หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างโฟมนมสำหรับปรุงแต่งเครื่องดื่ม

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-PUOZ-838A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างโฟมนมสำหรับปรุงแต่งเครื่องดื่ม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 5132 : พนักงานผสมเครื่องดื่ม   



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
บุคคลต้องมีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการเตรียมนมสดและสร้างโฟมนม  ให้ได้โฟมนมที่มีเนื้อละเอียดเหมาะสำหรับปรุงเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ ภาชนะในการสร้างโฟมนมที่สะอาด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรมและภัตตาคาร สาขาบริการเครื่องดื่ม อาชีพบาริสต้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1026.1

เตรียมนมสด และภาชนะในการสร้างโฟมนม

1.จัดเตรียมภาชนะและอุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการสร้างโฟมนมให้อยู่ในสภาพที่สะอาดและพร้อมใช้งาน 

1026.1.01 170302
1026.1

เตรียมนมสด และภาชนะในการสร้างโฟมนม

2.ใช้นมสดที่มีคุณภาพและผ่านการแช่ให้เย็นจัดที่อุณหภูมิ 2-4 องศาเซลเซียส

1026.1.02 170303
1026.2

ทำการสร้างโฟมนม ด้วยกรรมวิธีมาตรฐาน

1.เตรียมภาชนะหรือเหยือกนมที่สะอาด และเย็นอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

1026.2.01 170306
1026.2

ทำการสร้างโฟมนม ด้วยกรรมวิธีมาตรฐาน

2.อุณหภูมิและโฟมนมทีใช้ในการเสิร์ฟเครื่องดื่มที่ผ่านการสตรีมจะต้องมีอุณหภูมิอยู่ที่ 55-65 องศาเซลเซียส 

1026.2.02 170307
1026.2

ทำการสร้างโฟมนม ด้วยกรรมวิธีมาตรฐาน

3.อุณหภูมิและโฟมนมทีใช้ในการเสิร์ฟเครื่องดื่มเย็นจะต้องอุณหภูมิที่เมื่อใส่เครื่องดื่มแล้วไม่ทำให้น้ำแข็งละลาย

1026.2.03 170308
1026.2

ทำการสร้างโฟมนม ด้วยกรรมวิธีมาตรฐาน

4.โฟมนมที่ได้ต้องเพียงพอต่อการทำเครื่องดื่มตามคำสั่งซื้อ โดยเหลือนมให้น้อยที่สุด

1026.2.04 170309
1026.2

ทำการสร้างโฟมนม ด้วยกรรมวิธีมาตรฐาน

5.โฟมนมที่ได้ต้องมีคุณภาพได้แก่ มีความหนานุ่ม ฟองละเอียด มันวาว

1026.2.05 170310

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถสร้างสร้างโฟมนมที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตามมาตรฐานของร้านได้ 

2. สามารถเลือกและใช้เครื่องมืออุปกรณ์ภาชนะในการสร้างโฟมนม

3. สามารถอธิบายหลักการจัดเก็บนมสดเพื่อให้คงสภาพที่เหมาะสมต่อการสร้างโฟมนมได้

4. สามารถตรวจเช็คความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการสร้างโฟมนมตามกรรมวิธีมาตรฐาน

5. สามารถจัดทำให้นมมีคุณลักษณะของโฟมนมที่เหมาะสมในการทำเครื่องดื่มเมนูต่าง ๆ 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

8. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมภาชนะและคุณลักษณะที่เหมาะสมของนมสดที่ใช้ในการสร้างโฟมนม

9. ความรู้เกี่ยวกับหลักการสร้างโฟมนมด้วยกรรมวิธีมาตรฐาน

10.ความรู้เกี่ยวกับหลักการและลักษณะของการสร้างโฟมนมที่ดีและเหมาะสมต่อการทำเครื่องดื่มแต่ละประเภท... 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

1. แสดงการเตรียมนมสดและสร้างโฟมนมที่มีคุณภาพ

2. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

3. แฟ้มสะสมผลงาน ที่เป็นเอกสารรับรองผลงานและความรู้ความสามารถที่ผ่านมา  

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ระบุหรืออธิบายลักษณะนมสดที่ดีสำหรับสร้างโฟมนมที่มีคุณภาพ

2. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับงาน…

3. ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่สอบ ตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ ที่ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ 

วิธีการประเมิน

1) แฟ้มสะสมผลงาน

2) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน 

3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำแนะนำ 

การประเมินนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน ....สร้างโฟมนมสำหรับปรุงแต่งเครื่องดื่ม...โดยใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกันได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค การสาธิตการปฏิบัติงาน หรือแสดงหลักฐานผลงานจากแฟ้มสะสมผลงาน 

(ค) คำอธิบายรายละเอียด

โฟมนมที่มีคุณภาพ หมายถึง ลักษณะของชั้นโฟมนมที่จะต้องมีลักษณะที่ เนียนละเอียด หนานุ่ม มันวาว ยืดหยุ่น และเกาะตัวได้ดี

กรรมวิธีมาตรฐานการทำโฟมนม 

1. สร้างโฟมนมด้วยเครื่องเอสเพรสโซ 

1.1 จัดเตรียมเหยือกสตรีมนม และนมสด ที่สะอาดและผ่านการแช่เย็นมา ที่นมจะต้องมีอุณหภูมิอยู่ที่ 2-4 องศาเซลเซียส 

1.2 ทำการตวงนมในปริมาณ ½ ของเหยือกนม 

1.3 ตรวจเช็คแรงดันไอน้ำของเครื่องชงให้มีแรงดันอยู่ที่1-1.2 Bar ก่อนสตรีม 

1.4 ใส่เทอร์โมมิเตอร์ลงในเหยือกสตรีมนมพร้อมเปิดไล่ไอน้ำที่ก้านสตรีมและเช็ดทำความสะอาดทุกครั้ง 

1.5 จุ่มก้านสตรีมลงในเหยือกสตรีมนม 0.5 ซ.ม. และเปิดวาวล์ไอน้ำเพื่อให้ไอน้ำจากเครื่องชงอัดลงไปในน้ำนม เพื่อให้เกิดการหมุนวนไปในทิศทางเดียวกันให้เกิดโฟมที่เนียนและหนานุ่มปิดวาวล์สตรีมนมเมื่อได้อุณหภูมินมอยู่ที่ 55-65 องศาเซลเซียส โดยใช้เทอโมมิเตอร์ในการตรวจวัดอุณหภูมิ ทุกครั้ง 

1.6 เช็ดทำความสะอาดหัวก้านสตรีมด้วยผ้าเปียกหมาดและไล่ไอน้ำออกทุกครั้งหลังใช้  

2. สร้างโฟมนมด้วยเครื่องตีโฟมนมไฟฟ้า

2.1 จัดเตรียมเหยือกสตรีมนม และนมสด          ที่สะอาดและผ่านการแช่เย็นที่นมจะต้องมีอุณหภูมิอยู่ที่ 2-4 องศาเซลเซียส

2.2 ทำการตวงนมในปริมาณ ½ ของเหยือกนม 

2.3 ตรวจเช็คความสะอาดและความพร้อมของเครื่องสร้างโฟมแบบแกนหมุนไฟฟ้า 

2.4 จุ่มแกนหนุนลงไปบนผิวของน้ำนมเย็นหลังจากนั้นทำการปั่นโฟมโดนให้น้ำนมหมุนเป็นวงกลมแล้วค่อยๆดึงอากาศลงไปจนเกิดเป็นโฟมนม 

2.5 เมื่อได้ปริมาณโฟมนมตามที่ต้องการแล้วให้หยุดเครื่องแล้วนำไปล้างทำความสะอาดให้เรียบร้อย 

3. สร้างโฟมนมด้วยเครื่องปั๊มโฟมนมด้วยมือ

3.1 จัดเตรียมเหยือกสตรีมนม และนมสด          ที่สะอาดและผ่านการแช่เย็นที่นมจะต้องมีอุณหภูมิอยู่ที่ 2-4 องศาเซลเซียส

3.2 ทำการตวงนมในปริมาณ ½ ของเหยือกนม

3.3 ตรวจเช็คความสะอาดและความพร้อมของเครื่องสร้างโฟมแบบปั๊มมือ 

3.4 ปิดฝาเครื่องปั๊มโฟมนมลงในเหยือกนมที่เตรียมไว้

3.5 ปั๊มโดยการดึงก้านปั๊มโฟมขึ้น-ลง ระหว่างผิวของน้ำนมเพื่อทำให้เกิดชั้นโฟมนมขึ้นมา 

3.6 เมื่อปั้มจนนมรู้สึกมีแรงต้านและความหนืน ของชั้นโฟมนมแล้วให้นำฝาปั๊มโฟมนมออก และนำไปล้างทำความสะอาด

(ค) รายการเครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องมือกล เครื่องจักรกล ที่จำเป็นต่อหน่วยสมรรถนะนี้

วัสดุ/วัตถุดิบ

1. นมสดที่แช่เย็น

เครื่องมืออุปกรณ์

1. ก้านสตรีมบนเครื่องสกัดเอสเพรสโซ่สำหรับทำโฟมนม

2. เครื่องตีโฟมไฟฟ้า (แกนหมุน)

3. เครื่องปั๊มโฟมนมด้วยมือ

4. ตู้แช่เย็น

5. พิชเชอร์ (เหยือนสแตนเลส)

6. เทอร์โมมิเตอร์

7. ช้อนตักโฟมนม

8. ถ้วยตวงที่มีขีดสเกล

    หมายเหตุ : ในการประเมินทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงาน สามารถใช้เครื่องมืออุปกรณ์ เพิ่มเติมหรือทดแทนกันได้นอกเหนือจากที่กำหนด เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์การปฏิบัติงานตามหน่วยสมรรถนะนี้ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เจ้าหน้าที่สอบพิจารณาหลักฐานจากแฟ้มสะสมผลงานที่เป็นเอกสารรับรองผลงาน รับรองความรู้ความสามารถที่ผ่านมาก่อนหน้า หากไม่ชัดเจนหรือมีปริมาณเพียงพอให้เชื่อถือได้ ให้ประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้ ได้แก่

3) แบบทดสอบการสาธิตการปฏิบัติงาน 

การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค จากผลงานในแฟ้มสะสมผลงานของผู้รับการประเมิน (หากจำเป็น)

 



ยินดีต้อนรับ