หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ค้นคว้าข้อมูลประกอบการทำงานแปล

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-KYIR-012A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ค้นคว้าข้อมูลประกอบการทำงานแปล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2643  นักแปล ล่าม และนักภาษาศาสตร์อื่นๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่สามารถศึกษา ค้นคว้า แหล่งข้อมูลด้านตัวภาษา และบริบททางวัฒนธรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับงานแปลต้นฉบับหนังสือและสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ ทั้งภาษาต้นทางและปลายทาง โดยมีการอ้างอิงจากตำรา หนังสือ เอกสาร  เช่น พจนานุกรมฉบับต่าง ๆ  หนังสือวิชาการ  บทความ เป็นต้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษและภาษาไทยดีมาก และมีความสนใจด้านงานแปล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20102.01 ระบุแหล่งในการค้นหาคำศัพท์และแหล่งข้อมูลเชิงบริบท 1.1 เลือกใช้พจนานุกรมหรือเครื่องมือช่วยแปล 20102.01.01 17540
20102.01 ระบุแหล่งในการค้นหาคำศัพท์และแหล่งข้อมูลเชิงบริบท 1.2 เลือกใช้แหล่งข้อมูลเชิงบริบท 20102.01.02 17541
20102.02 จัดระบบข้อมูลที่ได้จากการใช้พจนานุกรมและแหล่งข้อมูลเชิงบริบท 2.1 จัดทำคลังคำตามประเภทของงานต้นฉบับ ได้แก่ สารคดี และบันเทิงคดี 20102.02.01 17542
20102.02 จัดระบบข้อมูลที่ได้จากการใช้พจนานุกรมและแหล่งข้อมูลเชิงบริบท 2.2 จัดทำเนื้อเรื่องย่อของต้นฉบับงานประเภทบันเทิงคดี 20102.02.02 17543

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้พจนานุกรมที่หลากหลายอย่างเหมาะสม

    2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบคำศัพท์เป็นหมวดหมู่เพื่อเป็นคู่มือคลังคำศัพท์

    3. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการเก็บรวบรวมคำศัพท์

    4. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านศึกษาความรู้หรือข้อมูลเพิ่มเติม เช่น บริบททางวัฒนธรรม สังคม ฯลฯ เพื่อช่วยในการแปล

    5. ความรู้เกี่ยวกับการค้นคว้าแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม

    6. ความรู้เกี่ยวกับการย่อความเนื้อเรื่องย่อเพื่อช่วยลำดับความคิดในการแปล

    7. ความรู้เกี่ยวกับการรวบรวมตัวละควร คำเรียกสรรพนามตลอดทั้งเรื่อง ในกรณีของการแปลบันเทิงคดี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    - ไม่มี -



    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ

    2. ใบบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียน อุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ ประเภทงานเขียน งบประมาณในการผลิตต้นฉบับ การติดต่อนัดหมาย และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้ที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน

    1. การทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี ใช้แบบทดสอบความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ก)คำแนะนำ 

    ไม่มี

    

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    การค้นคว้าข้อมูลประกอบการทำงานแปล หมายถึง การบริหารจัดการระบบการทำงานฐานข้อมูลขณะทำงานแปล ได้แก่ 

    1. การค้นคว้าหาความหมายตรงของคำศัพท์ วลี สำนวน หรือประโยคเพื่อแปลความหมายในงานแปล 

    2. การค้นคว้าหาความหมาย ข้อมูล ที่มีนัยแฝงหรือต้องตีความเชิงบริบทให้เหมาะสมและถูกต้องกับวัฒนธรรม ธรรมชาติ หรือความนัยน์ของตัวบทที่กำลังทำงานแปล 

    3. การอ้างอิงผลการสืบคืนจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ 

    4. การจัดระบบข้อมูล คำศัพท์ วลี สำนวน ประโยค บริบท ฯลฯ ที่สืบค้นได้ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความถนัดของนักแปล เช่น  จัดเก็บเป็นคลังข้อมูลคำศัพท์ในโปรแกรม MS Word, Excel เป็นคู่มือ สมุด หรือไฟล์ คลังคำศัพท์ของตนเอง เป็นต้น

        นักแปลระดับ 4 มีลักษณะการสืบค้นข้อมูลที่ค้นคว้าในงานแปลทั่วไป สามารถสืบค้นและอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ รวมถึงมีการจัดเก็บฐานข้อมูลทีสืบค้นอย่างเป็นระบบที่เป็นประโยชน์และนำกลับมาใช้ได้ในการทำงานครั้งต่อ ๆ ไป

        นักแปลระดับ 5 มีลักษณะการสืบค้นข้อมูลที่ค้นคว้าตามลักษณะงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ งานสารคดี และงานบันเทิงคดี  กรณีของงานสารคดีมีลักษณะการสืบค้นคล้ายนักแปลระดับ 4 แต่มีความละเอียดซับซ้อนมาขึ้นตามลักษณะของงานประเภทสารคดี เช่น 

    ก. งานแปลวิชาการ งานแปลวรรณกรรมเชิงอ้างอิงประวัติศาสตร์  จึงให้ความสำคัญกับการจัดระบบข้อมูลแหล่งอ้างอิงที่สามารถสืบค้นกลับไปหาแหล่งต้นฉบับของงานเพื่อประกอบงานแปลได้อย่างถูกต้อง

    ข. งานแปลบันเทิงคดี ได้แก่ เรื่องสั้น นิยาย วรรณกรรมเยาวชน ฯลฯ ให้ความสำคัญกับระบบการจัดข้อมูลการค้นคว้า เช่น การทำบันทึกเรื่องย่อ  การรวบรวมตัวละครเพี่อการแปลคำเรียกขานชื่อ สรรพนาม ลักษณะบุคลิกตัวละคร  สถานที่ในงานแปล เป็นตัน  โดยจัดระบบข้อมูลเป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามความถนัดในการทำงานของนักแปล เช่น คู่มือตัวละคร สถานที่ กาละเทศะในบริบทของเนื้อหา เป็นต้น 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย



ยินดีต้อนรับ