หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนการปรับปรุงกระบวนการควบคุมคุณภาพที่กระทบกระบวนการผลิต

สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ FPC-MRTI-472A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนการปรับปรุงกระบวนการควบคุมคุณภาพที่กระทบกระบวนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมน้ำตาล


1 7515 ผู้ชิมรสและจัดระดับชั้นคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลที่ทำหน้าที่วางแผนการปรับปรุงกระบวนการควบคุมคุณภาพที่กระทบกระบวนการผลิต เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ และความจำเป็นในการปรับปรุงกระบวนการควบคุมคุณภาพ จัดทำแผนการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ และเลือกใช้เทคนิค หรือเครื่องมือในการประเมินผลการปรับปรุงกระบวนการควบคุมคุณภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมการผลิตน้ำตา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
    N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
มาตรฐานสากล เช่น GMP, HACCP, ICUMSA, ISO 17025, มอก. 56-2533

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
B011301

กำหนดวัตถุประสงค์ และความจำเป็นในกาปรับปรุงกระบวนการควบคุมคุณภาพ

1.1 ระบุวัตถุประสงค์และเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการปรับปรุง

B011301.01 170760
B011301

กำหนดวัตถุประสงค์ และความจำเป็นในกาปรับปรุงกระบวนการควบคุมคุณภาพ

1.2 ชี้แจงวัตถุประสงค์ความสำคัญของการปรับปรุงแผนการผลิตให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบด้วยวิธีการที่เหมาะสม

B011301.02 170761
B011302

จัดทำแผนการปรับปรุงกระบวนการผลิตทีเกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ

B011303

เลือกใช้เทคนิค หรือเครื่องมือในการประเมินผลการปรับปรุงกระบวนการควบคุมคุณภาพ


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะด้านการวางแผนงาน

  2. ทักษะด้านการบริหารนโยบาย

  3. ทักษะด้านการบริหารบุคลากร 

  4. ทักษะด้านไหวพริบในการแก้ปัญหา

  5. ทักษะด้านการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน

  2. ความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์

  3. ความรู้ด้านการสร้างความเข้าใจ

  4. ความรู้ด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



ใบรายงาน หรือแบบฟอร์มบันทึกรายการจากการสัมภาษณ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ หรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องยอมรับ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง



3. ขอบเขตด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ง) วิธีการประเมิน



1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจาก ข้อสอบข้อเขียน



2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากการสัมภาษณ์ แฟ้มสะสมงานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบของโรงงานน้ำตาลทราย ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้คือ การเตรียมอ้อย การหีบสกัดอ้อย การทำน้ำอ้อยให้บริสุทธิ์ การต้มระเหยน้ำอ้อย การเคี่ยวน้ำเชื่อม การปั่นแยกเม็ดน้ำตาล และการอบแห้งน้ำตาล สำหรับการบริหารการควบคุมคุณภาพของโรงงาน หรือ Qualities Control (QC) ดำเนินการโดยแผนกควบคุมคุณภาพในขั้นตอนต่าง ๆ ทำหน้าที่ในการเก็บตัวอย่างวิเคราะห์ผลและรวบรวมผลวิเคราะห์ลงในใบรายงานประจำวัน จุดวิกฤตอยู่ในขั้นตอนการผลิต ได้แก่ การหีบสกัดอ้อย การพักใส การต้มระเหย การเคี่ยวน้ำตาลและการอบแห้ง การจัดทำคู่มือคุณภาพซึ่งประกอบไปด้วยนโยบายคุณภาพ โครงสร้างการบริหารงาน หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงาน รายละเอียดคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ แผนภูมิการผลิต วิธีการปฏิบัติงาน ระบุจุดวิกฤตในการควบคุมคุณภาพ กำหนดขอบเขตการยอมรับ กำหนดวิธีการแก้ไขและจัดทำระบบบันทึกข้อมูลการควบคุมคุณภาพ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย



1. แบบสัมภาษณ์



2. ข้อสอบข้อเขียน



3. แฟ้มสะสมงาน



ยินดีต้อนรับ