หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการสถานประกอบกิจการให้ถูกตามหลักสุขาภิบาลที่ดี

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-DKAH-827A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการสถานประกอบกิจการให้ถูกตามหลักสุขาภิบาลที่ดี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 5132 : พนักงานผสมเครื่องดื่ม   



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการจัดแบ่งพื้นที่ให้บริการลูกค้า พื้นที่พนักงาน และควบคุมดูแลให้พื้นที่ร้านสะอาดถูกสุขลักษณะและความปลอดภัย ตามข้อบังคับหรือประกาศตามพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่ม อาทิ กฎกระทรวงสาธารณะสุข ว่าด้วย สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 และ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร   

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรมและภัตตาคาร สาขาบริการเครื่องดื่ม อาชีพบาริสต้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1014.1

กำหนดและกำกับดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลของพนักงาน

1.กำหนดและกำกับดูแลให้พนักงานในร้านแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายที่สะอาดและสวมผ้ากันเปื้อนตลอดเวลา

1014.1.01 170167
1014.1

กำหนดและกำกับดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลของพนักงาน

2.กำหนดและกำกับดูแลให้พนักงานในร้านทำความสะอาดร่างกายหรือสวมอุปกรณ์ป้องกันการปนเปื้อนจากการสัมผัสกับอาหาร 

1014.1.02 170168
1014.2

ความปลอดภัยในการทำงาน

1.กำกับดูแลให้พนักงานในร้านมีความรู้ในการใช้งานและอันตรายที่อาจเกิดอุปกรณ์ชงกาแฟ

1014.2.01 170169
1014.2

ความปลอดภัยในการทำงาน

2.กำกับดูแลให้พนักงานในร้านใช้เครื่องมือป้องกันที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานอุปกรณ์แต่ละประเภท

1014.2.02 170170
1014.2

ความปลอดภัยในการทำงาน

3.ทำแผนตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือในการทำงานให้พร้อมใช้งาน ตามคู่มือผู้ผลิต  และตามตารางการบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือ

1014.2.03 170171
1014.3

กำหนดและกำกับดูแลการจัดการพื้นที่ตามหลักสุขาภิบาล

1.กำหนดพื้นที่และวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยภายในร้าน

1014.3.01 170172
1014.3

กำหนดและกำกับดูแลการจัดการพื้นที่ตามหลักสุขาภิบาล

2.กำหนดพื้นที่และจัดให้มีระบบกำจัดน้ำเสีย

1014.3.02 170173
1014.3

กำหนดและกำกับดูแลการจัดการพื้นที่ตามหลักสุขาภิบาล

3.กำหนดมาตรการและวิธีการป้องกันสัตว์นำโรค แมลงรบกวน

1014.3.03 170174
1014.3

กำหนดและกำกับดูแลการจัดการพื้นที่ตามหลักสุขาภิบาล

4.จัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิงภายในร้านและวางไว้ในที่ที่มองเห็น หยิบใช้ได้สะดวก

1014.3.04 170175
1014.3

กำหนดและกำกับดูแลการจัดการพื้นที่ตามหลักสุขาภิบาล

5.กำหนดพื้นที่และตำแหน่งจัดวางของภายในร้านให้เพียงพอและสะดวกในการทำความสะอาด

1014.3.05 170176
1014.3

กำหนดและกำกับดูแลการจัดการพื้นที่ตามหลักสุขาภิบาล

6.กำหนดพื้นที่ใช้น้ำและจัดเก็บน้ำแข็งที่ป้องกันการปนเปื้อน

1014.3.06 170177
1014.3

กำหนดและกำกับดูแลการจัดการพื้นที่ตามหลักสุขาภิบาล

7.กำหนดพื้นที่จัดเก็บภาชนะและบรรจุภัณฑ์ใส่เครื่องดื่ม ที่สะอาดป้องกันการปนเปื้อน

1014.3.07 170178
1014.3

กำหนดและกำกับดูแลการจัดการพื้นที่ตามหลักสุขาภิบาล

8.กำหนดมาตรการในการจัดการห้องน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ

1014.3.08 170179
1014.3

กำหนดและกำกับดูแลการจัดการพื้นที่ตามหลักสุขาภิบาล

9.กำกับดูแลให้พนักงานในร้านจัดเตรียมดูแลพื้นที่สำหรับให้บริการลูกค้าให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ จัดเป็นสัดส่วนและมีการระบายอากาศได้ดี

1014.3.09 170180
1014.3

กำหนดและกำกับดูแลการจัดการพื้นที่ตามหลักสุขาภิบาล

10.กำกับดูแลให้พนักงานในร้านจัดเตรียมและดูแลวัสดุอุปกรณ์สำหรับชงปรุงเครื่องดื่มให้สะอาด อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

1014.3.10 170181

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถจัดการและแบ่งพื้นที่ร้านตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

2. สามารถจัดการวางแผนและกำหนดบทบาทของบุคลากรในร้าน

3. สามารถวางแผนการตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือในการทำงานให้พร้อมใช้งาน ตามคู่มือผู้ผลิต  และวางแผนตารางการบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องมือ

4. สามารถกำกับดูแลให้พนักงานปฎิบัติตามข้อกำหนดในร้านกาแฟที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ





 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลและผู้สัมอาหาร

2. ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดและมาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร

3. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการร้านตามประกาศสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

1. แสดงการจัดแบ่งพื้นที่ภายในร้านกาแฟตามหลักสุขาภิบาล

2. แสดงการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติและข้อกำหนดของผู้สัมผัสอาหาร

3. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

4. แฟ้มสะสมผลงาน ที่เป็นเอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา  

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายข้อกำหนดและมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร ตามกฎกระทรวงสาธารณะสุข ว่าด้วย สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 และ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารประกาศกฎกระทรวง 

2. อธิบายหลักการปฏิบัติของผู้สัมผัสอาหาร

3. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารและผู้สัมผัสอาหาร

4. ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบ ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ ที่ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 

วิธีการประเมิน

1) แฟ้มสะสมผลงาน

2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน 

3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

การประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน ....จัดการสถานประกอบกิจการให้ถูกตามหลักสุขาภิบาลที่ดี...โดยใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกันได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค การสาธิตการปฏิบัติงาน หรือแสดงหลักฐานผลงานจากแฟ้มสะสมผลงาน 

ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือประกาศตามพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่ม อาทิ กฎกระทรวงสาธารณะสุข ว่าด้วย สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 และ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)



ยินดีต้อนรับ