หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ชิมรสชาติและเมินคุณภาพกาแฟ (Coffee copping or tasting)

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-QTEL-834A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ชิมรสชาติและเมินคุณภาพกาแฟ (Coffee copping or tasting)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 7515 : ผู้ชิมรสและจัดระดับชั้นคุณภาพของอาหารและเครื่องดื่ม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการ.... ชิมกาแฟตามระเบียนวิธีการชิม (Cupping protocol) มาตรฐาน SCA แล้วระบุรสชาติเพื่อประเมินคุณภาพกาแฟ ใน12 ด้าน ได้แก่ กลิ่นของผงกาแฟบดใหม่ (Dry Aroma or Fragrance), รสชาติ (Flavor), กลิ่นของน้ำกาแฟ (Wet Aroma or Cup Aroma), รสชาติของกาแฟ (Taste), ความเป็นเปรี้ยวของผลไม้ (Acidity), ความหวานของผลไม้ (Sweetness), กลิ่นที่สัมผัสได้จากโพรงจมูก (Nose), กลิ่นและรสชาติที่คงค้าง (After taste) ความเข้มและหนักแน่น (Body or Mouth feel) ความสมดุล (Balance), ความเป็นหนึ่งเดียวของกาแฟ (Uniformity), ความใสสะอาดของกาแฟในถ้วย (Clean Cup) และจัดทำบันทึกรายงานผลการประเมินคุณภาพ    

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรมและภัตตาคาร สาขาบริการเครื่องดื่ม อาชีพบาริสต้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1022.1

เตรียมอุปกรณ์และบดกาแฟที่ต้องชิมเพื่อประเมินคุณภาพ

1.จัดเตรียมเอกสารหรือแบบฟอร์มบันทึกเพื่อใช้ในการประเมินตามระเบียนวิธีการชิม (Cupping protocol) มาตรฐาน SCA

1012.1.01 170235
1022.1

เตรียมอุปกรณ์และบดกาแฟที่ต้องชิมเพื่อประเมินคุณภาพ

2.นำอุปกรณ์ที่จำเป็นในการชิมกาแฟมาจัดวางบนโต๊ะที่สะอาด

1012.1.02 170236
1022.1

เตรียมอุปกรณ์และบดกาแฟที่ต้องชิมเพื่อประเมินคุณภาพ

3.อ่านเนื้อหาจากฉลากบรรจุภัณฑ์เมล็ดกาแฟที่ระบุได้แก่ ระดับการคั่ว วันที่คั่ว แหล่งผลิต ถิ่นกำเนิด กรรมวิธีการผลิต คัพโปรไฟล์ เป็นต้น

1012.1.03 170237
1022.1

เตรียมอุปกรณ์และบดกาแฟที่ต้องชิมเพื่อประเมินคุณภาพ

4.เตรียมเมล็ดกาแฟตามสายพันธ์แล้วทำการบดเป็นผงกาแฟตามที่ระบุในระเบียนวิธีการชิม (Cupping protocol) มาตรฐาน SCA และประเมินกลิ่นของผงกาแฟบดใหม่ (Dry Aroma or Fragrance)

1012.1.04 170238
1022.2

เตรียมชงกาแฟที่ต้องชิมเพื่อประเมินคุณภาพ

1.ชงกาแฟด้วยน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิ 90 – 95 องศาเซลเซียนด้วยถ้วยปากกว้างบรรจุน้ำกาแฟ 150 – 200 มล. และรอระยะเวลา 4 นาทีให้ผงกาแฟกระจายตัวให้ทั่วโดยไม่ต้องคน แล้วนำช้อนมาทำการ Break ผิวหน้าของผงกาแฟที่ลอยอยู่โดยปัดช้อนออกจากตัวสามครั้ง แล้วดมหลังช้อน เพื่อดมกลิ่นของกาแฟหลังจากที่ใส่น้ำว่ามีกลิ่นอะไรและเปลี่ยนแปลงไปจากตอนที่ยังเป็นผงแห้งหรือไม่

1012.2.01 170239
1022.2

เตรียมชงกาแฟที่ต้องชิมเพื่อประเมินคุณภาพ

2.ทำการตักกาแฟที่ลอยบนผิวหน้าออก (Cleansing) โดยไม่คนให้ผงกาแฟด้านล่างกลับขึ้นมา จากนั้นรอจนการอุ่นที่อุณหภูมิ 60 – 70 องศาเซลเซียนเพื่อเตรียมชิมน้ำกาแฟ 

1012.2.02 170240
1022.3

รายงานและประเมินคุณภาพเมล็ดกาแฟ

1.เขียนระบุชนิดประเภทสายพันธ์เมล็ดกาแฟ กรรมวิธีการแปรรูป และอธิบายคุณลักษณะของสารกาแฟในรายงาน

1022.3.01 170241
1022.3

รายงานและประเมินคุณภาพเมล็ดกาแฟ

2.เขียนระบุระดับการคั่วอธิบายรสชาติของเมล็ดกาแฟที่ชิมและให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงการคั่วและผสม (Roast & Blend) เมล็ดกาแฟในรายงาน

1022.3.02 170242

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถใช้เครื่องบดผงกาแฟและปรับขนาดได้ตามมาตรฐาน SCA

2. สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพกาแฟ 

3. สามารถใช้ประสาทสัมผัส การมองเห็น การสูดดมกลิ่น การรับรส

4. สามารถรายงานและสื่อสารให้คำแนะนำเกี่ยวกับการผลิตเมล็ดกาแฟในด้านกรรมวิธีการแปรรูป ระดับการคั่วเมล็ดกาแฟ และการผสมเมล็ดกาแฟ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับระเบียนวิธีการชิม (Cupping protocol) ตามมาตรฐาน SCA 

2. ความรู้เกี่ยวกับประเภทและชนิด สายพันธ์ของเมล็ดกาแฟและคุณลักษณะกายภาพ

3. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพเมล็ดกาแฟที่ผ่านการคั่วตามกรรมวิธีการผลิต

4. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการคั่วเมล็ดกาแฟและระดับการคั่วเมล็ดกาแฟ

5. ความรู้เกี่ยวกับกรรมวิธีการการแปรรูปเมล็ดกาแฟดิบ

6. ความรู้เกี่ยวกับการผสมเมล็ดกาแฟ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ง) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

1. แสดงการขั้นตอนการชิมรสชาติกาแฟ

2. แสดงการเขียนรายงานแยกแยะคุณภาพและข้อบกพร่องของกาแฟ

3. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

4. แฟ้มสะสมผลงาน ที่เป็นเอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา  

(จ) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายคุณลักษณะและรสชาติเมล็ดกาแฟที่ประเมินคุณภาพได้ตามมาตรฐาน SCA

2. อธิบายหลักการ  Cupping protocol ตามมาตรฐาน SCA

3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษาอบรมในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการชิมและประเมินคุณภาพกาแฟ

4. ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์

(ฉ) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบ ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ ที่ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 

วิธีการประเมิน

1) แฟ้มสะสมผลงาน

2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน 

3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตการปฏิบัติงานแสดงขั้นตอนการชิมตามระเบียนวิธีการชิม (Cupping protocol) มาตรฐาน SCA และเขียนรายงานตามแบบฟอร์มของ SCA โดยบุคคลต้องมีความเข้าใจในเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพกาแฟในเรื่องต่อไปนี้

1. ประเภทชนิดและสายพันธ์ของกาแฟ ตามลักษณะสายพันธ์ แหล่งเพาะปลูก ลักษณะเด่นด้านรสชาติ กลิ่น สัมผัส และลักษณะทางกายภาพของเมล็ดกาแฟ 

2. ปัจจัยและเทคนิคการคั่วเมล็ดกาแฟ การกำหนดระดับการคั่ว ผลกระทบของการคั่วที่มีผลต่อคุณภาพและรสชาติของกาแฟ 

3. กรรมวิธีการแปรรูป เทคนิคการผสมเมล็ดกาแฟที่ส่งผลต่อคุณภาพและรสชาติกาแฟ 

(ง) คำแนะนำ 

การประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน .... ชิมรสชาติและเมินคุณภาพกาแฟ...โดยใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกันได้แก่ การสาธิตการปฏิบัติงาน สัมภาษณ์ หรือแสดงหลักฐานผลงานจากแฟ้มสะสมผลงาน 

(จ) คำอธิบายรายละเอียด

1) มาตรฐานอ้างอิง ระเบียนวิธีการชิม (Cupping protocol) มาตรฐาน SCA

2) รสชาติของกาแฟ (Taste) มี 5 รสคือ ขม (Bitter), เปรี้ยว (Acidity/Sour), หวาน (Sweet),            ฝาด (Astringent/Hash), เค็ม (Salty)

(ฉ)    รายการเครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องมือกล เครื่องจักรกล ที่จำเป็นต่อหน่วยสมรรถนะนี้

วัสดุ/วัตถุดิบ

1. เมล็ดกาแฟคั่วสำเร็จ

เครื่องมือ

1. การต้มน้ำร้อน

2. เครื่องบดผงกาแฟ

3. เครื่องชั่งน้ำหนัก

4. เทอร์โมมิเตอร์

5. นาฬิกาจับเวลา

อุปกรณ์

1. ถ้วยปากกว้างขนาดบรรจุ 150 – 200 มล.

2. ช้อนกลมปากกว้าง

3. ผ้าแห้งสะอาด

4. กระดาษเช็ดปาก    

หมายเหตุ : ในการประเมินทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงาน สามารถใช้เครื่องมืออุปกรณ์ เพิ่มเติมหรือทดแทนกันได้นอกเหนือจากที่กำหนด เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์การปฏิบัติงานตามหน่วยสมรรถนะนี้ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

1) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน 

2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)

 



ยินดีต้อนรับ