หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิพากษ์งานแปล

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-WOMY-020A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิพากษ์งานแปล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2643  นักแปล ล่าม และนักภาษาศาสตร์อื่นๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    เป็นผู้ที่สามารถบรรณาธิกรและวิจารณ์งานฉบับแปลทั้งของตนเองและเล่มอื่น ๆ ได้อย่างละเอียดรอบคอบ และถูกต้อง ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้หรือประสบการณ์ เช่น สาธิต อบรม บรรยาย สอน เกี่ยวกับด้านการแปลเพื่อเป็นวิทยาทานต่อวิชาชีพและนักแปลรุ่นต่อ ๆ ไป

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษและภาษาไทยดีมาก และมีความสนใจด้านงานแปล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20303.01 บรรณาธิกรงานแปลผู้อื่น 1.1 ตรวจสอบต้นฉบับงานแปลเล่มอื่น ๆ อย่างละเอียดรอบคอบ 20303.01.01 17572
20303.01 บรรณาธิกรงานแปลผู้อื่น 1.2 ระบุข้อผิดพลาด เพื่อแก้ไข และขัดเกลาภาษาของต้นฉบับแปลได้อย่างถูกต้องครบถ้วน 20303.01.02 17573
20303.02 ถ่ายทอดการแปล 2.1 ถ่ายทอดองค์ความรู้หรือประสบการณ์ด้านงานแปลให้นักแปลรุ่นหลังอย่างถูกต้องและเหมาะสม 20303.02.01 17574
20303.02 ถ่ายทอดการแปล 2.2 อบรม สาธิต สอน วิธีการแปลให้กับนักแปลรุ่นหลังอย่างถูกต้องเหมาะสม 20303.02.02 17575

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

    ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถตรวจสอบงานแปลขั้นสุดท้ายอย่างละเอียดรอบคอบ

    2. สามารถชี้แนะทางเพื่อปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องของงานแปล ให้ถูกต้องเหมาะสม

    3. สามารถให้คำแนะนำเทคนิค วีการแปลงที่ถูกต้อง แก่ผู้แปลงาน ที่ถูกต้อง

    4. สามารถเสวนา อบรม สอน เพื่อถ่ายทอดความรู้หรือประสบการณ์การทำงานแปล แก่บุคลากรในวิชาชีพนักแปลหรือผู้สนใจทั่วไป

    5. สามารถช่วยพัฒนา ส่งเสริม นักแปลรุ่นหลังให้มีคุณภาพ ถูกต้องเหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับหลักและการใช้ภาษาเพื่อการแปลทั้งภาษาต้นฉบับและภาษาของฉบับแปล

    2. ความรู้เกี่ยวกับการการให้ข้อชี้แนะด้านบริบทที่ถูกต้อง สอดคล้อง เหมาะสม เช่น ทางวัฒนธรรม สังคม การเมือง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานแปล

    3. ความรู้เกี่ยวกับสาระความรู้ เทคนิค วีการแปลที่ถูกต้อง เหมาะสม แก่ผู้ทำงานแปล

    4. ความรู้เกี่ยวกับข้อบกพร่องของการแปล และข้อควรปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับงานแปลอย่างเป็นกลาง ถูกต้อง เหมาะสม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ต้นฉบับแปลทั้งฉบับ

    2. ผลงานแปลที่ผ่านมาแล้ว

    3. การได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการบรรยาย สอน สาธิต อบรม เพื่อให้ความรู้ด้านงานแปล

    4. ความสามารถในการใช้และหลักภาษาทั้งต้นฉบับและฉบับแปล

    5. ความสามารถในการตรวจหา แก้ไข ให้ข้อเสนอแนะด้านการใช้ภาษาเพื่อการแปลของงานต้นฉบับแปล

    6. ความสามารถในการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านงานแปล



    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ

    2. ใบบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียน อุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ ประเภทงานเขียน งบประมาณในการผลิตต้นฉบับ การติดต่อนัดหมาย และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน

    1. การทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี ใช้แบบสัมภาษณ์

    2. การทดสอบภาคปฏิบัติ ใช้แฟ้มสะสมผลงาน ผลงานที่ได้จัดทำ เอกสารประกอบการทำงาน และแบบสังเกตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    การวิพากษ์งานแปลของนักแปลระดับ 6 หมายถึง 

    1. การให้ความรู้ ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เทคนิค วิธีการทั้งในเชิงทฏษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับการทำบรรณาธิการงานแปลทั้งของตนเองและของผู้อื่น ตามประสบการณ์ของการทำงานแปลที่หลากหลายประเภทและระยะเวลาในการทำงานแปล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการอาชีพของการทำงานแปล

    2. การถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการแปลงานในลักษณะต่าง ๆ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ เช่น เทคนิควิธีการแปลงานประเภทต่าง ๆ  วิธีการสืบค้นข้อมูลที่ถูกต้อง วิธีการพัฒนาความรู้เพื่อการทำงานแปล  การเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนางานแปล  ข้อเสนอแนะในการจัดการอบรมภาคความรูหรือภาคปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการทำงานในวิชาชีพการแปล  การเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานแปล การให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงยกระดับมาตรฐานอาชีพการทำงานแปล เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
    

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
    

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

    เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

        1) แบบสัมภาษณ์

        2) แฟ้มสะสมผลงาน ผลงานที่ได้จัดทำ และเอกสารประกอบการทำงาน

        3) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ