หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แปลตามลักษณะเนื้อหาต้นฉบับ

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-MMNB-017A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แปลตามลักษณะเนื้อหาต้นฉบับ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2643  นักแปล ล่าม และนักภาษาศาสตร์อื่นๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถในการอ่านและวิเคราะห์ตัวภาษาและบริบทของเนื้อหาต้นฉบับหนังสือและสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ประเภทแปลทั่วไป แปลเชิงวิชาการ แปลบทกวี บทร้อยกรอง วรรณกรรมอมตะ เป็นต้น เพื่อแปลงานโดยเลือกใช้คำ สำนวน ภาษา ให้ตรงความหมาย ถูกต้อง ละเอียดรอบคอบและครบถ้วน ตรงตามงานต้นฉบับ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษและภาษาไทยดีมาก และมีความสนใจด้านงานแปล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20204.01 แปลงานทั่วไป 1.1 อ่านวิเคราะห์งานต้นฉบับให้ละเอียดรอบคอบ 20204.01.01 17560
20204.01 แปลงานทั่วไป 1.2 เลือกใช้หน่วยคำ กลุ่มคำ วลี ประโยคในงานแปลทั่วไปได้อย่างครบถ้วนเหมาะสม 20204.01.02 17561
20204.01 แปลงานทั่วไป 1.3 แปลและเรียบเรียงงานต้นฉบับเรื่องทั่ว ๆ ไปได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องครบถ้วน 20204.01.03 17562
20204.02 แปลงานเชิงวิชาการ 2.1 อ่านวิเคราะห์งานต้นฉบับให้ละเอียดรอบคอบ 20204.02.03 29386
20204.02 แปลงานเชิงวิชาการ 2.2 เลือกใช้คำและสำนวนแปลให้ถูกต้อง และเหมาะสมตาม ความหมายของต้นฉบับ 20204.02.01 29388
20204.02 แปลงานเชิงวิชาการ 2.3 เลือกใช้คำและสำนวนแปลให้ถูกต้อง และเหมาะสมตามบริบทของต้นฉบับ 20204.02.02 29389
20204.03 แปลวรรณกรรมอมตะ บทกวี บทร้อยกรอง 3.1 อ่านต้นฉบับหนังสือและสิ่งพิมพ์เพื่อให้เข้าใจระดับภาษา ลีลา และน้ำเสียงได้อย่างถูกต้อง 20204.03.01 29387
20204.03 แปลวรรณกรรมอมตะ บทกวี บทร้อยกรอง 3.2 เลือกใช้คำและสำนวนแปลให้ได้อรรถรส เทียบเคียงกับระดับภาษา ลีลา และน้ำเสียง ของต้นฉบับ 20204.03.02 29391
20204.03 แปลวรรณกรรมอมตะ บทกวี บทร้อยกรอง 3.3 เลือกใช้คำและสำนวนแปลให้ได้อรรถรสให้สอดคล้องกับบริบทของวัฒนธรรมไทย 20204.03.03 29392
20204.03 แปลวรรณกรรมอมตะ บทกวี บทร้อยกรอง 3.4 เลือกใช้รูปแบบโครงสร้างประโยคตามหลักโครงสร้างภาษาไทยได้ถูกต้องเหมาะสม 20204.03.04 29393

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. สามารถอ่านต้นฉบับให้ละเอียดรอบคอบ

    2. สามารถเลือกใช้หน่วยคำ กลุ่มคำ วลี ถอดความเป็นประโยคในงานแปลประเภทสารคดีทั่วไปได้อย่าง    ถูกต้อง เหมาะสม ครบถ้วน

    3. เรียบเรียงเป็นภาษาให้ถูกต้องสอดคล้องกับประเภทของงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

N/A

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ต้นฉบับหนังสือและสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ

    2. พจนานุกรม หนังสืออ้างอิง หนังสือ ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าทางสารสนเทศ

    3. เอกสารหรือไฟล์คลังคำ สมุดบันทีกเนื้อเรื่อง

    4. พจนานุกรม หนังสืออ้างอิง หนังสือ ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าทางสารสนเทศ

    5. ความสามารถในการแปลและเรียบเรียงภาษาต้นทางทั่วไปที่มีเนื้อหาไม่ซับซ้อน

    6. ความสามารถในการเลือกใช้คำ เพื่อแปลและเรียบเรียงงานแปลเฉพาะทาง    

    7. ความสามารถในการเทียบเคียง ใช้ทักษะในการเขียนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมภาษาฉบับแปล



    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    - ไม่มี -    



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน

    1. การทดสอบภาคปฏิบัติ ใช้ใบสั่งงานแปลและแบบสังเกตการปฏิบัติงาน 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    แปลตามลักษณะเนื้อหาต้นฉบับ แบ่งตามประเภทของระดับนักแปล ดังนี้

    นักแปลระดับ 4 ลักษณะแปลงานทั่วไป หมายถึงการแปลชิ้นงาน ที่เข้าประกอบรวมกับสิ่งพิมพ์หนังสือ นิตยสาร วารสาร รายงานประจำปี บทความวิชาการ ที่มีลักษณะงานเป็นหัวข้อ บทค่อนข้างยาว จบเป็นตอน ๆ หรือบทเขียนต่อเนื่อง ซึ่งมีระดับเนื้อหาไม่ซับซ้อนมาก

    นักแปลระดับ 5 ลักษณะงานแปลสารคดี ได้แก่ แปลงานเชิงวิชาการ คู่มือหรืองานเฉพาะทางที่เป็นหนังสือ สิ่งพิมพ์ ที่รวมเป็นรูปเล่ม 1 เรื่องใหญ่ หรือ เรื่องย่อยในเล่มเดียวกัน ลักษณะงานแปลบันเทิงคดี ได้แก่ แปลงานวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ วรรณกรรมอมตะ บทกวี บทร้อยกรอง ที่รวมเป็นรูปเล่ม 1 เรื่องใหญ่ หรือ เรื่องย่อยในเล่มเดียวกัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

1) ใบสั่งงานแปล

2) แบบประเมินการสังเกตการปฏิบัติงาน  



ยินดีต้อนรับ