หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษา Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-BXMT-398A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษา Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลในอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า 

ISCO-08 3113 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมเครื่องมือวัดและควบคุม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถบำรุงรักษา Motor Operated Valve (MOV) ของโรงไฟฟ้า โดย  สามารถดำเนินการตรวจสอบ ซ่อมแก้ไขและปรับแต่ง Motor Operated Valve (Mechanism Part  , Motor Gear Drive Part หรือ Electrical Part) รวมถึงดำเนินการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ Motor Operated Valve

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพสาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานด้านไฟฟ้า - กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 255810.2 กฎหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานที่สูง- กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการทำงานที่สูง 10.3 กฏหมายด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับเครน ปั้นจั่น และการให้สัญญาณ  - กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. 2553- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2553- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี พ.ศ. 2554- ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น พ.ศ. 255410.4 กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
HPG-MC07-5-003-01

ตรวจสอบ Motor Operated Valve ของไฟฟ้า

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของ Motor Operated Valve

HPG-MC07-5-003-01.01 168908
HPG-MC07-5-003-01

ตรวจสอบ Motor Operated Valve ของไฟฟ้า

2. อ่านแบบ Single line diagram ระบบการทำงานและคู่มือการบำรุงรักษาของ Motor Operated Valve

HPG-MC07-5-003-01.02 168909
HPG-MC07-5-003-01

ตรวจสอบ Motor Operated Valve ของไฟฟ้า

3. ตัดระบบของอุปกรณ์สำหรับงานบำรุงรักษา Motor Operated Valve

HPG-MC07-5-003-01.03 168910
HPG-MC07-5-003-01

ตรวจสอบ Motor Operated Valve ของไฟฟ้า

4. ตรวจสอบ Motor Operated Valve

HPG-MC07-5-003-01.04 168911
HPG-MC07-5-003-01

ตรวจสอบ Motor Operated Valve ของไฟฟ้า

5. ทดสอบฟังก์ชันของ Motor Operated Valve

HPG-MC07-5-003-01.05 168912
HPG-MC07-5-003-01

ตรวจสอบ Motor Operated Valve ของไฟฟ้า

6. สรุปผลการตรวจสอบ Motor Operated Valve สำหรับการวางแผนบำรุงรักษาและรายงานผล

HPG-MC07-5-003-01.06 168913
HPG-MC07-5-003-02

ซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

1. อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของ Motor Operated Valve

HPG-MC07-5-003-02.01 168892
HPG-MC07-5-003-02

ซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

2. ควบคุมการถอดประกอบ Motor Operated Valve ตามคู่มือที่กำหนด

HPG-MC07-5-003-02.02 168893
HPG-MC07-5-003-02

ซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

3. ซ่อมแก้ไข Motor Operated valve

HPG-MC07-5-003-02.03 168894
HPG-MC07-5-003-02

ซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

4. เลือกใช้ Spare Part สำหรับการซ่อมแก้ไข Motor Operated valve

HPG-MC07-5-003-02.04 168895
HPG-MC07-5-003-02

ซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

5. ทดสอบฟังก์ชันของ Motor Operated Valve หลังการซ่อมแก้ไข

HPG-MC07-5-003-02.05 168896
HPG-MC07-5-003-02

ซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

6. สรุปผลงานบำรุงรักษา Motor Operated Valve และรายงานผล

HPG-MC07-5-003-02.06 168897
HPG-MC07-5-003-03

บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

1. อธิบายโครงสร้าง Motor Operated Valve และหลักการประเมินสภาพ

HPG-MC07-5-003-03.01 168878
HPG-MC07-5-003-03

บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

2. อธิบายหลักการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ทั่วไป การประเมินสภาพ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Motor Operated Valve

HPG-MC07-5-003-03.02 168879
HPG-MC07-5-003-03

บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

3. ประเมินสภาพ Motor Operated Valve จากข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากเครื่องมือวัดและระบบบันทึกข้อมูล (Event)

HPG-MC07-5-003-03.03 168880
HPG-MC07-5-003-03

บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

4. สรุปผลการประเมินสภาพ Motor Operated Valve สำหรับการวางแผนบำรุงรักษา และรายงานผล

HPG-MC07-5-003-03.04 168881

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

12.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์ควบคุมทางกล (Valve) การจำแนกประเภทและคุณลักษณะ 

12.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบ Electrical & Motor Control 

12.3 ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและหลักการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมทางกล (Valve)  ประเภท Motor Drive Valve

12.4 ความรู้เรื่องวัสดุ (Material)

12.5 ทฤษฎีสัญญาณมาตรฐานของอุปกรณ์เครื่องมือวัด (Instrument Signal)

12.6 ทฤษฎีการกัดการกร่อน (Erosion)

12.7 ความรู้เกี่ยวกับระบบการผลิต (Process) ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ควบคุมทางกล (Valve)

12.8 ความรู้เกี่ยวกับ P&I Diagram

12.9 ความรู้เครื่องวัดขนาดทางกล เช่น Vernier caliper เป็นต้น เป็นต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)

1. ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือพื้นฐาน (เครื่องมือช่าง และเครื่องมือวัด) และเครื่องมือพิเศษสำหรับปฏิบัติงานบำรุงรักษา Motor Operated Valve

2. ทักษะการตรวจสอบและการวิเคราะห์ความผิดปกติ

3. ทักษะการแก้ไขการทำงานของ Motor Operated Valve ที่เกิดเหตุผิดปกติ

4. ทักษะการปรับแต่ง Motor Operated Valve ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน

5. ทักษะการทดสอบการทำงานของ Motor Operated Valve

ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)

6. ทักษะการติดต่อประสานงาน

7. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

8. ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน  

9. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

10. ทักษะการนำเสนอผลงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์ผลการทดสอบ งานบำรุงรักษา Motor Operated Valve

2. ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นที่ได้จากการวัดหรือทดสอบ ในการบำรุงรักษา Motor Operated Valve

3. ความรู้สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการบำรุงรักษา(เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ) Motor Operated Valve และอุปกรณ์ประกอบ

4. วิธีการใช้เครื่องมือในการบำรุงรักษา (เครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ) Motor Operated Valve และอุปกรณ์ประกอบ

5. การเก็บและบำรุงรักษาเครื่องมือพื้นฐานและเครื่องมือพิเศษ

6. การจัดเตรียม Spart part


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการในหน่วยสมรรถนะนี้จะใช้ในการพิจารณาประกอบ ร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ซึ่งหลักฐานที่ต้องการ สามารถใช้ทดแทนความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้นได้ โดยเจ้าหน้าที่สอบจะพิจารณารายละเอียดตามความรู้และทักษะในหน่วยสมรรถนะนั้น ๆ และยกเว้นการสอบใน หน่วยสมรรถนะนั้นได้

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ความสามารถปฏิบัติงาน) 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

1. หลักฐานการศึกษา

2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสม (ความรู้) 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน Checklist รายการ

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น หลักฐานการศึกษา 

2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน เช่น ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะและความรู้ในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า ประเภท Motor Operated Valve ซึ่งจะดำเนินการประเมินทักษะในการตรวจสอบ การซ่อมแก้ไข ทดสอบ และการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ Motor Operated Valve 

(ก) คำแนะนำ 

ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ควบคุมทางกลโรงไฟฟ้า โดยต้องทราบถึงข้อหลักของการดำเนินการของการบำรุงรักษาดังกล่าว

(ข) คำอธิบายรายละเอียด 

1. ตรวจสอบ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

- อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของ Motor Operatedd Valve : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในโครงสร้างและหลักการทำงานของ Motor Operated valve ชนิดต่างๆ ทั้งในส่วนที่เป็น Main Part & Auxiliary Part เช่น Valve Body , Motor Drive & Gear , Valve Positioner and Electrical / Electronics Part 

- อ่านแบบ Single line diagram ระบบการทำงานและคู่มือการบำรุงรักษาของ Motor Operatedd Valve : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอ่านแบบที่เกี่ยวข้องกับงานบำรุงรักษา Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า เช่น การอ่านแบบ ทางด้านไฟฟ้า Single Line & Three Line Diagram , Shcematic Diagram การอ่านแบบทางกล Mechanical Section และการอ่านคู่มือที่เกี่ยวข้อง Instruction & Service Manual 

- ตัดระบบของอุปกรณ์สำหรับงานบำรุงรักษา Motor Operated Valve : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนการถอด การตัด (Isolate) ระบบที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบไฟฟ้า ก่อนนำอุปกรณ์ออกจากระบบและติดตั้งเข้าระบบ ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย (การใช้เครื่องมือพื้นฐาน หรือเครื่องมือพิเศษในการดำเนินการ) โดยไม่ทำให้อุปกรณ์ชำรุด เสียหาย และอุปกรณ์สามารถใช้งานได้ตามปกติ

- ตรวจสอบ Motor Operated Valve : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนวิธีการตรวจสอบ Motor Operated Valve  (การตรวจสอบทางด้านระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า การตรวจสอบวงจรควบคุม การตรวจสอบสภาพ Mechanism) ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

- ทดสอบฟังก์ชันของ Motor Operated Valve : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนวิธีการทดสอบการทำงานของ Motor Operated Valve  เช่น การ Preparation ระบบทางด้านไฟฟ้า ก่อนการดำเนินการทดสอบ การทดสอบและทิศทางการเคลื่อนตัวของ Valve ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม การปรับแต่งการทำงานของ Motor Operated ให้เหมาะสมกับ Process ที่ใช้งาน

- สรุปผลการตรวจสอบ Motor Operated Valve สำหรับการวางแผนบำรุงรักษาและรายงานผล : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและชี้แจงรายละเอียดสาเหตุของปัญหา (ถ้ามี) รวมทั้งสรุปผลการตรวจสอบอุปกรณ์ Motor Operated Valve ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

2. ซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

- อธิบายโครงสร้างและหลักการทำงานของ Motor Operated Valve : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในคุณลักษณะของอุปกรณ์ (เชิงลึก) มีความเข้าใจกระบวนการดำเนินงานงานซ่อมและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต (Process) ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของ Motor Operated Valve เช่น Corrosion , Cavitation และปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดจากกระบวนการผลิตได้อย่างถูกต้อง 

- ควบคุมการถอดประกอบ Motor Operated Valve ตามคู่มือที่กำหนด : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถควบคุมการถอดประกอบ Motor Operated Valve ได้อย่างถูกต้อง โดยอ้างอิงจริงจากคู่มือของผู้ผลิต และนำ Motor Operated Valve เข้าใช้งานได้ปกติ 

- ซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถซ่อมและแก้ไข Electrical Part , Control Part , Mechanism & Gear Drive Part and Positioner และอุปกรณ์ประกอบอื่นของ Valve ของ Motor Operated Valve ได้อย่างถูกต้อง

- เลือกใช้ Spare Part สำหรับการซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve :  ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถเลือกใช้ Spare Part ของ Motor Operated Valve ได้อย่างถูกต้องโดยอ้างอิงจริงจากคู่มือของผู้ผลิตและตำแหน่งติดตั้งของ Motor Operated Valve ในกระบวนการผลิต

- ทดสอบฟังก์ชันของ Motor Operated Valve หลังการซ่อมแก้ไข : ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจขั้นตอนวิธีการทดสอบการทำงานของ Motor Operated Valve  เช่น การ Preparation ระบบทางด้านไฟฟ้า ก่อนการดำเนินการทดสอบ การทดสอบและทิศทางการเคลื่อนตัวของ Valve ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการปรับแต่งการทำงานของ Motor Operated ให้เหมาะสมกับ Process ที่ใช้งาน

- สรุปผลงานบำรุงรักษา Motor Operated Valve และรายงานผล : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและชี้แจงรายละเอียดสาเหตุของปัญหาที่ดำเนินการแก้ไขของ Motor Operated Valve รวมทั้งสรุปผลการตรวจสอบอุปกรณ์หลักและอุปกรณ์ประกอบของ Motor Operated Valve ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งข้อเสนอแนะในการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

3. บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

- อธิบายโครงสร้าง Motor Operated Valve และหลักการประเมินสภาพ : ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความเข้าใจในโครงสร้าง Motor Operated Valve และปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต (Process) ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของ Motor Operated Valve เช่น Corrosion , Cavitation และปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดจากกระบวนการผลิตได้อย่างถูกต้อง เพื่อประเมินสภาพของของอุปกรณ์ Motor Operated Valve หลังนำเข้าใช้งาน

- อธิบายหลักการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ทั่วไป การประเมินสภาพ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Motor Operated Valve : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถเข้าใจและอธิบายได้ถึงการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ของ  Motor Operated Valve ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละอุปกรณ์

- ประเมินสภาพ Motor Operated Valve จากข้อมูลเบื้องต้นที่ได้จากเครื่องมือวัดและระบบบันทึกข้อมูล (Event) : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถประเมินสภาพของ Motor Operated Valve โดยขณะที่อุปกรณ์นั้นถูกใช้งานอยู่โดย เก็บรวบรวมข้อมูลจากงานบำรุงรักษา การเดินเครื่อง เพื่อนำข้อมูลมาประเมินสภาพของ Motor Operated Valve มาวิเคราะห์ก่อนทำการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

- สรุปผลการประเมินสภาพ Motor Operated Valve สำหรับการวางแผนบำรุงรักษา และรายงานผล : ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถวิเคราะห์ผลการตรวจสอบและประเมินสภาพของ Motor Operated Valve รวมทั้งสรุปผลการตรวจสอบอุปกรณ์ Motor Operated Valve ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า 

18.2 เครื่องมือประเมิน ซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการซ่อมแก้ไข Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า 

18.3 เครื่องมือประเมิน บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า 

(1) ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า 

(2) ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า

(3) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ Motor Operated Valve ของโรงไฟฟ้า



ยินดีต้อนรับ