป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

2. อธิบายคุณสมบัติที่สำคัญเบื้องต้นของวัตถุดิบในกระบวนการผลิตความร้อน

BMG-TP01-4-0011.02 170561
BMG-TP01-4-0011

เตรียมการป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

3. วิเคราะห์คุณสมบัติของวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0011.03 170562
BMG-TP01-4-0011

เตรียมการป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

4. กำหนดสัดส่วนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับการเผาไหม้

BMG-TP01-4-0011.04 170563
BMG-TP01-4-0011

เตรียมการป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

5. บันทึกผลการวิเคราะห์สมบัติของวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0011.05 170564
BMG-TP01-4-0011

เตรียมการป้อนวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิตความร้อน

6. วางแผนการเตรียมวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการเผาไหม้

BMG-TP01-4-0011.06 170565
BMG-TP01-4-0012

ประเมินปริมาณความต้องการใช้วัตถุดิบในการผลิตความร้อน

1. รวบรวมข้อมูลการใช้วัตถุดิบของกระบวนการผลิตความร้อน

BMG-TP01-4-0012.01 170790
BMG-TP01-4-0012

ประเมินปริมาณความต้องการใช้วัตถุดิบในการผลิตความร้อน

2. ประเมินปริมาณความต้องการใช้วัตถุดิบของกระบวนการผลิตความร้อน

BMG-TP01-4-0012.02 170791
BMG-TP01-4-0012

ประเมินปริมาณความต้องการใช้วัตถุดิบในการผลิตความร้อน

3. ประสานงานฝ่ายจัดการคลังวัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0012.03 170792
BMG-TP01-4-0012

ประเมินปริมาณความต้องการใช้วัตถุดิบในการผลิตความร้อน

4. บันทึกข้อมูลการใช้วัตถุดิบ

BMG-TP01-4-0012.04 170793

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการเตรียมวัตถุดิบ เพื่อป้อนสู่กระบวนการผลิตความร้อน

2. ทักษะในการอ่านและการใช้ภาษาเชิงวิทยาศาสตร์หรือเชิงเทคนิค

3. ทักษะในการวิเคราะห์องค์ประกอบวัตถุดิบเบื้องต้น

4. ทักษะในการติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลเกี่ยวข้องกัน

5. ทักษะในการวางแผนและการบริหารจัดการคลัง

6. ทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน 



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านกระบวนการเผาไหม้และการผลิตความร้อนจากพลังงานชีวมวล

2. ความรู้ด้านการวิเคราะห์องค์ประกอบวัตถุดิบและสมบัติของวัตถุดิบในกระบวนการผลิตความร้อน

3. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการด้านการขนส่ง

4. ความรู้ด้านการใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน 

5. ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. หลักฐาน/หนังสือรับรองการทำงาน หรือการผ่านงาน 

2. หนังสือรับรองคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับ

3. แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ได้แก่ เอกสารผ่านการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เอกสารตัวอย่างโครงการ หรือผลงานของผู้ปฏิบัติงานที่เคยดำเนินงานมาแล้ว รวมถึง รางวัลหรือผลงานในการปฏิบัติงานด้านที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หลักฐานคุณวุฒิการศึกษา

2. หลักฐานการผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะ 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ผู้ประเมินจะดำเนินการตรวจประเมินเกี่ยวกับการวางแผนการจัดซื้อ-จัดหาวัตถุดิบโดยพิจารณาหลักฐานด้านความรู้

2. หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความสัมพันธ์และตอบโจทย์ตามข้อกำหนดของหน่วยสมรรถนะย่อย และเกณฑ์การปฏิบัติงานในหน่วยสมรรถนะนี้ โดยหลักฐานในที่นี้ ต้องแสดงถึง 

-    ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

-    วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงาน และกฎหมายหรือเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

-    ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

1. สอบข้อเขียน: ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบอัตนัย

2. สอบสัมภาษณ์

3. ประเมินจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขต (Range Statement) อธิบายถึงการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะนี้ระบุองค์ประกอบ ในการดำเนินงานด้านการดูแลการผสมวัตถุดิบให้มีความเหมาะสม โดยต้องดำเนินงานให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด กฎระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน แผนการดำเนินงาน และนโยบายของบริษัท คำแนะนำ 

-N/A-

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. การเตรียมการป้อนวัตถุดิบ หมายถึง การลดขนาดวัตถุดิบให้เหมาะสม เช่น การบด การสับ และการร่อนแยกขนาด เป็นต้น การลดความชื้น การคัดแยกสิ่งเจอปน การผสมวัตถุดิบตามสัดส่วนการวิเคราะห์ 

2. ระบบป้อนวัตถุดิบ หมายถึง ระบบลำเลียงแบบต่าง ๆ เข้าสู่ถังเก็บวัตถุดิบ (Silo) และกระบวนการผลิตความร้อน ตัวอย่างเช่น 

-    ระบบลำเลียงโดยลม (Pneumatic Conveyor) 

-    ระบบลำเลียงโดยสายพาน (Belt Conveyor) 

-    ระบบลำเลียงโดยโซ่ (Chain Conveyor) 

-    ระบบลำเลียงโดยกระพ้อ (Bucket Elevator)

-    ระบบลำเลียงโดยเกลียวลำเลียง (Screw) เป็นต้น 

3. คุณสมบัติที่สำคัญเบื้องต้น ได้แก่ 

-    คุณสมบัติเบื้องต้นของเชื้อเพลิง 3 ประเภท เชื้อเพลิงแข็ง เหลวและแก๊ส

-    ค่าความชื้น (Moisture Content) ในวัตถุดิบ 

-    ค่าความร้อน (Calorific Value) 

-    สัดส่วนของคาร์บอนคงที่และสารระเหย (Proportion of Fixed Carbon and Volatile) 

-    สัดส่วนเถ้า (Ash/Residue Content) 

-    สัดส่วนโลหะอัลคาไล (Alkali metal) 

-    อัตราส่วนเซลลูโลส/ลิกนิน (Cellulose/Lignin Ratio)  

-    ขนาดและความหนาแน่นรวม (Size and bulk density)

4. เทคโนโลยีการเผาไหม้ 

-    เตาเผาแบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized Bed)

-    เตาเผาแบบตะกรับเคลื่อนที่ (Moving Grate)

-    เตาเผาแบบหมุน (Rotary Kiln)

-    เตาเผาแบบไพโรไลซิส-ก๊าซซิฟิเคชัน (Pyrolysis and Gasification)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ประเมินจากแบบสอบข้อเขียน

2. ประเมินโดยการสัมภาษณ์ตามแบบทดสอบที่กำหนดไว้ 

3. การประเมินจากหลักฐานอื่น ๆ เช่น หนังสือรับรอง เอกสารรับรองการผ่านการอบรม หนังสือรับรองการทำงาน/ผ่านงาน จะต้องดำเนินการควบคู่กับการสัมภาษณ์ร่วมด้วย

 



ยินดีต้อนรับ